รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
ชื่องานวิจัย การพัฒนาการอ่าน และเขียนสะกดคำ โดยใช้ชุดฝึกทักษะการแต่งประโยคจากคำพื้นฐานเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา 2563
ชื่อผู้วิจัย ภัทร์ฐิตา กำหนดความ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ชื่อที่ปรึกษางานวิจัย นางสุภารัตน์ พลเยี่ยม
บทคัดย่อ
งานการวิจัยเกี่ยวกับ การพัฒนาการอ่าน และเขียนสะกดคำ โดยใช้ชุดฝึกทักษะการแต่งประโยคจากคำพื้นฐานเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ฉบับนี้ ข้าพเจ้าผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คงจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนครู และเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาในด้านการอ่าน การเขียนภาษาไทย ให้เกิดการเรียนรู้และมีทักษะทางด้าน การอ่าน และการเขียนมากยิ่งขึ้น
สภาพปัญหา
จากการสังเกตในชั้นเรียนของครูผู้สอนภาษาไทยพบว่า ด.ช.ก้องภพ คำเลิศ, ด.ช. ไชยธรรม บุญศรี, ด.ช.ภูมิพัฒน์ คงพันธ์, ด.ช.สุรพิชญ์ ตุระสิงห์, ด.ช.วงศธร จันนอก, ด.ญ.ชมพูนุช เกื้อประโคน, ด.ช.กิตติพัฒน์ คัตมี ซึ่งเรียนอยู่ชั้น ป.1 ยังอ่านหนังสือภาษาไทยและ เขียนภาษาไทย ไม่คล่องและ ไม่มีทักษะในการอ่าน การเขียน สะกดคำและประโยคเหตุผลดังกล่าว นักเรียนที่มีชื่อทั้ง 7 คนนี้ จำเป็นต้องฝึกทักษะในการอ่านและ การเขียนให้มากกว่าคนอื่นเพราะวิชาภาษาไทยมีความจำเป็นในชีวิตประจำวันและเป็นพื้นฐานการเรียนในระดับสูงต่อไป
ทางเลือกที่คาดว่าจะแก้ปัญหา
1. ฝึกทักษะในการอ่านและการเขียนสะกดคำและแต่งประโยค
2. ใช้สื่อการเรียนรู้ที่ง่ายต่อการเรียน และการเข้าใจ
3. ใช้คำพื้นฐานวิชาภาษาไทย ชั้นป.1 เกี่ยวกับทักษะในการอ่านและการเขียนประโยค
จุดประสงค์การวิจัย
1. ให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญ ของการอ่านและการเขียนภาษาไทย
2. เล็งเห็นถึงประโยชน์และมีเจตคติที่ดีต่อการอ่านและการเขียนภาษาไทย
3. สามารถนำทักษะการอ่านและการเขียนไปแสวงหาความรู้ในชีวิตประจำวัน
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 9 เมษายน 2564
กรอบแนวความคิด
ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
- เพศ
- อายุ นักเรียนอ่านหนังสือไม่คล่อง
- นักเรียนเขียนหนังสือไม่ถูกต้อง
เพศ หมายถึง นักเรียนชาย-หญิง ในชั้น ป.1
อายุ หมายถึง นักเรียนชั้นป.1อายุระหว่าง 6-7 ปี
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. จัดเตรียมเอกสารแบบฝึกทักษะการอ่าน, การเขียนคำและประโยค
2. ปรับแผนการสอนให้สอดคล้องกับงานวิจัย
3. เตรียมการตามแผนการสอนที่ปรับเปลี่ยน
4. สอนโดยวิธีการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา ใช้เทคนิคแบบรายบุคคลและใช้สื่อการเรียนรู้ที่สร้างเพิ่มเติมในการจัดกิจกรรมการสอน
5. ตรวจสอบความก้าวหน้าและการพัฒนาการทักษะการอ่าน การเขียนจากแบบฝึก
6. รวบรวมและสรุปผลการวิจัยเพื่อนำเสนอ
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยดังนี้
1. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนอายุระหว่าง 6 - 7 ปี ที่เรียนอยู่ในชั้น ป. 1
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โดยคัดเลือกเด็กที่อ่านไม่คล่องและเขียนหนังสือผิดมากๆ
2. กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ความรับผิดชอบ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเมตตากรุณา ความมีวินัยและรักษาความสะอาดใบงาน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม เพื่อช่วยพัฒนาการอ่านและการเขียน
2. เป็นแนวทางให้นักเรียนเกิดความสนใจในการเรียน มีทักษะการอ่าน การเขียนและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทยที่ดีขึ้น
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการทดลอง และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ บัญชีคำพื้นฐานนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยให้แต่งประโยค และอ่านคำและประโยคจากแบบฝึก จำนวน 4 ชุด ใช้ตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกคะแนน และ แบบฝึกทบทวนการอ่านและเขียนคำศัพท์พื้นฐาน
การสร้างแบบฝึกหัด ดังนี้
1. ศึกษาจากตำราบัญชีคำพื้นฐานนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
2. นำแบบฝึกทบทวนการอ่านและเขียนคำศัพท์พื้นฐานมาทดลองใช้
3. บันทึกคะแนน วัดและประเมินผล
ผลจากการวิจัย พบว่า นักเรียนสามารถอ่านและเขียนถูกต้อง อยู่ในเกณฑ์ดีมากคิดเป็นร้อยละ 71.43 อยู่ในเกณฑ์ดี คิดเป็นร้อยละ 14.28 และอยู่ในเกณฑ์พอใช้ คิดเป็นร้อยละ 14.28 นักเรียนสามารถอ่านได้คล่องขึ้นและเขียนได้ดีขึ้นกว่าเดิม มีนักเรียนบางส่วนต้องพัฒนาการอ่านการเขียนเพิ่มมากขึ้น ผู้ที่สนใจสามารถนำแบบฝึกหัดนี้ไปใช้ได้