การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีเชิงระบบและแนวคิดการบ
เพื่อพัฒนาครูมืออาชีพโรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหิน
ผู้วิจัย อรอุมา ทองนาค
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการพัฒนาการบริหารโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีเชิงระบบและแนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีเชิงระบบ
และแนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีเชิงระบบและแนวคิด
การบริหารแบบมีส่วนร่วม และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีเชิงระบบและแนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม วิธีดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหิน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 130 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 130 คน
ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมจำนวน 276 คน วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีเชิงระบบและแนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาครูมืออาชีพโรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหิน โดยรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านการส่งเสริม
และพัฒนาครู รองลงมาคือ การนิเทศ กำกับติดตาม และด้านการดำเนินงานการบริหาร จากการสอบถามแนวทางและ
วิธีการพัฒนาครูสู่ครูมืออาชีพ ส่วนใหญ่ครูจะใช้วิธีการศึกษาและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รองลงมา คือ ครูใช้
การนิเทศแบบกัลยาณมิตรระหว่างเพื่อนครู
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีเชิงระบบและแนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาครูมืออาชีพโรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหิน โดยการสังเคราะห์เอกสาร ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) หลักการและแนวคิดของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กลยุทธ์ของรูปแบบ 4) วิธีดำเนินงานของรูปแบบ และ 5) ปัจจัยความสำเร็จ ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จากการสนทนากลุ่ม พบว่า มีความเหมาะสม ความถูกต้อง และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ประโยชน์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100.00
3. ผลการทดลองการใช้รูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีเชิงระบบและแนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาครูมืออาชีพโรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหิน พบว่า ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหิน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 9 คน มีคุณลักษณะการเป็นครูมืออาชีพในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับ คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ด้านคุณธรรม จริยธรรม และด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ปีการศึกษา 2563 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83.67 ปีการศึกษา 2562 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 72.30 คิดเป็นความต่างร้อยละ 11.38
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีเชิงระบบและแนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาครูมืออาชีพโรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหิน พบว่า
4.1 ผลการประเมินเชิงยืนยันรูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีเชิงระบบและแนวคิดการบริหาร
แบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาครูมืออาชีพโรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหิน โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พบว่า รูปแบบการบริหารมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
4.2 ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหิน มีวิทยฐานะที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปีการศึกษา 2562
จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 28.57 พบว่า ครูผู้สอน
โรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหิน มีวิทยฐานะที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องใน ปีการศึกษา 2562-2563 จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 85.71
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนและนักเรียน ที่มีต่อการบริหารโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีเชิงระบบและแนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาครูมืออาชีพโรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหิน มีความพึงพอใจ ในระดับพึงพอใจมากที่สุด