LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

บริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์

usericon

ชื่อเรื่องวิจัย : การบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อผู้วิจัย : นางกฤติกา อินใหม่
ปีที่วิจัย : 2563-2564        
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อหารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาระหว่างก่อนและหลังการพัฒนาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียนตะแพนพิทยาที่มีต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือครูจำนวน 12 คน นักเรียนจำนวน 89 คน คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 9 คน ผู้ปกครองจำนวน 89 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1)แบบประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 2)แบบประเมินความพึงพอใจสำหรับบุคลากรที่มีต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3)แบบประเมินความพึงพอใจสำหรับคณะกรรมการสถานศึกษาที่มีต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4)แบบประเมินความพึงพอใจสำหรับผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5)แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบ ได้แก่ Paired – Sample t – Test
ผลการวิจัยพบว่า
1)รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีองค์ประกอบดังนี้ 1)วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2)เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ 3)กลไกการดำเนินงานของรูปแบบ 4)รูปแบบที่ได้คิดค้นและพัฒนาขึ้นมาใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาเฉพาะบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคือรูปแบบ SST Model เป็นการบริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยา โดยใช้หลักการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (S : SBM) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (S : SEPM) และการทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนตะแพนพิทยา ( T : Tapan Teamwork) ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญพบว่ารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงค่าความเหมาะสมอยูในระดับมากที่สุด และมีค่าดรรชนีความสอดคล้อง(IOC)มีค่าตั้งแต่ 0.80 – 1.00
2) ผลจากการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง SST Modelที่สร้างและพัฒนาขึ้น พบว่า ในภาพรวมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า
    2.1) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ของนักเรียนภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    2.2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านซื่อสัตย์สุจริตของนักเรียนภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    2.3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีวินัยของนักเรียนภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    2.4) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    2.5) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    2.6)คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    2.7) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านรักความเป็นไทยภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    2.8) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีจิตสาธารณะของนักเรียนภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3)ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียนตะแพนพิทยามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1.รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบSST ส่งผลให้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนสูงขึ้น ควรนำผลการวิจัยนี้ไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป
2.การนำรูปแบบรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ SST ไปใช้ให้คำนึงถึงบริบท ข้อจำกัด และความพร้อมของแต่ละโรงเรียน
3.รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบSST ส่งผลให้คุณลักษณะอันพึงประสงค์สูงขี้น สถานศึกษาควรนำข้อมูลนี้ไปวางแผนในการจัดการบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในด้านต่างๆให้สูงขึ้น โดยใช้รูปแบบการวิจัยนี้
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1..ควรนำรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ SST ไปใช้กับโรงเรียนต่างๆ ทีมีบริบทใกล้เคียงกัน เพื่อนำข้อสนเทศที่ได้มาพัฒนาคุณภาพให้สูงขึ้น
2.ควรมีงานวิจัยต่อยอดงานวิจัยการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมหลักปรัชญาเของเศรษฐกิจพอเพียงภายในโรงเรียนตะแพนพิทยาให้ยั่งยืนต่อไป
3.ควรมีงานวิจัยการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^