การใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้แนวคิด 5W1H
**********************************************************************************
วัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ
1. ประชาชน
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา
อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 564 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/ 7 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา
อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ
1. แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 5 เล่ม
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน - หลังเรียน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 30 ข้อ
3. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึก ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 22 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. หาประสิทธิภาพของแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านคิดวิเคราะห์เพลง นิทาน ข่าว บทความและ
บทร้อยกรอง ก่อนเรียนกับหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง
3. หาค่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
สรุปผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้พบว่า
1. แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 86.52/84.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้คือมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป
3. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกอยู่ในระดับมากที่สุด