LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

รายงานการประเมินโครงการการพัฒนางานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานการประเมินโครงการการพัฒนางานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    โรงเรียนบำรุงราษฎร์วิทยาคม
ผู้ประเมิน    สุวรรณา เข็มเพชร
ปีที่ประเมิน    ปีการศึกษา 2564

รายงานการประเมินโครงการการพัฒนางานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
โรงเรียนบำรุงราษฎร์วิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบ CIPPIEST Model โดยมีวัตถุประสงค์ของการประเมินดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการการพัฒนางานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนบำรุงราษฎร์วิทยาคม 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการการพัฒนางานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
โรงเรียนบำรุงราษฎร์วิทยาคม 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการการพัฒนางานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนบำรุงราษฎร์วิทยาคม 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการการพัฒนางานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนบำรุงราษฎร์วิทยาคม 5) เพื่อประเมินผลกระทบของโครงการการพัฒนางานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนบำรุงราษฎร์วิทยาคม 6) เพื่อประเมินประสิทธิผลของโครงการการพัฒนางานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนบำรุงราษฎร์วิทยาคม 7) เพื่อประเมินความยั่งยืนของโครงการการพัฒนางานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบำรุงราษฎร์วิทยาคม และ 8) เพื่อประเมินการถ่ายโยงความรู้ของโครงการการพัฒนางานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบำรุงราษฎร์วิทยาคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากร จำนวน 11 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 44 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 44 คน รวมทั้งสิ้น 106 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (5-Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item objective congruence: IOC) อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha Coefficient - α) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
    จากการประเมิน พบว่า ภาพรวมของโครงการการพัฒนางานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนบำรุงราษฎร์วิทยาคม มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนี้
    1. ด้านบริบท มีความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการและกระบวนการจัดกิจกรรมของโครงการกับสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนางานวิชาการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด
    2. ด้านปัจจัยนำเข้า คือ มีความพร้อมในด้านต่างๆ ที่เอื้อต่อการดำเนินงาน ของโครงการ คือ ด้านบุคลากร ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองและนักเรียน งบประมาณ วัสดุและอุปกรณ์ และสถานที่ อยู่ในระดับมากที่สุด
    3. ด้านกระบวนการ บุคลากรที่รับผิดชอบสามารถดำเนินโครงการตามกิจกรรมของโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด
    4. ด้านผลผลิต ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียน และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เพิ่มสูงขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด
    5. ด้านผลกระทบ มีการได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองและชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด
    6. ด้านประสิทธิผล นักเรียนมีความมั่นใจในความรู้ที่ได้รับแต่ละกิจกรรมของโครงการ และ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด
    7. ด้านความยั่งยืน นักเรียนสามารถใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นและภายหลังการเข้าร่วมโครงการแล้วนักเรียนสามารถนำความรู้ ความสามารถทางวิชาการไปเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ อยู่ในระดับมาก
    8. ด้านการถ่ายโยงความรู้ ผู้บริหารและครูและบุคลากรสามารถนำความรู้จากโครงการไปใช้ประโยชน์และถ่ายทอดเป็นแบบอย่างให้แก่สถานศึกษาอื่นได้อยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^