รูปแบบการพัฒนาครูในการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อหาแนวทางด้านการจัด
4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผนปฏิบัติการวิจัย การปฏิบัติการวิจัย การประเมินผล และผลการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนปฐมวัย ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลโคกสำโรง จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีดังต่อไปนี้ (1) แบบสำรวจความต้องการและปัญหาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (2) แบบทดสอบความรู้ในการกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (3) แผนการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (4) แบบประเมินผลแผนการจัดประสบการณ์ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน และ (5) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ผลการใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการในขั้นตอนการวางแผน การปฏิบัติการวิจัย พบว่า ในขั้นตอนนี้ทำให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนการให้ความรู้และฝึกทักษะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน แก่กลุ่มเป้าหมายและทำให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและแสดงความต้องการต่อแผนการปฏิบัติการวิจัย การปฏิบัติการวิจัย พบว่ากลุ่มเป้าหมายทั้ง 15 คน มีความรู้และทักษะในกระบวนการการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพิ่มมากขึ้น และสามารถที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัยต่อไปได้ การประเมินผล พบว่า กลุ่มเป้าหมายทั้ง 15 คนหลังจากที่ได้ผ่านการใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ทุกคนมีความรู้และทักษะในกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยทุกคนสามารถเลือกรูปแบบการจัดกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน มาจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ระดับดีมาก และผลการสะท้อนกลับ ประเมินผลการสะท้อนกลับที่มีต่อการเข้าร่วมการพัฒนาความรู้และทักษะในการจัดกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน พบว่าการวิจัยเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งต่อไป ทำให้ได้องค์ความรู้ในกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการว่ากลุ่มเป้าหมายมีบทบาทมากในการสะท้อนปัญหา ความต้องการ สะท้อนสภาพและผลการดำเนินการที่สอดคล้องเที่ยงตรงกับสภาพความเป็นจริง