การศึกษารายกรณี นร.ไม่เข้าเรียนออนไลน์
รายงานผลการศึกษารายกรณี
ผู้ศึกษารายกรณี นางสาวณัฏภัท ณัฎติณห์
ผู้รับการศึกษารายกรณี ด.ช. ผู้รับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่
ทำการศึกษารายกรณีระหว่างวันที่ วัน เดือน ปี- วัน เดือน ปี
---------------------------------------------------------------------------------------------------
1. สภาพปัญหาของผู้รับการศึกษา
ด.ช. เป็นผู้รับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ มีพฤติกรรมไม่เข้าเรียน ไม่ร่วมกิจกรรมการเรียนและไม่ส่งงานตามที่ได้รับมอบหมาย แต่หากเข้าเรียนจะเปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์ค้างไว้ โดยผู้รับการศึกษาจะทำกิจกรรมอื่น ๆ ในขณะเรียน
2. จุดประสงค์ในการศึกษา
1. เพื่อศึกษาปัญหาสาเหตุที่ทำให้ผู้รับการศึกษาที่มีพฤติกรรมไม่เข้าเรียนและหาแนวทางในการ ดำเนินการช่วยเหลือและปัองก้นโดยการศึกษาเป็นรายกรณี
2. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เรื่อง การบริหารเวลาการปฎิบัติกิจวัตรประจำวันให้เหมาะสมกับการเรียนออนไลน์ ในช่วงสถานการณ์การป้องกันโรคcovid-19 แพร่ระบาด
3. เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาแนะแนว และในรายวิชาอื่น ๆ สูงขึ้น
3. สมมุติฐานของปัญหา
หลังจากได้ศึกษาผู้รับการศึกษาด้วยวิธีต่าง ๆ แล้ว ได้ข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้
1. ลักษณะครอบครัวของผู้รับการศึกษา กล่าวคือ
1.1 มารดาของผู้รับการศึกษาเสียชีวิตตั้งแต่ผู้รับการศึกษาเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่4
1.2 อายุของผู้รับการศึกษากับพี่สาวห่างกันมากถึง 10 ปี อีกทั้งยังต่างเพศและทำงานอยู่ต่างจังหวัด
1.3 อายุของผู้รับการศึกษากับบิดาห่างกันมากถึง 50 ปี
1.4 ฐานะทางบ้านดี
ด้วยเหตุผลที่ได้กล่าวมาทั้งหมด ผู้รับการศึกษาจึงมีเวลาให้กับตนเองเป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยได้คุยกับคุณพ่อและพี่สาว คุณพ่อและพี่สาวตามใจผู้รับการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะ สงสารที่ขาดคุณแม่ เป็นลูกคนเล็ก ทำให้ผู้รับการศึกษาเอาแต่ใจมาก ขาดวินัยในการดูแลตนเอง เพราะ มีคุณพ่อทำให้ในทุก ๆ เรื่องอยู่เสมอ ส่งผลให้ผู้รับการศึกษาไม่เอาใจใส่ในการเรียน ไม่เข้าชั้นเรียนบ่อยครั้งและ ไม่ส่งงานตามที่ได้รับมอบหมาย
2. ผู้รับการศึกษามักแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว มีพฤติกรรมต่อต้านคำว่ากล่าวตักเตือนของคุณพ่อและพี่สาว
3. ผู้รับการศึกษาไม่สามารถดูแลจัดสรรเวลาในทุก ๆ เรื่องให้กับตนเองได้ เพราะ ตามใจตนเอง เลือกทำแต่ในสิ่งที่ตนชอบ ก็คือ การเล่นเกมส์ ผู้รับการศึกษานอนดึก จึงตื่นสายกว่าเวลาเข้าเรียนทำให้ผู้รับการศึกษาไม่ได้เรียน ไม่ได้ติดตามงาน ไม่ส่งงานบ่อยครั้ง ส่งผลไม่มีคะแนนเก็บเกือบทุกรายวิชา
4. แนวทางการแก้ปัญหา
1. ให้คำปรึกษาแบบไม่นำทาง โดยให้ผู้รับการศึกษา พยายามพัฒนาตนเอง เห็นความสำคัญของการเรียน รู้จักตั้งเป้าหมายชีวิตและขณะที่ให้ค่ำปรึกษา ผู้ศึกษาได้ให้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการศึกษาและอาชีพ เพื่อให้ผู้รับการศึกษาได้เห็นคุณค่าของการศึกษาเพื่อพัฒนาแรงจูงใจจะมีผลถึงความพยายามพัฒนาตนเองไปสู่เป๋าหมายที่วางไว้
2. แนะนำวิธีการเรียนที่ถูกต้อง การสร้างสมาธิในการเรียน ทักษะวิธีการ อ่านหนังสือให้มีประสิทธิภาพ รวมด้งให้ความรู้เพิ่มเติมในบทเรียนที่ผู้รับการศึกษาไม่ เข้าใจ
3. ให้ข้อมูลเรื่อง การบริหารเวลาของบุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิต เช่น แลร์รี เพจ และ เซอร์เก บริน ผู้ก่อตั้งgoogle เพื่อสร้างเแรงจูงใจ ให้ผู้รับการศึกษาปรับปรุงเรื่อง การจัดสรรเวลาในชีวิตของจนเองให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ซึ่งจะส่งผลให้ผู้รับการศึกษามีความพยายามกระดีอรีอร้นในการเรียน มีความ มุ่งมั่นและมีจุดมุ่งหมายในชีวิตที่ถูกต้อง
4. ติดต่อสื่อสาร พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลของการปฏิบัติภารกิจประจำวันของผู้รับการศึกษากับผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอ
5. การให้ความช่วยเหลือทางอ้อม โดยใช้การประชุมเป็นรายกรณี (Case Conference ) 1 ครั้ง ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยครูที่ปรึกษา ห้อง เพื่อขอความร่วมมือในการให้ กำลังใจ เอาใจใส่ ช่วยกันแกํไขเพื่อให้ผู้รับการศึกษา เข้าเรียนและส่งงานเพิ่มขึ้นใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างมีความสุข
ผลจากการประชุมปรึกษารายกรณี ครูแนะแนว ครูที่ปรึกษา ครูประจำวิชา ได้ให้ความร่วมมือในการดูแลเอาใจใส่ให้กำสังใจผู้รับการศึกษาเป็นมากขึ้น