LASTEST NEWS

08 ต.ค. 2567ด่วนที่สุด! ที่ ศธ 04277/ว 1057 เรื่อง กำชับแนวทางปฏิบัติในการพานักเรียนไปนอกสถานศึกษา 08 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 08 ต.ค. 2567(8 ต.ค.2567) เปิดรายชื่อ 74 เขตพื้นที่ฯ ยังไม่ประกาศผลการพิจารณาย้ายครู ประจำปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 ต้องประกาศภายใน 23.59 น. ของวันที่ 15 ต.ค.67 08 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 ต.ค. 2567สพม.นครสวรรค์ เผยแพร่ข้อมูลการเรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชี ปี 2566 และ บัญชี ปี 2567 ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2567 08 ต.ค. 2567สำนักงาน ป.ป.ท. รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่ง นักวิชาการป้องกันการทุจริตในภาครัฐ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 68,350 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-16 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดประชานาถ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 7 - 11 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567โรงเรียนไผ่งามพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 14 - 18 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 47 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 ตั้งแต่วันที่ 8-31 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567จังหวัดชัยนาท รับสมัครพนักงานราชการ พนักงานวิชาการพัสดุ วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 15-21 ตุลาคม 2567

รายงานการประเมินโครงการส่งเสรมิ การจัดการเรียนรู้สู่ทักษะการเรีย

usericon

ชื่อเรื่อง
ผู้ศึกษา บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการส่งเสรมิ การจัดการเรียนรู้สู่ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty First Century Skills) ของสํานักงานเขตพื้นที่การศกึ ษาประถมศึกษา นนทบุรี เขต 2
นางสาววรรณวิษา อารีวโรดม
การพัฒนาผู้สอนให้สามารถจัดการเรียนรู้สู่ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องอาศัยกระบวนการการพัฒนาฝึกอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนกรอบแนวคิด (Mindset) และวิธีการใน การจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการจัดการศึกษาในโลกปัจจุบัน ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวจะส่งผลให้ ผู้เรียนเป็นนักเรียนรู้ที่สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจําวันได้ การนิเทศการศึกษาเป็นเครื่องมือสําคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนรู้ เชิงระบบ ทั้งยังเป็นการพัฒนานวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนเป็นสําคัญ ผู้ศึกษาจึงขอ นําเสนอรายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สู่ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty-First Century Skills) ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สู่ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty-First Century Skills) ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 และเพื่อศึกษาผลจากการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning ของครูวิชาการที่มีต่อ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในสถานศึกษา ประชากรที่ศึกษาคือ ครูวิชาการโรงเรียนในสังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 จํานวน 63 คน เป็นการศึกษาโดยใช้วิธีวิจัยแบบผสาน วิธี (Mixed Methods) ทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative) และเชิงคุณภาพ (Qualitative) เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษาคร้ังน้ีคือ แบบสอบถาม (Questionnaire) และแบบสอบถามปลายเปิด
ผลการศึกษาพบว่า
1. ด้านสภาพแวดล้อม (Context) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากท่ีสุด ส่วนด้าน ปัจจัยนําเข้า (Input) โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า ขั้นวางแผนติดต่อประสานงาน (Plan : P) ขั้นตอนการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Do : D) และขั้นตอนการตรวจสอบกิจกรรม (Act : A) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากท่ีสุด

3. ขั้นตอนการนิเทศติดตาม (Check : C) พบว่า ด้านการวางแผน (Plan : P) ด้าน การให้ความรู้ (Informing : I) ด้านการดําเนินงาน (Do : D) ด้านการสร้างเสริมขวัญกําลังใจ (Reinforcing : R) และด้านการประเมินผล (Evaluate : E) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ด้านผลผลิต (Product) พบว่า บทบาทผู้เรียน : เมื่อครูผู้สอนจัดการเรียนรู้ด้วย กระบวนการ Active Learning และบทบาทผู้สอน : เมื่อเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
สรุปได้ว่า โครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สู่ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty-First Century Skills) ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 สามารถสร้างแรง บันดาลใจให้ผู้สอนได้ตระหนักในบทบาทที่ต้องเปลี่ยนไปอีกทั้งผู้เรียนก็เปลี่ยนบทบาทเป็นนักเรยีนรู้ สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และนําความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจําวันได้อีกด้วย
คําสําคัญ: การประเมินโครงการ การจัดการเรียนรู้สู่ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 (The Twenty-First Century Skills) บทบาทผู้สอน บทบามผู้เรียน
บทนํา
ในการจัดการเรียนรู้ Active Learning (การเรียนรู้เชิงรุก) ทั้งกิจกรรม วิธีการ หรือ รูปแบบการสอนทําให้ผู้เรียนสนใจ บทเรียนและทําให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้รูปแบบการสอนที่สําเร็จรูปที่นิยมใช้กันอยู่ทั่ว ๆ ไป ในปัจจุบันอาจไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ เพราะบริบท ในห้องเรียนแต่ละห้องมีความแตกต่างกัน ผู้สอนควรใช้หลักการของ Active Learning ในการพัฒนา กิจกรรมสําหรับผู้เรียน ทั้งวิธีการสอน อุปกรณ์การสอน การออกแบบรูปแบบ การสอนต่าง ๆ ให้เหมาะ กับเนื้อหาผู้เรียน และชั้นเรียนจะส่งผลให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่น และเป็นนักคิดที่ไม่หยุดนิ่ง ทําให้ผู้เรียน สามารถจดจําเนื้อหาได้นาน และสามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้ในบริบทต่าง ๆ ในบรรยากาศการจัดการ เรียนรู้ Active Learning นนทลี พรธาดาวิทย์ (2559) การเรียนรู้ Active Learning มีแนวคิดมา จากทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ คือ 1) นัยสําคัญของการเรียนรู้ คือ เนื้อหา ที่ผู้เรียนจะยอมรับต้องมี ความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายของผู้เรียน 2) การเรียนรู้ต้องเรียนผ่านการกระทํา 3) การเรียนรู้คือการอํานวยความสะดวกให้กับผู้เรียน โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมและตอบสนอง ต่อกระบวนการเรียนรู้ 4) การเรียนรู้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในตนเองและเกี่ยวข้องกับผู้เรียนคนอื่น ๆ ทั้งด้าน ความรู้สึกและสติปัญญาเรียนรู้ได้ดีที่สุด คือ การได้มีส่วนร่วมในกระบวนการทํากิจกรรมการเรียนรู้ ดังนั้น การเรียนรู้ Active Learning คือ ผู้สอนเป็นผู้อํานวยการการเรียนรู้ (Coach) ผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน กลยุทธ์การเรียนรู้โดยการปฏิบัติที่เป็นจุดแข็งและสร้าง สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ ให้กับผู้เรียน พรรณี ปานเทวัญ (2559) ได้กล่าวว่า การนํา Active Learning

มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ การสอนยังคงประสบปัญหาทั้งในส่วนของการจัดหลักสูตร วิธีการจัดการ เรียนรู้ของผู้สอนรวมทั้งในส่วนของผู้เรียน การนํามาใช้จึงต้องมีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้าน ผู้สอน ผู้เรียนและสภาพแวดล้อมรวมถึงทรัพยากรที่สนับสนุนการเรียนรู้ในด้านผู้สอนต้องเป็นผู้จัด สิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์ให้เอื้อต่อการทํากิจกรรมของผู้เรียน กระตุ้นให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในการหา คําตอบ ช่วยให้ผู้เรียนคิดและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ผู้สอนเป็นผู้ให้คําปรึกษาปัจจัยสําคัญใน ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้รวมถึงอุปกรณ์ในการเรียนรู้ควรมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมและเพียงพอผู้สอน ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมตั้งแต่การวางแผนในการจัดการเรียนรู้การทํากิจกรรมต้องเป็นกิจกรรมด้านการ รู้คิด (Cognitive Activity) และกิจกรรมด้านพฤติกรรม (Behavioral Activity) โดยต้องทําให้เกิดผล ลัพธ์ทั้งสองอย่างในตัวผู้เรียน แต่บางครั้งผู้สอนเข้าใจว่าเมื่อผู้เรียนเกิดความตื่นตัวด้านพฤติกรรมแล้วจะ ทําให้เกิดความตื่นตัวในกิจกรรมด้านการรู้คิดด้วย จึงเน้นกิจกรรมด้านพฤติกรรมเพียงอย่างเดียวแล้ว ปล่อยให้ผู้เรียนเรียนรู้เอง อย่างอิสระทําให้การลําดับความคิดและการจัดองค์ความรู้อาจ ไม่ถูกต้องซึ่ง ทําให้ประสิทธิผลของการเรียนรู้ลดลง ดังนั้น ผู้สอนควรช่วยถ่ายทอดข้อเท็จจริง หลักการ และทฤษฎี
สรุป ความคิดรวบยอดเพื่อทําให้ผู้เรียนสังเคราะห์องค์ความรู้จากข้อมูลได้ครบถ้วน จากความเป็นมาและความสําคัญดังกล่าว ผู้จัดทําโครงการสนใจถึงความสามารถในการจัดการเรียนรู้ เรียนรู้ Active Learning ของผู้สอน ที่มีส่งผลพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถตามทักษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีคุณภาพ ผู้เรียนสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ต่อ ตนเองและผู้อื่น เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข แต่ในความเป็นจริงยังพบสภาพปัญหาว่าผู้สอนขาด ความตระหนัก ความเข้าใจ ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ Active Learning รวมไปถึงการวัด และประเมินผลผู้เรียนแบบบูรณาการ ปัญหาชั่วโมงในการจัดกิจกรรม และมีความ กังวลในเรื่องของผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน จึงทําให้ไม่สามารถดําเนินการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวน Active Learning ได้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจ สร้างความตระหนักถึงผลที่ผู้เรียน จะได้รับในการจัดการเรียนรู้ Active Learning ผู้จัดทําโครงการจึงได้จัดทําโครงการส่งเสริมการจัดการ เรียนรู้สู่ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty-First Century Skills) เพื่อให้นําแนวทาง กิจกรรมไปใช้ในชั้นเรียนได้ ทําให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สามารถนําไปใช้ในการ ดํารงชีวิตในสังคมต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สู่ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty First Century Skills) ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2
2. เพื่อศึกษาผลจาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning ของครู วิชาการที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในสถานศึกษา

วิธีการดําเนินการวิจัย
การศึกษาในครั้งนี้ผู้ศึกษาใช้แนวทางการประเมินโครงการด้วยวิธี แบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ซึ่งการการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สู่ทักษะการเรียน รู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty First Century Skills) โดยใช้ CIPP MODE ของ Stufflebeam (1971)
กลุ่มที่ศึกษา
ประชากร ได้แก่ ครูวิชาการโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานนทบุรีเขต 2 จํานวน 63 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ได้แก่ แบบประเมินครงการส่งเสริมการ จัดการเรียนรู้สู่ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty First Century Skills) โดยใช้ CIPP Model ซึ่งลักษณะของแบบประเมินเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามแบบ Likert มีรายละเอียดดังนี้ แบ่งเป็น 4 ตอน ประกอบด้วย
ตอนที่ 1 แบบสํารวจรายการ (Checklist) เกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบประเมิน จํานวน 5 ข้อ
ตอนที่ 2 แบบประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สู่ทักษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 (The Twenty First Century Skills) โดยใช้ CIPP Model เป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ มี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนําเข้า (Input) ด้าน กระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) จํานวน 58 ข้อ
ตอนที่ 3 แบบประเมินโครงการด้านผลผลิต เป็นแบบปลายเปิด จํานวน 2 ข้อ
ตอนที่ 4 แบบแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดําเนินงาน ตามโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สู่ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty First Century Skills) โดยใช้ CIPP Model เป็นแบบปลายเปิด จํานวน 1 ข้อ
การสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เพื่อให้ได้เครื่องมือที่มีคุณภาพและมีความเที่ยงตรง ผู้ศึกษาได้ดําเนินการสร้าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินโครงการ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 ศึกษาค้นคว้าเอกสาร ตํารา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ

ขั้นที่ 2 นําความรู้ที่ได้จากการศึกษามาสร้างแบบประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการ เรียนรู้สู่ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty First Century Skills) โดยใช้ CIPP Model แล้วนําแบบประเมินโครงการฉบับดังกล่าวให้ผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 5 ท่านตรวจสอบความเที่ยงตรงตาม เนื้อหา (Content Validity) และหาคุณภาพรายข้อด้วยแบบประเมินดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อ คําถามกับเนื้อหา (Index of Item Objective Congruence : IOC)
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้เวลา 3 สัปดาห์ ของภาค เรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ทําหนังสือขอความอนุเคราะห์ถึงกลุ่มประชากร ได้แก่ ครูวิชาการโรงเรียนในสังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2 จํานวน 63 คน
2. ดําเนินการเก็บข้อมูลโดยนําแบบประเมินโครงการมอบให้ประชากรดําเนินการ กรอกประเมินโครงการพร้อมนัดหมายวันเวลาในการรับคืนแบบประเมินโครงการโดยเก็บข้อมูล เชิงปริมาณ (Quantitative Data) ดําเนินการเก็บข้อมูล คือ ดําเนินการเก็บข้อมูลจากครูวิชาการ โรงเรียน ในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2 โดยส่งแบบสอบถามทาง ไปรษณีย์ เพื่อรับทราบวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้และให้กรอกข้อมูลลงในแบบประเมินแล้ว เก็บแบบประเมินคืน
การวิเคราะห์ข้อมลู
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
1. เก็บรวบรวมแบบประเมินโครงการจากกลุ่มประชากรทุกฉบับ ตรวจสอบความ สมบูรณ์ของแบบประเมินโครงการที่ได้รับคืนมารวบรวมคะแนนจากแบบประเมินโครงการทุกฉบับ
2. ลงรหัสข้อมูลจัดกระทําข้อมูลคํานวณค่าสถิติและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม สําเร็จรูป SPSS/PC+
3. วิเคราะห์ผลการประเมินโครงการ โดยใช้ค่าเฉลี่ย (μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และเปรียบเทียบกับเกณฑ์ค่าคะแนนเฉลี่ย
สรุปผลการวิจัย
ตอนที่ 1 แบบสํารวจรายการ (Checklist) เกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบประเมิน จํานวน 5 ข้อ สถานภาพของผู้ตอบแบบประเมินด้านเพศ ครูวิชาการโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 85.7 และเพศชาย

คิดเป็นร้อยละ 14.3 โดยมีอายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 42.9 รองลงมาคือ อายุในช่วง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.9 อายุในช่วง51 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 12.7 และในช่วงอายุน้อยกว่า 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 9.5 ด้านการศึกษาจบการศึกษาระดับปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 50.8 รองลงมา คือ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 47.6 และจบการศึกษาระดับปริญญาเอก คิดเป็นร้อย ละ 1.6 มีประสบการณ์การทํางานในช่วง 6-15 ปี คิดเป็นร้อยละ 73.0 รองลงมาคือ มีประสบการณ์การ ทํางานในช่วง 26 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 11.1 ประสบการณ์การทํางานในช่วงน้อยกว่า 5 ปี คิดเป็น ร้อยละ 9.5 และประสบการณ์การทํางานในช่วง 16-25 ปี คิดเป็นร้อยละ 9.5 จากการศึกษาด้านการใช้ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้โดย ใช้เกม (Games-Based Learning) คิดเป็นร้อยละ 79.4 รองลงมาคือ การเรียนรู้โดยการตั้งคําถาม (Questioning-Based Learning) คิดเป็นร้อยละ 76.2 การเรียนรู้โดยการแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) การเรียนรู้จากการสืบค้น (Inquiry Based Learning) คิดเป็นร้อยละ 63.5 การเรียนรู้โดย การแลกเปลี่ยนความคิด (Think – Pair – Share) คิดเป็นร้อยละ 60.3 การเรียนรู้ที่เน้นทักษะ กระบวนการคิด (Thinking Based Learning) คิดเป็นร้อยละ 58.7 การเรียนรู้ภาษาไทยผ่าน วรรณกรรมคิดเป็นร้อยละ55.6 การเรียนรู้โดยการระดมสมอง(Brainstorming) การเรียนรู้โดยใช้
คิดเป็นร้อยละ 49.2 การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) คิดเป็น ร้อยละ 42.9 การเรียนรู้โดยการสะท้อนความคิด (Student’s Reflection) คิดเป็นร้อยละ 36.5 การ คิดเป็น ร้อยละ 31.7 การเรียนรู้คณิตศาสตร์โดย คิดเป็นร้อยละ 14.3 และการ
คิดเป็นร้อยละ 7.9
ตอนที่ 2 แบบประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สู่ทักษะการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ 21 (The Twenty First Century Skills) โดยใช้ CIPP Model เป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ มี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนําเข้า (Input) ด้าน กระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) จํานวน 58 ข้อ
1. ด้านสภาพแวดล้อม (Context) พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เม่ือพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่ครูวิชาการมีความพึงพอใจในเรื่องวัตถุประสงค์ของโครงการมี ความสอดคล้องกับนโยบายของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กิจกรรมในโครงการสามารถพัฒนาศักยภาพครูผู้สอน และส่งผลถึงผู้เรียนได้ อยู่ในระดับ มากท่ีสุด และพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของโครงการแล้วสามารถนําไปใช้ได้จริง อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนําเข้า (Input) พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น รายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่ครูวิชาการมีความพึงพอใจในเร่ืองวิทยากรมีคุณวุฒิในเนื้อหาตามโครงการ และ
กิจกรรมเป็นฐาน (Activity Based Learning)
เรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning)
การใช้โปรแกรม GSP
การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)
การเรียนรู้ด้วยการค้นพบ (Discovery Learning)
เรียนรู้การบริการ (Service Learning)

ครูมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการดําเนินกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ สถานที่จัดโครงการ มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก และจํานวนครูและบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการมีความเหมาะสม อยู่ใน ระดับมาก
3. ด้านกระบวนการ (Process) ผู้ประเมินโครงการได้นํารูปแบบการนิเทศแบบ PDCA มาใช้ในการประเมินโครงการในส่วนของขั้นตอนการเตรียมงานการอบรม พบว่า
3.1 ขั้นวางแผนติดต่อประสานงาน (Plan : P) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่ครูวิชาการมีความพึงพอใจในเรื่องจัดหาวัสดุอุปกรณ์ สื่อ และ เครื่องอํานวยความสะดวกในการจัดการอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ แต่งตั้งคณะกรรมการ การดําเนินงานตามโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด และมีการศึกษานโยบายของต้นสังกัดทุกภาคส่วน
และกําหนดแนวทางการดําเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด
3.2 ขั้นตอนการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Do : D) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่ครูวิชาการมีความพึงพอใจในเรื่องวิทยากรสามารถถ่ายทอด ความรู้ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เป็นอย่างดี อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ผู้เข้ารับการอบรมได้ลงมือ ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองจนสามารถเกิดองค์ความรู้ และสามารถนําไปถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียนได้ และสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนได้ อยู่ในระดับมากที่สุด และเนื้อหาในการจัดอบรมมี ความน่าสนใจ เหมาะสม และสามารถปฏิบัติได้จริง อยู่ในระดับมากที่สุด
3.3ขั้นตอนการนิเทศติดตาม(Check:C)ผู้ประเมินโครงการได้นําข้นัตอน การนิเทศ PIDRE สงัด อุทรานันท์ (2530) มาใช้ในการประเมินโครงการในส่วนของการนิเทศ ติดตาม
ผู้เข้ารับการอบรมหลังการอบรม พบว่า
3.3.1 ด้านการวางแผน (Plan : P) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อ
พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่ครูวิชาการมีความพึงพอใจในเรื่องผู้นิเทศแจ้งนโยบาย และ จุดประสงค์การนิเทศ ติดตาม ให้ครูผู้เข้ารับการอบรมได้ทราบ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ผู้นิเทศวางแผนปฏิบัติการนิเทศ โดยอาศัย Application Line และ Facebook ในการรายงานผลการ ดําเนินการในชั้นเรียน ผู้นิเทศวางแผนการออกนิเทศตามปกติ ตามปฏิทิน เพื่อติดตามการดําเนินงาน การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning ของโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด และจัดทํา เครื่องการนิเทศ ติดตาม การการจัด การเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning ของโรงเรียนอยู่ใน ระดับมากที่สุด
3.3.2 ด้านการให้ความรู้ (Informing : I) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่ครูวิชาการมีความพึงพอใจในเรื่องจัดทําสื่อนําเสนอ Power Point แนวทางการดําเนินกิจกรรมที่สร้างความตระหนัก และความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ด้วย กระบวนการActive Learning อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ จัดหา และแนะนําคลิปวิดีโอ

ที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning อยู่ในระดับมากที่สุด และจัดทําคู่มือ การนิเทศภายในการจัดการการเรียนรู้ด้วยกระบวนการActive Learning อยู่ในระดับมากที่สุด
3.3.3 ด้านการดําเนินงาน (Do : D) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่ครูวิชาการมีความพึงพอใจในเรื่องติดตามการดําเนินการจัด กิจกรรมในชั้นเรียน ผ่าน Application Line และ Facebook อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ออกนิเทศ ติดตาม ตามปฏิทินการนิเทศปกติ โดยใช้เครื่องมือที่ออกแบบไว้ อยู่ในระดับมากที่สุด และ สรุปรูปแบบการจัดกิจกรรม และการดําเนินของครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ
Active Learning อยู่ในระดับ มากที่สุด
3.3.4 ด้านการสร้างเสริมขวัญกําลังใจ (Reinforcing : R) ภาพรวมอยู่
ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าส่วนใหญ่ครูวิชาการมีความพึงพอใจในเรื่องผ้นูเิทศ สร้างบรรยากาศการนิเทศแบบกัลยาณมิตร อยู่ในระดับ มากที่สุด รองลงมาคือ ให้คําชื่นชมกับครู ที่ดําเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning และนําผลงานของคุณครูที่ได้ ดําเนินการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning รายงานต่อ สพฐ.ทราบ อยู่ในระดับมาก ที่สุด และสรุปรูปแบบการจัดกิจกรรม และจัดหาเวทีการประกวด นําเสนอผลงาน การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ให้กับครูผู้สอน ตามบริบทของโรงเรียน เช่น การแข่งขันหุ่นยนต์ ฯลฯ อยู่ในระดับมากที่สุด
3.3.5 ด้านการประเมินผล (Evaluate : E) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่ครูวิชาการมีความพึงพอใจในเรื่องประเมินจากภาพถ่าย โครงการ กิจกรรมของโรงเรียนที่ในแนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning และ
ประเมินผลจากการสัมภาษณ์ครูผู้สอน และนักเรียนในวันที่เข้านิเทศ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ประเมินผลจากเครื่องมือการนิเทศ ติดตาม ตามปกติ ในการดําเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้น เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
3.4 ขั้นตอนการตรวจสอบกิจกรรม (Act : A) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่ครูวิชาการมีความพึงพอใจในเรื่องนําข้อดี และโอกาสไปขยาย ผลต่อยอดให้กับโรงเรียนอื่น ๆ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ นําสิ่งที่ค้นพบในการออกนิเทศมา วิเคราะห์ เพื่อหาข้อดี ข้อด้อย โอกาส และอุปสรรคในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning อยู่ในระดับ มากที่สุด และนําข้อด้อย และอุปสรรคที่ค้นพบมาดําเนินการหาแนว ทางการส่งเสริม แก้ไข โดยจัดเป็นโครงการเพื่อสนับสนุนในครั้งต่อไป อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ด้านผลผลิต (Product) ผู้ประเมินโครงการได้แยกออกเป็นในส่วนของบทบาท ผู้เรียน และบทบาทผู้สอน : เมื่อเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning พบว่า
4.1 บทบาทผู้เรียน : เมื่อครูผู้สอนจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่ครูวิชาการมีความพึง

พอใจในเรื่องผู้เรียนภาคภูมิใจในผลงาน (ชิ้นงาน) ของตนเอง และผู้เรียนเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning อย่างมีความสุข อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ผู้เรียนรู้จักแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ (Show and Share) อยู่ในระดับมากที่สุด และผู้เรียนสามารถออกแบบในการสร้างภาระ งานที่ได้รับมอบหมาย อยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 บทบาทผู้สอน : เมื่อเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่ครูวิชาการมีความพึง พอใจในเรื่องครูทําหน้าที่กระตุ้นให้ผู้เรียนหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ให้ผู้เรียนไปศึกษา ค้นคว้า เพิ่มเติมเพื่อสร้างชิ้นงาน และครูอํานวยความสะดวก และแนะนําแนวทาง วิธีการสร้างชิ้นงานให้กับ ผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ขณะที่ผู้เรียนกําลังสร้างชิ้นงานครูทําหน้าที่ให้คําแนะนํา ให้คําปรึกษา และอํานวยความสะดวกตามที่ผู้เรียนร้องขอ ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ กําหนดเกณฑ์การประเมินชิ้นงาน และผู้เรียนร่วมกันออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ Active Learning อยู่ ในระดับมากที่สุด และนําข้อด้อย และครูกระตุ้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน และสิ่งต่าง ๆ รอบข้าง ครูแนะนําวิธีการประเมิน และเกณฑ์การประเมินชิ้นงานให้ผู้เรียนทราบเสมอ ครูสร้างบรรยากาศเป็น กันเองกับผู้เรียนในขณะที่ผู้เรียนกําลังเรียนรู้ด้วย Active Learning อยู่ในระดับมากที่สุด
อภิปรายผล
1. ด้านสภาพแวดล้อม (Context) เป็นการพิจารณาหลักการและเหตุผล ความจําเป็น ที่ต้องดําเนินโครงการประเด็นปัญหา และความเหมาะสมของเป้าหมายโครงการครูวิชาการมีความเห็น สะท้อนให้เห็นว่าวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายสํานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานรวมไปถึงกิจกรรมที่จัดสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง สามารถนําไปใช้ใน กิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ รําไพ แสงนิกุล (2559) พบว่า ผลการประเมินดานบริบทมีความเหมาะสม โดยผลการประเมินของผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้ ประสานงานโครงการมีความเห็นว่า โครงการมีวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่ชัดเจนเหมาะสม สอดคล้องกับ สุดา นันไชยวงค์ (2561) พบว่า โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ สูงขึ้น และมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครูสามารถนําไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนใน ห้องเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้งนี้เป็นเพราะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเป็นนโยบายที่สําคัญของ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีเป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21
2. ด้านปัจจัยนําเข้า (Input) พบว่า ครูวิชาการมีความคิดเห็นด้านปัจจัยการนําเข้า (Input) ในด้านการดําเนินการของวิทยากรมีคุณวุฒิในเนื้อหาตามโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นนทบุรี เขต 2 ทําให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการดําเนินกิจกรรม และได้ลงมือปฏิบัติทําให้เกิด ความเข้าใจมากขึ้น รวมถึงความพร้อมของสถานที่ และจํานวนผู้เข้าอบรมที่เหมาะสม สอดคล้องกับ

มีนา กริชไกรวรรณ และอชิตพล มีมุ้ย (2561) พบว่า ผู้บริหารโรงเรียน และครูคณิตศาสตร์ มีความ คิดเห็นว่าวิทยากรมีเทคนิคในการถ่ายทอดความรู้ และมีประสบการณ์ได้อย่างเหมาะสม วิทยากรมี ความเชี่ยวชาญในเนื้อหาที่อบรม รวมไปถึงวัน เวลา จํานวนวันที่เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ของโครงการ และสอดคล้องกับ กัลยา ศรีวิเชียร และไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม (2558) พบว่า วิทยากร ในโครงการเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด โดยครงการนําหลักสูตรมาใช้ในการพัฒนา ได้อย่างเหมาะสมเทียบเคียงกับหลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับสูงของสํานักงาน คณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือนและครอบคลุมในด้านการศึกษา รวมถึงวิทยากรบรรยายมีความเหมาะสมเป็นบุคคล ที่มีชื่อเสียงระดับชาติ มีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับมีประสบการณ์การทํางาน ด้านบริหารและ เป็นผู้นําขององค์กร โดยสามารถถ่ายทอดความรู้ได้ตามกรอบหลักสูตรของโครงการ มีการแลกเปล่ียน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน จากความสอดคล้องของงานวิจัย วิทยากรมีส่วนสําคัญในการจัดการอบรมต่าง ๆ ปัจจัยในการจัดหาวิทยากรน้ันควรเป็นผู้ท่ีมีความเช่ียวชาญในเรื่องที่จัดอบรม มีความเป็นนักบูรณาการ สันทนาการ จัดการอบรมแลกเปล่ียนเรียนรู้ที่น่าสนใจ เป็นนักออกแบบกิจกรรมที่ดี นอกจากวิทยากร แล้วจะพบว่า ในส่วนของสถานที่ วัน เวลา รวมไปถึงจํานวนผู้เข้ารับการอบรมก็มีความสําคัญเช่นกันท่ี จะทําให้การอบรมเชิงปฏิบัติการประสบความสําเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
3. ด้านกระบวนการ (Process) ผู้ประเมินโครงการได้นํารูปแบบการนิเทศแบบ PDCA มาใช้ในการประเมินโครงการในส่วนของขั้นตอนการเตรียมงานการอบรม พบว่า
3.1 ขั้นวางแผนติดต่อประสานงาน (Plan : P) ครูวิชาการมีความคิด เห็นว่า การวางแผนออกแบบกิจกรรม และจัดหาวัสดุอุปกรณ์ สื่อ และเครื่องอํานวยความสะดวกในการจัด การอบรมที่มีความพร้อม เพียงพอกับความต้องการของผู้เข้ารับการอบรม มีการแต่งต้ังคณะกรรมการ การดําเนินงานอย่างเป็นระบบ และมีการศึกษานโยบายของต้นสังกัดทุกภาคส่วนและกําหนด แนวทางการดําเนินโครงการ สอดคล้องกับแนวคิดวงจรการบริหารงานคุณภาพ PDCA เครือวัลย์เก่งเขตรวิทย์(2564)ในด้านการเตรียมแผนงาน(Plan)ซึ่งถือเป็นส่วนที่มีความสําคญั ที่สุด เพราะการวางแผนจะทําให้ส่วนอื่นทํางานําได้อย่างมีประสิทธิผล ประกอบด้วย การวิเคราะห์ สถานการณ์และการจําแนกปัญหา การตั้งเป้าหมายความเข้าใจถึงข้อจํากัดและขอบเขต รวมถึงการ นํามาพิจารณาวิธีการปรับปรุงที่น่าจะเป็นไปได้ และการตัดสินใจถึงแผนปฏิบัติการที่กําหนดวิธีสําหรับ ตรวจสอบและประเมินผลลัพธ์ สอดคล้องกับเริงรณ ล้อมลาย (2560) ที่ให้แนวคิดด้านการวางแผน ไว้ ว่า องค์ประกอบทั้งสี่ส่วนของวงจรคุณภาพนั้นควรพิจารณาเรื่องการวางแผนเป็นส่วนที่ควรให้ ความสําคัญที่สุด เนื่องจากการวางแผนเป็นส่วนท่ีทําให้การดําเนินงานสามารถทําได้อย่างมีประสิทธิผล ถ้าการวางแผนไม่เหมาะสมจะมีส่วนทําให้ด้านอื่นไร้ประสิทธิผลตามไปด้วย แต่ถ้ามีการเริ่มต้นวางแผนท่ี ดีจะทําให้มีการผิดพลาดน้อยลง และกิจกรรมจะมีประสิทธิภาพมากข้ึน การวางแผนในการปรับปรุงเป็น การลดช่องว่าง ระหว่างสิ่งที่ต้องการกับสิ่งที่เป็นอยู่จริงและกิจกรรมการปรับปรุงที่มีประสิทธิผล

จําเป็นต้องมมีมุมมองที่แม่นยํา การวางแผนประกอบด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์ละการจําแนกปัญหา การตั้งเป้าหมายเข้าใจถึงข้อจํากัดและขอบเขต รวมถึงการนํามาพิจารณากําหนดวิธีสําหรับตรวจสอบ และประเมินผลลัพธ์ที่ได้
3.2 ขั้นตอนการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Do : D) คือ ครูวิชาการมีความคิดเห็นว่า วิทยากรมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เป็นอย่างดี ผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วม ในกิจกรรมได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองจนสามารถเกิดองค์ความรู้ ผู้เข้าอบรมสามารถนําไป ถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียนได้ และสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนได้ รวมไปถึงเนื้อหาใน การจัดอบรมมีความน่าสนใจ เหมาะสม และสามารถปฏิบัติได้จริง สอดคล้องกับแนวคิดวงจร การบริหารงานคุณภาพ PDCA เครือวัลย์ เก่งเขตรวิทย์ (2564) ในด้านการลงมือปฏิบัติงานตาม แผนงานที่ได้กําหนดไว้ (Do) คือ การดําเนินการตามแผนปฏิบัติการ วันที่อย่างถูกต้อง โดยผู้รับผิดชอบ ต้องติดต่อสื่อสาร ไปยังผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม และจัดหาทรัพยากรท
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^