LASTEST NEWS

29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง 28 ก.ค. 2567กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 12 อัตรา วุฒิปวส. เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 14 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดสอบบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย 73 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 8 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งเภสัชกรปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง และลูกจ้างชั่วคราว 11 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 31 ก.ค.2567 27 ก.ค. 2567เช็กด่วน!! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 25 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 5 ส.ค.2567

รายงานการประเมินโครงการ

usericon

ชื่อผลงาน        รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้
สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ “WISDOM MODEL” โรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน        นางสาวนันทาทิพย์ เพชรสุวรรณ
         รองผู้อำนวยการโรงเรียนวิเชียรชม
ปีที่รายงาน    ปีการศึกษา 2564

บทสรุป
    รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้
สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ “WISDOM MODEL” โรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนําเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ จำแนกเป็น 1) คุณภาพของการพัฒนาศักยภาพครู 2 ) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู 3) คุณภาพผู้เรียน 4) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดําเนินงานโครงการ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 86 คน นักเรียน จำนวน 405 คน ผู้ปกครอง จำนวน 405 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล มี 2 ลักษณะ รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ แบบสอบถามทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง .892 - .997 และแบบบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง จำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

สรุปผลการประเมิน
    ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ “WISDOM MODEL” โรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 สรุปผลได้ดังนี้
    1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ “WISDOM MODEL” โรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมพบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งสองกลุ่ม โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.52, S.D. = 0.35) รองลงมา กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ( = 4.41, S.D. = 0.41)
    2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ “WISDOM MODEL” โรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู โดยประเมิน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความพร้อมด้านบุคลากร ด้านความพร้อมด้านงบประมาณ ความพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ ด้านความเหมาะสมการบริหารจัดการ และด้านผู้สนับสนุนโครงการ โดยรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.40, S.D. = 0.41 ) ทุกประเด็นตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ “WISDOM MODEL” โรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง โดยประเมิน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการสร้างการรับรู้ที่ดี ด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้าน วิธีการที่หลากหลาย ด้านการเสริมแรงเชิงบวก ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตามที่ดี และด้านการปรับปรุง แก้ไข พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยภาพรวมพบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งสามกลุ่ม โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.40) รองลงมา คือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = 0.45) ส่วนความคิดเห็นของ ผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.28 , S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ “WISDOM MODEL” โรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 จำแนกเป็น
     4.1 คุณภาพการพัฒนาศักยภาพครู ตามโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ “WISDOM MODEL” โรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมพบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมิน
     เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งสามกลุ่ม โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.44) รองลงมา คือกลุ่มครู ( = 4.31, S.D. = 0.37) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่ม ผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.21 , S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
4.2 ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู ตามโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ “WISDOM MODEL” โรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนและการเตรียมการจัดการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้โดยภาพรวมพบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมิน
     เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งสามกลุ่ม โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.54, S.D. = 0.44) รองลงมา คือกลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.25, S.D. = 0.51) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่ม นักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.14 , S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
     4.3 คุณภาพผู้เรียนโรงเรียนวิเชียรชม จำแนกเป็น
        4.3.1 คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา โรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมค่าเฉลี่ย เท่ากับ 87.83 เมื่อพิจารณาจำแนกตามระดับชั้นพบว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ย สูงสุด เท่ากับ 95.21 รองลงมาได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 93.44 ส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด เท่ากับ 79.55
     4.3.2 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 โดยรวมโรงเรียนวิเชียรชม มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 48.76 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพป. สงขลา เขต 1) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 38.63 และระดับประเทศ มีคะแนนเฉลี่ย 40.19 แสดงให้เห็นว่าโดยภาพรวมโรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละสูงกว่า ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพป. สงขลาเขต 1) และระดับประเทศ
แสดงให้เห็นว่าผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพผู้เรียนที่กำหนด ของโรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ “WISDOM MODEL” โรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองโดยภาพรวมพบว่า ทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมิน
เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งสี่กลุ่ม โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.40) รองลงมา คือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( = 4.53 , S.D. = 0.48) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.20 , S.D. = 0.52) อยู่ในระดับมาก
     สรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ “WISDOM MODEL” โรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
     ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ค่าน้ำหนัก 15 % ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
     ด้านปัจจัยนำเข้าในการดำเนินงานตามโครงการ ค่าน้ำหนัก 15 % ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งโดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ ที่กำหนด
ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ ค่าน้ำหนัก 20 % ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
ด้านผลผลิตโครงการ ค่าน้ำหนัก 50 % ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
สรุปรวมทั้ง 4 ด้าน ของโครงการ ค่าน้ำหนัก 100 % ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
    
ข้อเสนอแนะ
1.ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรประสานงานขอการสนับสนุนงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์จากหน่วยงานภายนอกให้มากยิ่งขึ้น
    1.2 ควรกำกับ ติดตาม การดำเนินกิจกรรมตามโครงการให้เป็นไปตามปฏิทินและขั้นตอนที่กำหนด
    1.3 โรงเรียนควรจัดโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ “WISDOM MODEL” โรงเรียนวิเชียรชม อย่างต่อเนื่อง
    1.4 ควรส่งเสริมให้ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง
2.ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ “WISDOM MODEL” โรงเรียนวิเชียรชม ในเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ ข้อมูลเชิงลึกอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
2.2 ควรนำรูปแบบหรือวิธีการประเมินอื่น ๆ นอกเหนือจากการประเมินโดยใช้ซิป โมเดล (CIPP Model) มาประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ “WISDOM MODEL”โรงเรียนวิเชียรชม เพื่อการยืนยันผล
2.3 ควรประเมินผลกระทบของโครงการในระยะยาว เช่น ผลการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ “WISDOM MODEL”โรงเรียนวิเชียรชม
2.4 ควรศึกษาผลกระทบที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ “WISDOM MODEL”โรงเรียนวิเชียรชม ตามบริบทของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป




ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^