รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองลาน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3
ผู้ประเมิน ธัชวรรธน์ เจริญภิรมย์บวร
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองลาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 โดยใช้ รูปแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) โดยมีวัตถุประสงค์ของการประเมินดังนี้ 1) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองลาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ด้านสภาวะแวดล้อม 2) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคลองลานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ด้านปัจจัยเบื้องต้น 3) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคลองลาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ด้านกระบวนการ และ 4) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคลองลาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ด้านผลผลิต ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากร จำนวน 11 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 105 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 105 คน รวมทั้งสิ้น 228 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item objective congruence: IOC) อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha Coefficient - α) เท่ากับ 0.92, 0.87, 0.90, 0.89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการประเมินได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของ (Context Evaluation) โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคลองลาน ประเมินโดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและข้าราชการครูและบุคลากร พบว่า ผลการประเมิน ในภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
2. ผลการการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคลองลาน ประเมินโดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และข้าราชการครูและบุคลากร พบว่า ผลการประเมินในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
3. ผลการการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคลองลาน ประเมินโดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และข้าราชการครูและบุคลากร พบว่า ผลการประเมินในภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคลองลาน ประเมินโดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้าราชการครูและบุคลากร ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน พบว่า ผลการประเมินในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้