การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทย์ คณิตฯ
โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี
ผู้วิจัย นายทวิช แจ่มจำรัส
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2562 ถึง ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี 2) เพื่อยืนยันองค์ประกอบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี ในการวิจัยครั้งเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R & D) มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี ได้แก่ ขั้นที่ 1.1 การศึกษาตัวแปรการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ขั้นที่ 1.2 การสร้างและพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย ขั้นที่ 1.3 การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มตัวอย่างในขั้นนี้ ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5 จำนวน 55 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 4 คน คือ (1) ผู้อำนวยการโรงเรียน/รักษาการผู้อำนวยการโรงเรียน (2) รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงานวิชาการ/หัวหน้างานวิชาการ (3) หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (4) หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 220 คน การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) ขั้นตอนที่ 2 การยืนยันองค์ประกอบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี ได้แก่ นำองค์ประกอบไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ทำการยืนยันซึ่งพิจารณา 4 ด้าน คือ มีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี ได้แก่ ขั้นที่ 3.1 การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี ขั้นที่ 3.2 การสร้างคู่มือการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี ขั้นที่ 3.3 การตรวจสอบคู่มือการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี ได้แก่ นำคู่มือการบริหารงานวิชาการไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบ จำนวน 5 คน ซึ่งพิจารณา 4 ด้าน คือ มีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี ได้แก่ ขั้นที่ 4.1 ด้านคุณภาพของผู้เรียน ได้แก่ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในปีการศึกษา 2563 โดยนำมาเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายของโรงเรียน และเปรียบเทียบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ในปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 2) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 ขั้นที่ 4.2 ด้านความพึงพอใจ ได้แก่ 1) ความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี ของผู้บริหารและครูโรงเรียนบ้านหมี่วิทยา ประชากร คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนบ้านหมี่วิทยา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 77 คน (ไม่รวมผู้วิจัย) 2) ความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี ของนักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 248 คน 3) ความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี ของผู้ปกครองนักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองนักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 248 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 8 รายการ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ เรื่อง การบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ 2) แบบสอบถามความคิดเห็น เรื่อง การบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี 3) แบบสอบถามเพื่อยืนยันองค์ประกอบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี 4) คู่มือการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี 5) แบบสอบถามเพื่อตรวจสอบคู่มือการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี 6) แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี ของผู้บริหารและครูโรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จำนวน 20 ข้อ 7) แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี ของนักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ และ8) แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี ของผู้ปกครองนักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA)
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียน บ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี มีจำนวน 10 องค์ประกอบ 61 ตัวแปร คือ องค์ประกอบที่ 1 กระบวนการดำเนินงาน จำนวน 11 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 2 คุณภาพครู จำนวน 8 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 3 คุณภาพนักเรียน จำนวน 9 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 4 หลักสูตร จำนวน 6 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 5 ความเป็นเลิศทางวิชาการ จำนวน 8 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 6 วิสัยทัศน์ จำนวน 6 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 7 ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 3 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 8 การบริหารจัดการ จำนวน 4 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 9 การยกระดับคุณภาพ จำนวน 3 ตัวแปร และองค์ประกอบที่ 10 การนิเทศ จำนวน 3 ตัวแปร
2. การยืนยันองค์ประกอบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี จำนวน 10 องค์ประกอบ 61 ตัวแปร มีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์
3. การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี พบว่า
3.1 รูปแบบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา พบว่า มีจำนวน 10 องค์ประกอบ 61 ตัวแปร คือ องค์ประกอบที่ 1 วิสัยทัศน์ จำนวน 6 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 2 หลักสูตร จำนวน 6 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการดำเนินงาน จำนวน 11 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 4 การบริหารจัดการ จำนวน 4 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 5 ความเป็นเลิศทางวิชาการ จำนวน 8 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 6 การยกระดับคุณภาพ จำนวน 3 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 7 คุณภาพครู จำนวน 8 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 8 คุณภาพนักเรียน จำนวน 9 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 9 ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 3 ตัวแปร และองค์ประกอบที่ 10 การนิเทศ จำนวน 3 ตัวแปร
3.2 คู่มือการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี มีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์
4. ผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา พบว่า
4.1 ด้านคุณภาพผู้เรียน พบว่า
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2563 สูงกว่าค่าเป้าหมายของโรงเรียน ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เท่ากับ 0.77 (จากระบบเกรดเต็ม 4)
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2563 สูงกว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2562 ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เท่ากับ 0.14 (จากระบบเกรดเต็ม 4)
3) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของนักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ทั้ง 5 วิชา สูงกว่า ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2562 เท่ากับ 4.71
4.2 ด้านความพึงพอใจ พบว่า
1) ความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี ของผู้บริหารและครูโรงเรียนบ้านหมี่วิทยาอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.62 , σ = 0.40)
2) ความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี ของนักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56 , S.D. = 0.43)
3) ความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี ของผู้ปกครองนักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57 , S.D. = 0.44)