ารพัฒนาการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา_ครูชดาภร
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนแบบร่วมมือร่วมกับสื่อประสม
ผู้วิจัย: นางชดาภร บำรุงวงศ์
ตำแหน่ง: ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านสายชล อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2
ปีที่วิจัย: 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ได้แก่ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนแบบร่วมมือร่วมกับสื่อประสม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พัฒนาการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนแบบร่วมมือร่วมกับสื่อประสม และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนแบบร่วมมือร่วมกับสื่อประสมเพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านสายชล อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 จำนวน 12 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยผู้วิจัยเป็นครูผู้สอนวิชาภาษาไทยพื้นฐาน (ท13101) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งนักเรียนมีความสามารถในการเรียนวิชาภาษาไทยไม่แตกต่างกัน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน จำนวน 8 หน่วย หน่วยละ 4 แผน รวม 32 แผน 2) สื่อประสม การอ่านและการเขียน คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 หน่วย 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบคู่ขนานมี 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.73 ทั้ง 2 ฉบับ และ 4) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจในการเรียน จำนวน 10 ข้อ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า เท่ากับ 0.802 โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนแบบร่วมมือร่วมกับสื่อประสม การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 88.65/83.61 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พัฒนาการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนแบบร่วมมือร่วมกับสื่อประสม ทั้งภาพรวมและรายหน่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนแบบร่วมมือร่วมกับสื่อประสม เพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar=4.18)