การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านเขาทราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
ลักษณะผลงาน : การประเมินโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่
ผู้ประเมิน : นางสาวอัซรีดา อามินี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาทราย
ปีการศึกษา : 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านเขาทราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตเโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านเขาทราย ในประเด็นด้านความต้องการจำเป็นของโครงการเความเป็นไปได้ของโครงการเความสอดคล้องกับหลักการของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเความสอดคล้องและชัดเจนของวัตถุประสงค์เการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับด้านบุคลากร งบประมาณ สถานที่ สื่อและวัสดุอุปกรณ์และระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการเ3)เประเมินกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับการวางแผนดำเนินงานเการดำเนินงานตามแผนเการนิเทศกำกับติดตามเการตรวจสอบทบทวนและประเมินผล การปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาเ4)เประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 10 องค์ประกอบและด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการมีจำนวน 115 คน ประกอบด้วยนักเรียนจำนวน 48 คน ครูผู้สอน จำนวน 5 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 38 คน คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพโรงเรียน จำนวน 15 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 9 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวนทั้งหมดเ44เคนเประกอบด้วยเนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่เ4เ-เ6เโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) จำนวน 15 คน ครูผู้สอน จำนวน 5 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 10 คน (ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ที่เลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง) คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพโรงเรียน จำนวน 7 คน (ไม่ซ้ำกับคณะกรรมการชุดอื่น) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่รวมครูและผู้บริหารโรงเรียน)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามประเมินประเด็นบริบทและปัจจัย ประเมินก่อนการดำเนินงานโครงการ มีข้อคำถาม จำนวน 89 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.98 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินกระบวนการ ประเมินระหว่างดำเนินงานโครงการ จำนวน 5 ตัวชี้วัด ข้อคำถาม จำนวน 54 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามประเมินผลผลิต ประเมินหลังเสร็จสิ้นการดำเนินงานโครงการเเกี่ยวกับผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเจำนวนเ10เองค์ประกอบ มีข้อคำถาม จำนวน 105 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88
การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าสถิติเร้อยละเ(Percentage)เค่าเฉลี่ยเ(Mean)เและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเ(Standard deviation) เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows 26.0
สรุปผลการประเมินโครงการ
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการ จำนวน 5 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า) ความเป็นไปได้ของโครงการ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ความเหมาะสมและชัดเจนของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับหลักการของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และความต้องการจำเป็นของโครงการ ตามลำดับ
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านสถานที่มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านระบบบริหารที่เอื้อต่อโครงการ ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร และด้านสื่อและวัสดุอุปกรณ์ ตามลำดับ
3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านการปรับปรุง แก้ไขและพัฒนา มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการวางแผนการดำเนินงานเด้านการนิเทศกำกับติดตามผลเด้านการตรวจสอบทบทวนและประเมินผล และด้านการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ตามลำดับ
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 10 องค์ประกอบของโรงเรียนบ้านเขาทรายพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 10 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดเเมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดเโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านโภชนาการและอาหารที่ปลอดภัยเมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือเเเด้านการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียนเ ด้านการบริการอนามัยโรงเรียน เด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน เด้านสุขศึกษาในโรงเรียนเการให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคมเด้านนโยบายส่งเสริมสุขภาพ ด้านโครงการร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเด้านการบริหารจัดการโรงเรียน และเด้านการออกกำลังกายกีฬาและนันทนาการ ตามลำดับเด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านเขาทรายเพบว่าเผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด