รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลั
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมแบบมี ส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองบ้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองบ้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 วิธีดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งมีขั้นตอนและวิธีดำเนินการวิจัย 6 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมและการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหาของหลักการ แนวคิด ทฤษฏีเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมและการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองบ้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 และประกอบการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย 2) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยศึกษาใน 2 ลักษณะ คือ เชิงปริมาณ โดยการสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู จำนวน 11 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 59 คน ในโรงเรียนบ้านหนองบ้วย และเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมายที่เป็นครู จำนวน 2 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 2 คน โรงเรียนบ้านหนองบ้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 3) การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยการศึกษาหลักการ แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ประกอบกับผลการศึกษาสภาพการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน สังเคราะห์เป็นร่างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมแบบมีส่วนร่วม นำเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบกลั่นกรองความถูกต้อง ความครอบคลุมและให้ความเห็นชอบร่างรูปแบบ 4) การตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยสนทนากลุ่มประเด็นเฉพาะ (Focus Group Discussion) ของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 ท่าน พิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ 5) ปรับปรุงและนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยการปรับปรุงและนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ 6) สอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยการสอบถามความคิดเห็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย จากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียน ครู คณะกรรมการสถนศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนบ้านหนองบ้วยที่มีส่วนร่วมในโรงเรียนคุณธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในสังกัด จำนวน 137 คน ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบในด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสมและด้านความถูกต้อง
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองบ้วย โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
2. รูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองบ้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ได้รูปแบบการดำเนินงาน 7 องค์ประกอบ จำนวน 47 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การวางแผน จำนวน 9 ตัวบ่งชี้ การประสานงาน จำนวน 7 ตัวบ่งชี้ การมีส่วนร่วม จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ การลงมือปฏิบัติ จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ การนิเทศติดตาม จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ การประเมินผล จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ และการสร้างเครือข่าย จำนวน 6 ตัวบ่งชี้
3. ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เห็นด้วยกับรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ในด้านความเป็นประโยชน์ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้อง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก