การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWLH Plus
แบบคู่คิด เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาประวัติศาสตร์4 (ส32104) ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางชญาภา บุญมีวิเศษ
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWLH Plus ร่วมกับกิจกรรมการเรียนแบบคู่คิด เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค KWLH Plus ร่วมกับกิจกรรมการเรียนแบบคู่คิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWLH Plus ร่วมกับกิจกรรมการเรียนแบบคู่คิด และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWLH Plus ร่วมกับกิจกรรมการเรียนแบบคู่คิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโพธิ์ธาตุประชาสรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโพธิ์ธาตุประชาสรรค์ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 22 คน รูปแบบการวิจัยเป็นแบบที่มีการทดสอบก่อนและหลังทดลอง (One group pretest posttest design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคKWLH Plus ร่วมกับกิจกรรมการเรียนแบบคู่คิด วิชาประวัติศาสตร์4 (ส32104) จำนวน 14 แผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ระบบฟิวดัลหรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง สงครามครูเสด แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การฟื้นฟูศิลปวิทยากร แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การสำรวจทางทะเล แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง การปฏิรูปศาสนา แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง การปฏิวัติอุตสาหกรรม แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง ยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 เรื่อง พัฒนาการของรัฐชาติ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10 เรื่อง ยุคจักรวรรดินิยม แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11 เรื่อง สงครามโลกครั้งที่ 1 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 12 เรื่อง สงครามโลกครั้งที่ 2 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 13 เรื่อง สงครามเย็น และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 14 เรื่อง สถานการณ์ของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ทุกแผนมีการประเมินรูปแบบความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน โดยรวมแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับคุณภาพความเหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย( = 4.77, S.D. = 0.34) และนำมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์4 ( ส32104) ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 18 ชั่วโมง 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มีค่าระหว่าง 0.60 – 1.00 และแบบทดสอบทั้งฉบับมีค่าความเชื่อมั่น 0.92 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอน จำนวน 21 ข้อ ค่าดัชนีความสอดคล้องความคิดเห็นกับจุดประสงค์การเรียนรู้รายข้อ (IOC) มีค่าระหว่าง 0.80 – 1.00 ในการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWLH Plus ร่วมกับกิจกรรม การเรียนแบบคู่คิด เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาประวัติศาสตร์4 (ส32104) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ความเหมาะสมของรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพความเหมาะสม มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.77, S.D. = 0.34) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.48/83.64 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWLH Plus ร่วมกับกิจกรรมการเรียนแบบคู่คิด เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาประวัติศาสตร์4 (ส32104) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWLH Plus ร่วมกับกิจกรรมการเรียนแบบคู่คิด เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาประวัติศาสตร์4 (ส32104) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนนักเรียนส่วนใหญ่มีทักษะการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับดี โดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 3.58, S.D. = 1.11)
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWLH Plus ร่วมกับกิจกรรมการเรียนแบบคู่คิด เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาประวัติศาสตร์4 (ส32104) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.76, S.D. = 0.45)