รูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพ
ผู้ทำวิจัย นางผุสดี สุวรรณบุบผา
ปี พ.ศ. 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนบึงพญาปราบ ซึ่งแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1
การศึกษาสภาพและองค์ประกอบของการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบึงพญาปราบเป็นการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Documentary Analysis) และศึกษาสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนบึงพญาปราบ โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ด้วยการคำนวณหาค่าเฉลี่ย (x ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนบึงพญาปราบ เป็นการพัฒนารูปแบบและจัดทำรายละเอียดคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนบึงพญาปราบ โดยใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง จำนวน 3 รอบ สอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้รอบที่ 1 เป็นแบบสอบถามปลายปิดแบบเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ (f) เครื่องมือที่ใช้รอบที่ 2 และรอบที่ 3 เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณหาค่ามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ (Interquartile Range) แล้วนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ฉันทามติ และระยะที่ 3 การประเมินประสิทธิภาพและยืนยันรูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนบึงพญาปราบเป็นการตรวจสอบความเหมาะสม สอดคล้องและเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนบึงพญาปราบ โดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ด้วยการคำนวณหาค่าเฉลี่ย (x ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) รวมทั้งการประเมินประสิทธิภาพและยืนยันรูปแบบโดยประชุมสัมมนากลุ่มอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง และ
รูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนบึงพญาปราบ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การวางแผน การจัดการองค์การ การควบคุม และการปรับปรุงคุณภาพ
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนบึงพญาปราบ ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายใน ที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนบึงพญาปราบว่ามีความสอดคล้องกัน
3. ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนบึงพญาปราบตามความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders)พบว่ามีความเหมาะสม ความสอดคล้องและเป็นไปได้ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยโดยรวมของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุดและเกณฑ์การประเมินที่ต้องการอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ในทุกด้าน
4. ผลการประเมินและยืนยันองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนบึงพญาปราบโดยสัมมนากลุ่มอิงผู้เชี่ยวชาญ มีดังนี้
4.1 ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นเกี่ยวกับคุณภาพของคู่มือการนำรูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนบึงพญาปราบไปใช้ว่ามีความสอดคล้องกันทั้งด้านรูปแบบ ด้านภาษา และด้านเนื้อหา
4.2 ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนบึงพญาปราบ ว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.57 โดยเกณฑ์การประเมินที่ต้องการอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
4.3 ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนบึงพญาปราบ มีความเหมาะสมเป็นไปได้ ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ประโชน์ได้ทุกขั้นตอน สอดคล้องกับกรอบแนวคิดทฤษฎีของการวิจัย