การประเมินโครงการการจัดการชั้นเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี
ผู้ประเมิน นายทวิช แจ่มจำรัส
ปีที่ประเมิน ปีงบประมาณ 2563
บทคัดย่อ
การประเมินนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการในการจัดทำโครงการ และความเป็นไปได้ของโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมของบุคลากรที่รับผิดชอบมีความรู้ความสามารถและมีความพร้อม และความพอเพียงของงบประมาณ 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการ และการติดตามการปฏิบัติงานโครงการ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล นักเรียนที่ได้รับการคัดกรอง นักเรียนที่ได้รับการแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ นักเรียนที่แก้ไขปัญหาไม่สำเร็จและต้องส่งต่อ 5) เพื่อประเมินผลกระทบของโครงการเกี่ยวกับนักเรียนที่มีวินัยเพิ่มขึ้น และความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง และครูที่มีต่อโครงการ 6) เพื่อประเมินประสิทธิผล เกี่ยวกับการจัดการตามวัตถุประสงค์ การสร้างความสัมพันธ์ การดำเนินงานที่คุ้มค่า และความพึงพอใจที่ได้รับจากผลงาน 7) เพื่อประเมินความยั่งยืน เกี่ยวกับการนำความรู้ที่ได้จากความสำเร็จไปสู่งานอื่น การประยุกต์ความรู้ไปสู่แนวคิดใหม่ และการทำงานเป็นทีม และ8) เพื่อประเมินการถ่ายโยงความรู้เกี่ยวกับการปรับกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา การปรับปรุงนวัตกรรมและการขยายผล และการปรับความรู้ให้เหมาะสมกับองค์กรภายนอก ในการประเมินโครงการครั้งนี้ใช้รูปแบบการประเมิน แบบซิพเพียท (CIPPIEST) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง และครู โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี ปีงบประมาณ 2563 การกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามโอกาสทางสถิติ ด้วยการสุ่มแบบชั้นภูมิ ประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 306 คน ผู้ปกครอง จำนวน 306 คน และครู จำนวน 65 คน ซึ่งการเก็บข้อมูลในการประเมินครั้งนี้ นอกจากเก็บข้อมูลจากครูกลุ่มตัวอย่างแล้วผู้ประเมินยังได้เก็บข้อมูลกับครูผู้รับผิดชอบงบประมาณของโรงเรียน จำนวน 1 คน และครูที่ปรึกษาจำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ มีทั้งสิ้น 14 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็น จำนวน 4 ฉบับ แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 3 ฉบับ และแบบบันทึก จำนวน 7 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นด้านบริบทและปัจจัยนำเข้าของครู ประเด็นความต้องการในการจัดทำโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสมของบุคลากรที่รับผิดชอบมีความรู้ ความสามารถและมีความพร้อม 2) แบบบันทึกด้านปัจจัยนำเข้า เกี่ยวกับงบประมาณในการดำเนินงานโดยบันทึกจำนวนเงินที่เบิกจ่ายตามรายการที่ได้รับการจัดสรรที่มีต่อโครงการการจัดการชั้นเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา 3) แบบบันทึกด้านกระบวนการเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการ โครงการการจัดการชั้นเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา 4) แบบบันทึกด้านกระบวนการเกี่ยวกับการติดตามการปฏิบัติงาน โครงการการจัดการชั้นเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา 5) แบบบันทึกผลผลิตด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 6) แบบบันทึกผลผลิตด้านการได้รับการคัดกรองนักเรียน 7) แบบบันทึกการแก้ไขปัญหานักเรียนรายบุคคล 8) แบบบันทึกผลการมีวินัยของนักเรียน 9) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการการจัดการชั้นเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา 10) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อโครงการการจัดการชั้นเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา 11) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการ การจัดการชั้นเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา 12) แบบสอบถามความคิดเห็นด้านประสิทธิผล โครงการการจัดการชั้นเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา 13) แบบสอบถามความคิดเห็นด้านความยั่งยืน โครงการการจัดการชั้นเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา 14) แบบสอบถามความคิดเห็นด้านการถ่ายโยงความรู้ โครงการการจัดการชั้นเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
การประเมินโครงการการจัดการชั้นเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี ในภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น (8 ประเด็นการประเมิน) และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด (24 ตัวชี้วัด) ดังนี้
1) การประเมินบริบท พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด อยู่ในระดับมากทั้ง 2ตัวชี้วัด คือ 1.1 ตัวชี้วัดความคิดเห็นของครูประเด็นความต้องการในการจัดทำโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก ( = 4.49, S.D. = 0.41) และ1.2 ตัวชี้วัดความคิดเห็นของครูประเด็นความเป็นไปได้ของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก ( = 4.32, S.D. = 0.43)
2) การประเมินปัจจัยนำเข้า พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด อยู่ในระดับมาก 1 ตัวชี้วัด อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ตัวชี้วัด คือ 2.1 ตัวชี้วัดความคิดเห็นของครูประเด็นความเหมาะสมของบุคลากรที่รับผิดชอบมีความรู้ ความสามารถและมีความพร้อม ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = 0.50) และ2.2 ตัวชี้วัดร้อยละของงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด (98.29%)
3) การประเมินกระบวนการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 2 ตัวชี้วัด คือ 3.1 ตัวชี้วัดร้อยละกิจกรรมที่ดำเนินการโครงการการจัดการชั้นเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด (100%) และ3.2 ตัวชี้วัดร้อยละการติดตามการปฏิบัติงานโครงการการจัดการชั้นเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด (100%)
4) การประเมินผลผลิต พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 4 ตัวชี้วัด คือ 4.1 ตัวชี้วัดร้อยละของนักเรียนที่ครูรู้จักเป็นรายบุคคล ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด (100%) 4.2 ตัวชี้วัดร้อยละของนักเรียนที่ได้รับการคัดกรอง ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด (100%) 4.3 ตัวชี้วัดร้อยละของนักเรียนที่ได้รับการแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (100%) และ4.4 ตัวชี้วัดร้อยละของนักเรียนที่แก้ไขปัญหาไม่สำเร็จและต้องส่งต่อ ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด (0%)
5) การประเมินผลกระทบ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 4 ตัวชี้วัด คือ 5.1 ตัวชี้วัดร้อยละของนักเรียนที่มีวินัยเพิ่มขึ้น ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด (11.84%) 5.2 ตัวชี้วัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.40) 5.3 ตัวชี้วัดความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.40) และ5.4 ตัวชี้วัดความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.40)
6) ผลการประเมินประสิทธิผล พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 4 ตัวชี้วัด คือ 6.1 ตัวชี้วัดร้อยละการจัดการตามวัตถุประสงค์ ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด (100%) 6.2 ตัวชี้วัดร้อยละการสร้างความสัมพันธ์ ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด (100%) 6.3 ตัวชี้วัดร้อยละการดำเนินงานที่คุ้มค่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด (100%) และ6.4 ตัวชี้วัดร้อยละความพอใจที่ได้รับจากผลงาน ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด (100%)
7) ผลการประเมินความยั่งยืน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 3 ตัวชี้วัด คือ 7.1 ตัวชี้วัดร้อยละการนำความรู้ที่ได้จากความสำเร็จไปสู่งานอื่น ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (100%) 7.2 ตัวชี้วัดร้อยละการประยุกต์ความรู้ไปสู่แนวคิดใหม่ ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด (100%) และ7.3 ตัวชี้วัดร้อยละการทำงานเป็นทีม ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด (100%)
8) การประเมินการถ่ายโยงความรู้ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด อยู่ในระดับมาก 2 ตัวชี้วัด และอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ตัวชี้วัด คือ
8.1 ตัวชี้วัดความคิดเห็นของครูประเด็นการปรับกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก ( = 4.44, S.D. = 0.50)
8.2 ตัวชี้วัดความคิดเห็นของครูประเด็นการปรับปรุงนวัตกรรมและขยายผล ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.56)
8.3 ตัวชี้วัดความคิดเห็นของครูประเด็นการปรับความรู้ให้เหมาะสมกับองค์กรภายนอก ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก ( = 4.45, S.D. = 0.51)