รายงานการนิเทศแบบร่วมพัฒนา เพื่อส่งเสริมความสามารถฯ
(Active Learning) ของครูวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
ผู้ศึกษา นาฏยา สิทธิชัย
หน่วยงาน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดตรัง
ปีที่รายงาน 2564
บทคัดย่อ
รายงานการนิเทศแบบร่วมพัฒนา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการนิเทศแบบร่วมพัฒนา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา เพื่อศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา และเพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการนิเทศแบบร่วมพัฒนา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก (Active Learning) ของครูวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูวิทยาศาสตร์ที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 34 คน จากโรงเรียนในจังหวัดตรัง จำนวน 13 โรง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา คู่มือการนิเทศแบบร่วมพัฒนา เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา แบบบันทึกการนิเทศแบบร่วมพัฒนา แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ เรื่อง การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบบันทึกการสังเกตและการชี้แนะ (Coaching) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการนิเทศแบบร่วมพัฒนา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () และการทดสอบที (t-test)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการนิเทศแบบร่วมพัฒนา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ดังขั้นตอนการนิเทศ 5 ขั้น พบว่า
ขั้นที่ 1 วางแผน (Planning-P) เป็นขั้นการศึกษาและวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียน 13 โรง พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับดี จำนวน 3 โรง คิดเป็นร้อยละ 23.08 อยู่ในระดับพอใช้ จำนวน 6 โรง คิดเป็นร้อยละ 46.15 และอยู่ในระดับปรับปรุง จำนวน 4 โรง คิดเป็น ร้อยละ 30.77 การประเมินตนเองและการสะท้อนคิดของครูวิทยาศาสตร์ พบว่า มีปัญหาด้านการเขียน แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่จะนำไปสู่ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 2 เสริมสร้างความรู้ (Informing-I) เป็นขั้นการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา พบว่า ครูวิทยาศาสตร์มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
ขั้นที่ 3 ปฏิบัติการนิเทศ (Doing-D) เป็นขั้นการนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ตามกำหนดการนิเทศ ครั้งที่ 1 การประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) พบว่า ครูวิทยาศาสตร์สามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษาได้ในระดับดีมาก ครั้งที่ 2 การสังเกตและชี้แนะ (Coaching) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) พบว่า ครูวิทยาศาสตร์สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษาได้ในระดับดี
ขั้นที่ 4 ประเมินผลการนิเทศ (Evaluation-E) เป็นขั้นการประเมินผลการนิเทศโดยการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผลการนิเทศ พบว่า ครูวิทยาศาสตร์มีความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดการเรียนรู้ เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษาอยู่ในระดับดีถึงดีมาก และมีความพึงพอใจต่อการนิเทศแบบร่วมพัฒนา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด
ขั้นที่ 5 เผยแพร่ขยายผล (Diffusing-D) เป็นขั้นการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ดำเนินการเผยแพร่ขยายผลและสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนา พบว่า มีการรวบรวมและจัดทำข้อมูลครูวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา และศึกษานิเทศก์ที่นำกระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนาไปใช้พร้อมทั้งให้ข้อมูลย้อนกลับ และเผยแพร่ผลงานผ่านทางเว็บไซต์ทางการศึกษา
2. ผลการศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา พบว่า ครูวิทยาศาสตร์มีความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา อยู่ในระดับดีมาก และมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา อยู่ในระดับดี
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการนิเทศแบบร่วมพัฒนา เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด