LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

รายงานผลการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning)ฯ

usericon

ชื่อผลงาน    รายงานผลการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
    ระดับประถมศึกษา โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา
ผู้ศึกษา    นาฏยา สิทธิชัย
หน่วยงาน    สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดตรัง
ปีที่รายงาน    2564

บทคัดย่อ

    รายงานผลการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
    กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูวิทยาศาสตร์ที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 34 คน จากโรงเรียนในจังหวัดตรัง จำนวน 13 โรง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา คู่มือการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา แบบบันทึกการนิเทศแบบร่วมพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบบันทึก การสังเกตและการชี้แนะ (Coaching) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบสอบถาม ความพึงพอใจของครูวิทยาศาสตร์ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () และการทดสอบที (t-test)
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
    1. ผลการนิเทศแบบร่วมพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา ดังขั้นตอนการนิเทศ 5 ขั้น พบว่า
     ขั้นที่ 1 วางแผน (Planning-P) เป็นขั้นการศึกษาและวิเคราะห์ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียน 13 โรง พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับดี จำนวน 3 โรง คิดเป็นร้อยละ 23.08 อยู่ในระดับพอใช้ จำนวน 6 โรง คิดเป็นร้อยละ 46.15 และอยู่ในระดับปรับปรุง จำนวน 4 โรง คิดเป็นร้อยละ 30.77 และ 2) การประเมินตนเองและการสะท้อนคิดของครูวิทยาศาสตร์ พบว่า มีปัญหาด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่จะนำไปสู่ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้
     ขั้นที่ 2 เสริมสร้างความรู้ (Informing-I) เป็นขั้นการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา พบว่า ครูวิทยาศาสตร์ได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา โดยมีผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จากคะแนนทดสอบก่อนการอบรมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 41.76 และคะแนนทดสอบหลังการอบรม มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 88.24 และค่าที่ได้จากการเปรียบเทียบ มีค่า t เท่ากับ 36.42 แสดงว่า ครูวิทยาศาสตร์มีความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
     ขั้นที่ 3 ปฏิบัติการนิเทศ (Doing-D) เป็นขั้นการนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ตามกำหนดการนิเทศ ดังนี้ ครั้งที่ 1 ประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา พบว่า ครูวิทยาศาสตร์สามารถออกแบบและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาได้ในระดับดีมาก ครั้งที่ 2 สังเกตและชี้แนะ (Coaching) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา พบว่า ครูวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาได้ในระดับดี
     ขั้นที่ 4 ประเมินผลการนิเทศ (Evaluation-E) เป็นขั้นการประเมินผลการนิเทศโดย การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผลการนิเทศ พบว่า ครูวิทยาศาสตร์มีความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา และมีความพึงพอใจต่อการนิเทศแบบร่วมพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด
ขั้นที่ 5 เผยแพร่ขยายผล (Diffusing-D) เป็นขั้นการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ดำเนินการเผยแพร่ขยายผลและสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนา พบว่า มีการรวบรวมและจัดทำข้อมูลครูวิทยาศาสตร์ และศึกษานิเทศก์ที่นำกระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษาไปใช้และให้ข้อมูลย้อนกลับ และเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ทางการศึกษาต่างๆ
    2. ผลการศึกษาความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ของครูวิทยาศาสตร์ พบว่า
     2.1 ความรู้ ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา หลังการอบรม ครูวิทยาศาสตร์มีความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา สูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01
     2.2 ความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ของครูวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับดีมาก
2.3 ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ของครูวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับดี
    3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูวิทยาศาสตร์ที่มีต่อการนิเทศแบบร่วมพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา ครูวิทยาศาสตร์มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด



    

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^