LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)

usericon

ชื่อเรื่อง        รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการเรียนรู้ เรื่อง หลักการโปรแกรมด้วย Scratch รายวิชา วิทยาการคำนวณ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา
สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษา         นางสายบัว พิมพ์มหา
หน่วยงาน    โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน 3 อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
        สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น
ปีที่ศึกษา        2563

บทคัดย่อ

        รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการเรียนรู้ เรื่อง หลักการโปรแกรมด้วย Scratch รายวิชา วิทยาการคำนวณ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการเรียนรู้ เรื่อง หลักการโปรแกรมด้วย Scratch รายวิชา วิทยาการคำนวณ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน รายวิชา วิทยาการคำนวณ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเรียนรู้ เรื่อง หลักการโปรแกรมด้วย Scratch โดยใช้วิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา 3) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาจากการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการเรียนรู้ เรื่อง หลักการโปรแกรมด้วย Scratch รายวิชา วิทยาการคำนวณ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการเรียนรู้ เรื่อง หลักการโปรแกรมด้วย Scratch รายวิชา วิทยาการคำนวณ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบใช้ปัญหา เป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน 3 อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา เรื่อง หลักการโปรแกรมด้วย Scratch รายวิชา วิทยาการคำนวณ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 9 แผน ใช้เวลาสอน แผนละ 2 ชั่วโมง รวมเวลาเรียน 18 ชั่วโมง 2) แบบฝึกทักษะการเรียนรู้ เรื่อง หลักการโปรแกรมด้วย Scratch รายวิชา วิทยาการคำนวณ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 9 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.20–0.80 มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.20 ขึ้นไป มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 4) แบบประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหาจากการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการเรียนรู้ เรื่อง หลักการโปรแกรมด้วย Scratch รายวิชา วิทยาการคำนวณ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 5) แบบประเมินความพึงพอใจ โดยใช้แบบสอบถามเพื่อวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเรียนรู้ เรื่อง หลักการโปรแกรมด้วย Scratch รายวิชาวิทยาการคำนวณ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) แบ่งระดับความพึงพอใจเป็น 5 ระดับ คือ พึงพอใจมากที่สุด พึงพอใจมาก พึงพอใจปานกลาง พึงพอใจน้อย และพึงพอใจน้อยที่สุด ประกอบด้วย ข้อคำถาม 20 ข้อ สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการเรียนรู้ เรื่อง หลักการโปรแกรมด้วย Scratch รายวิชาวิทยาการคำนวณ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา E1/E2 และการทดสอบค่า t (t-test)

    ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเรียนรู้ เรื่อง หลักการโปรแกรมด้วย Scratch รายวิชา วิทยาการคำนวณ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 85.29/87.10 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
    2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ การเรียนรู้ เรื่อง หลักการโปรแกรมด้วย Scratch รายวิชา วิทยาการคำนวณ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    3. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการเรียนรู้ เรื่อง หลักการโปรแกรมด้วย Scratch รายวิชา วิทยาการคำนวณ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดีมาก ค่าเฉลี่ย ( = 4.66) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.65)
    4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการเรียนรู้ เรื่อง หลักการโปรแกรมด้วย Scratch รายวิชา วิทยาการคำนวณ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.43)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^