การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำมาตราตัวสะกด
งานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำมาตราตัวสะกด
โดยใช้แบบฝึกอ่านชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเหล่าถาวร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2561
ชื่อผู้วิจัย นางสาวภัทร์ฐิตา กำหนดความ
วิธีดำเนินการวิจัย
การกำหนดระยะเวลาทำการวิจัย ระยะเวลาที่ทำการวิจัยใช้เวลาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โดยผู้วิจัยกำหนดให้ อ่านสะกดคำในแบบฝึก 9 มาตราและให้นักเรียนนำคำที่ได้เรียนมาแต่งประโยคให้ได้ใจความถูกต้อง ในแต่ละครั้งครูก็จะบันทึกหลังการอ่านสะกดคำ ลงในตารางบันทึกเพื่อความก้าวหน้าของตัวนักเรีย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.ประชากรเป็นนักเรียนตัวอย่างที่ศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเหล่าถาวร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2561
2.ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1
โรงเรียนบ้านเหล่าถาวร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
ปีการศึกษา 2561 ทั้งสิ้นจำนวน 11 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือแบบตรวจสอบการอ่านสะกดคำ มาตราตัวสะกดทั้ง 9 มาตรา โดยในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามแผนการสอนตามปกติและใช้หนังสือเสริมทักษะการอ่านสะกดคำและแจกลูก เล่ม๒ ครอบคลุมเนื้อหาในการอ่านสะกดคำ มีการอ่านเนื้อเรื่องจากหนังสือแบบเรียนภาษาไทย รวมถึงฝึกเขียนสะกดคำทุกวันในตอนเช้า จำนวน ๓๐-๖๐ คำ ก่อนมีการเรียนการสอนโดยดำเนินการสะกดคำในตาราง ดังนี้
ผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นการศึกษาผลจากการอ่านการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำมาตราตัวสะกดโดยใช้แบบฝึกอ่านชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา2561
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นการศึกษาผลจาการอ่านสะกดคำจากแบบตรวจสอบการอ่าน มาตราตัวสะกดทั้ง 9 มาตราในแต่ละคำที่มีผลต่อการเรียนการสอนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเหล่าถาวร ปรากฏว่าผลการศึกษามีดังนี้
สรุปผลการสังเกตพฤติกรรมในการอ่านของนักเรียนจำนวน 11 คน พบว่านักเรียนมีพฤติกรรมการอ่านในการเรียนรู้ตอบสนองในระดับที่ดีมากมีจำนวน 10 คน ระดับผลการอ่านที่ต้องปรับปรุง มีจำนวน 1 คน ผลการประเมินเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ด้านการอ่าน คะแนนการอ่านแบบฝึกมาตราตัวสะกด 9มาตรา
คิดเป็นร้อยละ 90.90 และด้านการเขียนคือ ระดับคะแนนการแต่งประโยคคำมาตราตัวสะกด 9 ในระดับที่ดีมากมีจำนวน 10 คน ระดับคะแนนการแต่งประโยค คำมาตราตัวสะกด 9มาตราที่ต้องปรับปรุง มีจำนวน 1 คน เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ด้านการเขียน แบบฝึกมาตราตัวสะกด ๙ มาตราคิดเป็นร้อยละ 90.90
แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีพฤติกรรมที่รักการอ่านดีมาก มีนักเรียนจำนวน 1คนที่ยังขาดทักษะในการอ่านและเขียนอยู่บ้าง นักเรียนที่มีผลการประเมินปรับปรุง ต้องมีการฝึกฝนในการอ่านและเขียนให้มากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
ผลการทำวิจัยครั้งนี้นำไปพัฒนาการเรียนการสอนของคุณครูในเรื่องทักษะการจัดการชั้นเรียนเพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับนักเรียนมีผลการประเมินปรับปรุง ต้องมีการฝึกฝนในการอ่านและเขียนให้มากขึ้น
ทั้งนี้ครูได้ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองนักเรียนที่มีผลการประเมินปรับปรุง สอนเพิ่มเติมที่บ้าน โดยครูแจกแบบฝึกสอนซ่อมเสริมเพื่อให้นักเรียนทบทวนในช่วงปิดภาคเรียน