แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
ผู้ศึกษาค้นคว้า ศิริวรรณ สุขเดิมรอด
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา โดยใช้แบบฝึกทักษะ ๓) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา โดยใช้แบบฝึกทักษะ
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านวังใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๓ ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ ๑) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๔ เล่ม ๒) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา จำนวน 20 แผน 20 ชั่วโมง ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ และ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการสอนด้วยตนเอง ใช้เวลาทดลองสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง รวม 20 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
๑. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.24/80.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่กำหนดไว้
๒. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โดยใช้แบบฝึกทักษะ มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.98 ร้อยละ 0.98 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คือ 0.50 หรือร้อยละ 50 ขึ้นไป
๓. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
๔. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด