LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

การสอนเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน

usericon

รายงานการวิจัย
ชื่องานวิจัย    การสอนเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ปีการศึกษา 25๖๒
ชื่อผู้วิจัย    นางสาวภัทร์ฐิตา กำหนดความ

ความสำคัญ และที่มา
ภาษาไทยเป็นวิชาที่มีความสำคัญ และจำเป็นในการสื่อสารของมนุษย์ การสื่อสารของมนุษย์ใช้ทักษะที่สำคัญหลายทักษะที่จำเป็นได้แก่ ฟัง พูด อ่าน และเขียน ปัจจุบันพบว่ามีนักเรียนจำนวนหนึ่งมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียน ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากสมองซีกซ้ายบกพร่อง หรือมีความยากลำบากในการจัดกระทำข้อมูล นักเรียนจะแสดงพฤติกรรมด้านการอ่าน ดังนี้ อ่านช้า อ่านเสียงผิดเพี้ยน ประสมคำไม่ได้ จำรายละเอียดของคำไม่ได้ อ่านข้ามคำที่อ่านไม่ได้ อ่านตกหล่น หรืออ่านเพิ่มคำ ผันเสียงวรรณยุกต์สับสน หรือผันไม่ได้ อ่านเสียงดังอ้อมแอ้มอยู่ในลำคอ แทนที่คำที่อ่านไม่ออกด้วยคำอื่น อ่านตะกุกตะกัก ต้องสะกดไปด้วยระหว่างที่อ่าน อ่านกลับคำ สับสนมาตราตัวสะกดต่าง ๆ อ่านคำควบกล้ำไม่ได้ สับสนเสียงสระโดยเฉพาะสระประสม สระลดรูป ขาดสมาธิในการเรียน ด้านการเขียน นักเรียนจะเขียนช้า เขียนตัวอักษรกลับหลัง วนหัวพยัญชนะหลายรอบ สะกดคำผิดบ่อยแม้แต่คำง่าย ๆ เขียนแล้วลบบ่อย เขียนแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง เขียนเพิ่มหรืออาจเขียนตกหล่น วางสระและวรรณยุกต์ไม่ถูกที่ เขียนตัวอักษรสลับกัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้นักเรียนเหล่านี้ไม่ประสบความสำเร็จในการเรียน ถึงแม้นักเรียนจะมีระดับสติปัญญาเหมือนนักเรียนปกติอื่นๆ ก็ตาม แต่หากนักเรียนกลุ่มนี้ได้รับความช่วยเหลือให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม ก็สามารถประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกับนักเรียนปกติ    ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านสะกดคำและการเขียนให้ได้มากขึ้นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โดยใช้นักเรียนจำนวนทั้งหมด ๕ คน โดยใช้คำบัญชีพื้นฐาน ป.๑ จำนวน 11๕ ชุดกิจกรรม ฝึกอ่าน และเขียนประโยค มีการบันทึกคะแนนเป็นตาราง และสรุปผลการเปรียบเทียบการอ่าน และสะกดคำเป็นความเรียง    
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
    เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านสะกดคำและการเขียนให้ได้มากขึ้น
ตัวแปรที่ศึกษา
    จำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน ๕ คน
กรอบแนวคิดในการวิจัย
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อการสอนเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
จำนวน ๕ คน ผู้วิจัยได้ทำแบบฝึกอ่าน สะกดคำเกี่ยวกับวิชาภาษาไทย ซึ่งมีความยากง่ายกับระดับชั้นของนักเรียนโดยใช้คำบัญชีพื้นฐาน ป.๑ จำนวน 11๕ ชุดกิจกรรม และใช้การเสริมแรงโดยใช้การยกย่องชมเชย และให้คะแนนระหว่างทำกิจกรรม เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านสะกดคำและการเขียนให้ได้มากขึ้นของนักเรียน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.    นักเรียนอ่านสะกดคำ และเขียนคำได้ถูกต้อง
2.    มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยสูงขึ้น
3.    นักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันในเรื่องการอ่านได้

ขอบเขตการวิจัย
    ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการสร้างแบบฝึกเพื่ออ่านสะกดคำและการเขียนคำวิชาภาษาไทย โดยใช้คำบัญชีพื้นฐาน ป.๑ จำนวน 11๕ ชุดกิจกรรม ฝึกอ่าน และเขียนประโยค ในการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในชั่วโมงซ่อมเสริมตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ มีขอบเขตการวิจัยครั้งนี้
1.    จำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน ๕ คน
2.    เนื้อหาวิชาภาษาไทย คำบัญชีพื้นฐาน ป.๑ จำนวน 11๕ ชุดกิจกรรม
วิธีดำเนินการวิจัย
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
    ๑-๑๕ พ.ย. ๖๒     - ศึกษาสภาพปัญหา และวิเคราะห์แนวทางแก้ปัญหา
    ๑๖-๒๐ พ.ย. ๖๒ - เลือกลุ่มเป้าหมายนักเรียนชั้น ป. 1 จำนวน ๕คน
    พ.ย.๖๒    -ก.พ.๖๓ - เก็บข้อมูล สอนเสริมและ ทดสอบความสามารถใน
การอ่าน และการเขียน
    มี.ค.๖๓     - สรุปวิเคราะห์ผลการวิจัยและจัดทำรูปเล่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย    
1.    ชุดคำบัญชีพื้นฐาน ป.๑ จำนวน 11๕ ชุดกิจกรรม
2.    การเสริมแรงระหว่างปฏิบัติกิจกรรมคำยกย่องชมเชยการให้คะแนน
3.    สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
    ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลของนักเรียนจำนวน ๕ คน จากการอ่านและเขียน คำบัญชีพื้นฐาน ป.๑ จำนวน 11๕ ชุด
ชุดกิจกรรมที่ 1-๑๐    นักเรียนสามารถอ่านสะกดคำ และเขียนได้คิดเป็นร้อยละ 80
ชุดกิจกรรมที่ 1๑-๒๐    นักเรียนสามารถอ่านสะกดคำ และเขียนได้คิดเป็นร้อยละ ๘๐
ชุดกิจกรรมที่ ๒1-๓๐    นักเรียนสามารถอ่านสะกดคำ และเขียนได้คิดเป็นร้อยละ ๖๐
ชุดกิจกรรมที่ ๓1-๔๐    นักเรียนสามารถอ่านสะกดคำ และเขียนได้คิดเป็นร้อยละ ๘๐
ชุดกิจกรรมที่ ๔1-๕๐    นักเรียนสามารถอ่านสะกดคำ และเขียนได้คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ชุดกิจกรรมที่ ๕1-๖๐    นักเรียนสามารถอ่านสะกดคำ และเขียนได้คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ชุดกิจกรรมที่ ๖1-๗๐    นักเรียนสามารถอ่านสะกดคำ และเขียนได้คิดเป็นร้อยละ ๘๐
ชุดกิจกรรมที่ ๗1-๘๐    นักเรียนสามารถอ่านสะกดคำ และเขียนได้คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ชุดกิจกรรมที่ ๘๑-๙๐    นักเรียนสามารถอ่านสะกดคำ และเขียนได้คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ชุดกิจกรรมที่ ๙๑-๑๐๐    นักเรียนสามารถอ่านสะกดคำ และเขียนได้คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ชุดกิจกรรมที่ 1๐๐-๑๑๕ นักเรียนสามารถอ่านสะกดคำ และเขียนได้คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

สรุปผลการศึกษาวิจัย
    จากการศึกษา และวิเคราะห์คะแนนที่ได้จากการทำชุดกิจกรรม เกี่ยวกับฝึกเพื่ออ่านสะกดคำและการเขียนคำวิชาภาษาไทย โดยใช้คำบัญชีพื้นฐาน ป.๑ คิดได้ค่าร้อยละ ๘๙.๐๙ แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีพัฒนาด้านการอ่าน สะกดคำ และการเขียน เพิ่มขึ้น นักเรียนอ่านถูกต้องและสะกดคำ ได้ถูกต้อง แต่ยังขาดความมั่นใจในการออกเสียงและอ่านไม่คล่อง ทั้งนี้ในการใช้แบบฝึกนักเรียนสามารถทำคะแนนได้ดีตามลำดับเป็นที่น่าพอใจ และจากการวิเคราะห์ผลการทดสอบเป็นรายบุคคลยังพบว่ามีนักเรียนที่เรียนอ่อนในวิชาภาษาไทยมีพัฒนาการในด้านการอ่าน การเขียนดี ขึ้นตามลำดับ    รวมทั้งในการจัดการเรียนการสอน การเสริมแรงขณะปฏิบัติกิจกรรมช่วยให้นักเรียนมีกำลังใจ และทำงานได้คะแนนดีขึ้นด้วย


ข้อเสนอแนะ
1.    การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำ อาจใช้รูปแบบอื่นนอกจากชุดกิจกรรมชุดที่ หลากหลาย ตามหลักภาษาไทย โดยอาจจะทำได้ในรูปของการเขียนตามคำบอก จับคู่โยงภาพกับคำก็ได้ตามแต่ผู้วิจัยจะจัดทำ
2.    การให้กำลังใจ คำยกย่อง ชมเชย หรือแม้แต่การใช้สื่อการเรียนการสอนเข้าช่วยในการสอนอ่านสะกดคำ และการเขียน ทำให้นักเรียนสนุกกับการเรียนวิชาภาษาไทยมากยิ่งขึ้น




ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^