รายงานประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา
พอเพียง โรงเรียนบ้านวังพะเนียด จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นายยอหัน ตุกังหัน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านวังพะเนียด
ปีที่รายงาน 2564
บทสรุปผลการประเมินโครงการ
รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านวังพะเนียด จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน ซึ่งใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้น
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วยประชากรครู 5 คน นักเรียน 17 คน ผู้ปกครอง 15 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม ที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .803 - .845 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านวังพะเนียด จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, = .64) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านวังพะเนียด จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, = .67) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านวังพะเนียด จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, = .68) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต จำแนกเป็น
4.1 คุณภาพการขับเคลื่อนการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านวังพะเนียด จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมพบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, = .67) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินความสามารถของนักเรียนในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่สู่ครอบครัวและชุมชน ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, = .68) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และครูที่มีต่อการดำเนินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านวังพะเนียด จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินโดยภาพรวมของการประเมิน พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, = .68) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรมี การวางแผนการดำเนินการ การติดตาม ประเมินผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
2. โรงเรียนควรประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการสนับสนุนด้านงบประมาณ เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากที่สุด
3. ควรนำรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ไปประยุกต์ใช้ในการประเมินโครงการอื่น ๆ ของโรงเรียน เพื่อตรวจสอบขั้นตอนของกิจกรรมทุกขั้นตอน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผน แก้ปัญหาหรือพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน