เผยแพร่ผลงานนางเพ็ญพิศ ฉายอำไพ
เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านสะกดคำภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
ผู้วิจัย นางเพ็ญพิศ ฉายอำไพ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล ๔ เฉลิมพระเกียรติ สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
ปีที่ทำการวิจัย ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๔
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านสะกดคำภาษาไทย ๒) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านสะกดคำภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๓) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านสะกดคำภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ๔) เปรียบเทียบทักษะการอ่านสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านสะกดคำภาษาไทย ๕) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านสะกดคำภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒/๓ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการวิจัย ๒๕๖๔ โรงเรียนเทศบาล ๔ เฉลิมพระเกียรติ สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จำนวน ๓๑ คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้วิธีการจับสลากและใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Sampling Unit) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ๑) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน ๒) แบบสัมภาษณ์นักเรียน ๓) บทเรียนออนไลน์ จำนวน ๑๕ เรื่อง ๔) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน ๑๕ แผน ๆ ละ ๑ ชั่วโมง รวมจำนวน ๑๕ ชั่วโมง ๕) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน ๓๐ ข้อ ๖) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านสะกดคำภาษาไทย จำนวน ๓ ข้อ ๆ ละ ๑๐ คะแนน รวม ๓๐ คะแนน ๗) แบบวัดความพึงพอใจ จำนวน ๒๐ ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วย t-test (Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านสะกดคำภาษาไทย พบว่า การอ่านเป็นทักษะที่ต้องเน้นและต้องฝึกฝนนักเรียน จะทำให้เกิดความรู้และยังก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และส่งเสริมให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ต่าง ๆ นักเรียนควรได้ฝึกทักษะการอ่านสะกดคำภาษาไทยด้วยวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งต้องการฝึกทักษะปฏิบัติเน้นให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง เน้นการปฏิบัติจริง นักเรียนจะเป็นผู้อ่านที่ดี จึงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ครูเป็นผู้จัดเตรียมให้ และผสมผสานกับความสนใจของนักเรียนที่ช่วยให้นักเรียนได้ฝึกอ่านสะกดคำภาษาไทย
๒. การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านสะกดคำภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ ๘๔.๐๒/๘๓.๙๘ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้
๓. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านสะกดคำภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๔. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านสะกดคำภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๕. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านสะกดคำภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก