LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนบ้านวัดใหม่ อ.สทิงพระ จ.สงขลา

usericon

บทสรุป

ชื่อเรื่อง    รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน
โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านวัดใหม่
ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน    นางสาวนันทวรรณ ชูมนตรี    
ปีที่รายงาน    ปีการศึกษา 2563

    รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านวัดใหม่ ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ของโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (stufflebeam) มาใช้ในการประเมิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 จำนวน 80 คน ครู จำนวน 8 คน ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 จำนวน 80 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่น แต่ละฉบับอยู่ระหว่าง 0.92 - 0.99 ผู้รายงานวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows. V.22 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าร้อยละ (Percentage)

สรุปผลการประเมินโครงการ
    การประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านวัดใหม่ ปีการศึกษา 2563 สรุปผลได้ดังนี้
1.     สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อม โครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านวัดใหม่ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    2.    สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้า โครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านวัดใหม่ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 3.69 , S.D. = .47) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    3.    สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการในการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านวัดใหม่ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน
4.     สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตโครงการ
        4.1    ผลผลิตด้านคุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านวัดใหม่ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน
        4.2    ผลผลิตด้านทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านวัดใหม่ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของ ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.3    ผลผลิตด้านความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านวัดใหม่ ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ข้อเสนอแนะ
    จากการรายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านวัดใหม่ ปีการศึกษา 2563 มีข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการรายงานการประเมินโครงการ ไปใช้ดังนี้



ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการประเมินไปใช้
1.     การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน ให้ประสบผลสำเร็จและเกิดความยั่งยืน สถานศึกษาควรมีการสร้างความตระหนักเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ครูและผู้เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรม มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่างครูและผู้เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียน ควรใช้หลักการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน อีกทั้งส่งเสริมพัฒนาครูให้ใช้การวิจัยเป็นฐานในการพัฒนา ให้ค้นหารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมุ่งเน้นการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อจัดกิจกรรมที่สอดคล้องตามศักยภาพของผู้เรียนก่อเกิดผลสัมฤทธิ์มากมายเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชนเป็นแบบอย่างแก่หน่วยงานอื่นได้
2.     หลังการพัฒนาโรงเรียนควรมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดปลายทางยั่งยืน โรงเรียนปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้และเป็นโรงเรียนรักการอ่าน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น มีทักษะการอ่าน การคิด และการเขียน สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสมกับวัย อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ครูผู้สอนเป็นครูมืออาชีพในการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียน มีนวัตกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้ตรงตามความจำเป็นของสังคมปัจจุบัน
3.     ผู้บริหารเป็นที่ปรึกษา หรือให้คำแนะนำให้ความรู้ตลอดจนส่งเสริมในการจัดกิจกรรมในโครงการอย่างต่อเนื่องและสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคคล มีความยุติธรรม มีความเป็นกลางเป็นที่ยอมรับตลอดการดำเนินโครงการ มีการนิเทศ ติดตาม กำกับดูแล ช่วยเหลือและการประเมินผล เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการแก่ครูเป็นแบบกัลยาณมิตรโดยเน้นการมีส่วนร่วม
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
1.    ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้และทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน
2.    ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ทุกโครงการที่โรงเรียนดำเนินการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นๆ ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
3.    ควรมีการประเมินโครงการในระดับองค์รวมของสถานศึกษา โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของซิปป์ (CIPP Model)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^