“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึก
ผู้รับผิดชอบ นางวรรณพัทร ซื่อตรง
ระยะเวลาการดำเนินโครงการ ปีการศึกษา 2564
วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการครั้งนี้ ผู้รายงานได้ยึดรูปแบบของการประเมิน CIPPEST MODEL โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ ดังนี้
1. เพื่อประเมินโครงการ“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย
จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านบริบท
2. เพื่อประเมินโครงการ“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย
จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านปัจจัยนำเข้า
3. เพื่อประเมินโครงการ“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย
จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านกระบวนการ
4. เพื่อประเมินโครงการ“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย
จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านผลผลิต
5. เพื่อประเมินโครงการ“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย
จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านผลกระทบ
6. เพื่อประเมินโครงการ“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย
จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านประสิทธิภาพ
7. เพื่อประเมินโครงการ“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย
จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านความยั่งยืน
8. เพื่อประเมินโครงการ“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย
จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านการถ่ายโยงความรู้
วิธีดำเนินการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการ“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย
จังหวัดสุพรรณบุรี ดำเนินการในระหว่าง ปีการศึกษา 2564
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการ 1 คน รองผู้อำนวยการ 5 คน ครู 142 คน กรรมการสถานศึกษา 15 คน เครือข่ายผู้ปกครอง 6 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ครั้งนี้ได้จากการเปิดตารางของ Krejcie and Morgan (1970) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95เปอร์เซ็นต์ ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ……. คน ได้แก่ ผู้อำนวยการ รอง ครู กรรมการสถานศึกษา คน เครือข่ายผู้ปกครอง คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ คือ
1. การประเมินด้านบริบท ใช้แบบรวบรวมข้อมูลโครงการศึกษาจากเอกสาร พิจารณาจากวัตถุประสงค์
ของโครงการ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 มาตรฐานการศึกษาชาติ การประกันคุณภาพการศึกษา แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ใช้แบบสอบถามที่ผู้ประเมินโครงการสร้างขึ้นเพื่อพัฒนาปัจจัย
ด้านบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณและการบริหารจัดการโดยการถามเฉพาะครูในโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี
3. การประเมินด้านกระบวนการ ใช้แบบสอบถามที่ผู้ประเมินโครงการสร้างขึ้นเพื่อพิจารณากระบวนการ
วางแผน การปฏิบัติตามแผน และการประเมินผล โดยสอบถามครูในโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี
4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการใช้แบบสอบถามที่ผู้ประเมินโครงการสร้างขึ้น เพื่อพิจารณาการ
ดำเนินโครงการและคุณภาพผู้เรียน
5. การประเมินด้านผลกระทบ ใช้แบบประเมินที่ผู้ประเมินโครงการสร้างขึ้นเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วม
ของบุคลากร ความรู้ความเข้าใจของครู และคุณภาพนักเรียน
6. การประเมินด้านประสิทธิผล ใช้แบบสอบถามที่ผู้ประเมินโครงการสร้างขึ้น เพื่อพิจารณาประสิทธิผล
4 ด้าน คือ ด้านการจัดการ ด้านการสร้างสัมพันธ์ ด้านการดำเนินงานที่คุ้มค่าและความพึงพอใจในการดำเนินงาน
7. การประเมินด้านความยั่งยืน ใช้แบบสอบถามที่ผู้ประเมินโครงการสร้างขึ้น เพื่อพัฒนาการนำความรู้
ที่ได้มาใช้ในการพัฒนางาน การประยุกต์องค์ความรู้ที่ได้ไปสู่งานอื่น การทำงานเป็นทีม และแนวปฏิบัติที่นำไปสู่ความสำเร็จ
8. การประเมินด้านการถ่ายโยงความรู้ ใช้แบบสอบถามเพื่อพัฒนาการต่อยอดแนวคิด การปรับกลยุทธ์
ในการแก้ปัญหา การนำไปใช้เกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ นำไปปรับความรู้ให้เหมาะสม เป็นที่ปรึกษาให้หน่วยงานอื่น
ผลการประเมินโครงการ
1. ผลการประเมินความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับมาตรฐานชาติและมาตรฐาน
การประกันคุณภาพการศึกษา และแผนการศึกษาของโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ปัจจัยยทั้ง 4 ด้าน คือ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ
และการบริหารจัดการ มีส่วนช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า กระบวนการวางแผน การปฏิบัติตามแผนและการ
ประเมินผล มีความเหมาะสมมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผลการดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย
ความคิดเห็นของ กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม คือ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ผลที่ได้ไม่แตกต่างกันทางสถิติ
5. การประเมินผลกระทบ พบว่า บุคลากรภายในและภายนอกมีส่วนร่วม ความรู้ความเข้าใจของครู
และคุณภาพนักเรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
6. การประเมินด้านประสิทธิผล พบว่า ประสิทธิผลทั้ง 4 ด้าน คือ กระบวนการ ด้านการสร้างสัมพันธ์
ด้านการดำเนินงานที่คุ้มค่า และความพึงพอใจในการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด
7. ผลการประเมินด้านความยั่งยืน พบว่า โครงการ“นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล”
โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี สามารถนำไปสุ่การนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการพัฒนางาน
การประยุกต์องค์ความรู้ที่ได้ไปสู่งานอื่น การทำงานเป็นทีม และเป็นแนวทางปฏิบัติที่นำไปสู่ความสำเร็จได้
8. ผลการประเมินด้านการถ่ายโยงความรู้ พบว่า โครงการ “นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่
มาตรฐานสากล” โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี นำไปสู่การต่อยอดแนวคิด การปรับกลยุทธ์
ในการแก้ปัญหา นำไปใช้เกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ นำไปปรับความรู้ให้เหมาะสม และเป็นที่ปรึกษาให้หน่วยงานอื่นได้