การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้
ผู้วิจัย ตุลยวัต เขียวจีน
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตรีพัทลุง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 3) เพื่อประเมินกระบวนการโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 4) เพื่อประเมินผลผลิตโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 เกี่ยวกับ 4.1 )ระดับคุณภาพของการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 4.2) การมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู และผู้ปกครองในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 4.3) ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 และ 4.4 ) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู และผู้ปกครองต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 338 คน โดยใช้ตารางประมาณค่าของของเครซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำแนกตามระดับชั้น และสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้วิธีการจับฉลาก และครู ปีการศึกษา 2564 จำนวน 103 คน โดยใช้ตารางประมาณค่าของเครซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ และสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วยเครื่องมือ 2 ลักษณะ รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 7 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ฉบับ คือ ฉบับที่ 6 สถิติในวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการประเมิน
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของ ครูและ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณา แต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x-bar= 4.27, S.D.= 0.59) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.25, S.D.= 0.79) ในระดับมากได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.22 , S.D.= 0.60) อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้านพบว่า ด้านความพร้อมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x-bar = 4.50 , S.D. = 0.66) อยู่ในระดับมากที่สุดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ด้านความเพียงพอของวัสดุ อุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.35, S.D. = 0.66) อยู่ในระดับมาก ความพอเพียงของงบประมาณ มีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.20 , S.D. = 0.68) อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านความเหมาะสมของการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.16 , = 0.60) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผู้สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ย (x-bar = 3.91 , S.D. = 0.60) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.01 , S.D.= 0.63) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.13 , S.D.= 0.66) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินและผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย x-bar = 4.01 , S.D.= 0.64) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพระบบดูแลช่วยเหลือโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียนครูและผู้ปกครอง พบว่าทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x-bar = 3.98 , S.D.= 0.58) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.25 , S.D.= 0.65) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผู้ปกครอง มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x-bar = 3.99 , S.D.= 0.64) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู และผู้ปกครองในโครงการการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.26 , S.D.= 0.35) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.16 , S.D.= 0.67) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผู้ปกครองมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x-bar = 3.97 , S.D.= 0.63) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตโครงการเกี่ยวกับผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน ตามแบบบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง พบว่า ปีการศึกษา 2563โดยภาพรวมมีจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จำนวน 415 คน คิดเป็นร้อยละ 15.66 ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จำนวน 282 คน คิดเป็นร้อยละ 10.55 แสดงให้เห็นว่า จำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมนักเรียนที่ไม่พึงประสงค์ลดลงจำนวน 133 คน คิดเป็นร้อยละ 5.11 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน
4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน ครู และผู้ปกครองต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มที่ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.02 , S.D.= 0.72) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.14 , S.D.= 0.72) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผู้ปกครองมีความเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.02 , S.D.= 0.69) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
สรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนสตรีพัทลุง ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ค่าน้ำหนัก 100 ได้คะแนนเฉลี่ย 100
ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ค่าน้ำหนัก 15 ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์
ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ค่าน้ำหนัก 15 ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์
ผลการประเมินด้านกระบวนการ ค่าน้ำหนัก 20 ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์
ผลการประเมินด้านผลผลิต ค่าน้ำหนัก 50 ได้คะแนนเฉลี่ย 50 ผ่านเกณฑ์การประเมินผลการประเมินครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ค่าน้ำหนัก 100 ได้คะแนนเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1. ควรประชาสัมพันธ์โครงการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับทราบก่อนประเมินสภาพแวดล้อม พร้อมวิเคราะห์ผลการจัดกิจกรรมในรอบปีที่ผ่านมา
1.2. ควรประสานงานการจัดกิจกรรมกับกลุ่มบริหารวิชาการ เพื่อการวางแผนหรือกำหนดเวลาการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามปฏิทินและนิเทศการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
1.3. ผู้บริหารโรงเรียนควรสนับสนุนสร้างขวัญและกำลังใจแก่ครูที่ดูแลนักเรียน เช่น นักเรียนได้รับรางวัลคุณธรรมดีเด่นจากการแข่งขัน หรือได้รับการคัดเลือกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ และชื่นชมยกย่องนักเรียนที่มีความประพฤติดีมีคุณธรรม อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
1.4. ควรส่งเสริมการให้ความร่วมมือกับสหวิชาชีพและชุมชนเพิ่มขึ้น
1.5. ควรส่งเสริมกิจกรรมให้นักเรียนสามารถป้องกันและดูแลตนเองได้ทั้งในเรื่องเพศ ยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น
2. ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการ หรือการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับหน่วยงานหรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม
2.2 ควรมีการศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน