ผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) ประเภทครูผู้สอน
ชื่อผู้นำเสนอผลงาน นางสาวพิมพ์ธิวา วงค์ชมภู
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียน บ้านท่าไม้
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ตำบลท่าไม้ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร รหัสไปรษณีย์ 62110
E-mail: pimzazaz@gmail.com ช่อง Youtube : Krupim littlechild
2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่สำคัญที่สุดสำหรับพัฒนาการของชีวิตมนุษย์ ในช่วง 6 ปีแรกของชีวิตมักจะ
มีผลต่อการวางรากฐานที่สำคัญต่อบุคลิกภาพที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ โดยผ่านการเรียนรู้และประสบการณ์ต่างๆทั้งในและนอกห้องเรียน เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาช่วงอายุระหว่าง 0-6 ปี ถือว่าเป็นช่วงโอกาสของของการเรียนรู้ ในวัยนี้สมองจะเติบโตอย่างรวดเร็ว ถ้าเด็กได้รับพัฒนาการและได้รับการกระตุ้นด้วยวิธีการที่ถูกต้อง จะช่วยสร้างเสริมให้มีความพร้อมทางสมบูรณ์ทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2543) การศึกษาปฐมวัยมุ่งพัฒนาเด็กทุกคนให้ได้รับพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีความสุขและเหมาะสมตามวัย มีทักษะชีวิตที่ดี โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา พ่อแม่ ครอบครัว และชุมชน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2560) ทั้งนี้การวางรากฐานของพัฒนาการทุกด้านควรเริ่มตั้งแต่ระดับปฐมวัย ซึ่งการจะพัฒนาเด็กวัยนี้จะต้องส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้ครอบคลุมรวมไปถึงการยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและวิถีชีวิตของเด็ก ตามบริบทของชุมชน สังคมและวัฒนธรรม โดยต้องอาศัยการประสานความร่วมมือกันในการพัฒนาเด็กให้มีความพร้อมและศักยภาพที่จะพัฒนาต่อไปอย่างสูงสุด
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีช่วงเวลาที่สมองส่วนหน้าสุดมีการพัฒนาอย่างมาก สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดูและการอบรมสั่งสอนจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้กิ่งประสาทแตกแขนง นั่นหมายถึง พัฒนาการทางการคิดของเด็กได้รับพัฒนาสามารถกำกับตนเองไปสู่เป้าหมายได้ (สุภาวดี หาญเมธี, 2561) ซึ่งการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Funtion Skills) คือฐานรากสุดที่จะทำให้ได้มาซึ่งการเรียนรู้ในทักษะศตวรรษที่ 21 เป็นการจัดการชีวิตให้สำเร็จ โดยผ่านกระบวนการ คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ไขปัญหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็นและมีความสุขเป็น ผ่านการจัดประสบการณ์ที่มุ่งเน้นองค์ประกอบEFหลัก 3 ด้านได้แก่ กลุ่มทักษะพื้นฐาน (ความจำเพื่อใช้งาน, การยั้งคิดไตร่ตรอง, การยืดหยุ่นความคิด) กลุ่มทักษะกำกับตนเอง (การจดจ่อใส่ใจ, การควบคุมอารมณ์, การติดตามประเมินตนเอง) และกลุ่มทักษะการปฏิบัติ (การริเริ่มและลงมือทำ, การวางแผนจัดระบบดำเนินการ, การมุ่งเป้าหมาย) จากองค์ประกอบ EF ทั้ง 3 ด้านนั้น จะเห็นได้ว่า เมื่อเด็กได้รับโอกาสพัฒนาทักษะสมอง EF ทั้งตัวเด็กเองและสังคมที่ได้รับผลประโยชน์ จะส่งผลต่อการพัฒนาอย่างรอบด้านเป็นผลทางบวก และส่งผลต่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้านไปพร้อมๆกัน อีกทั้งยังทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง (Self-Esteem) และเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-Worth) ผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในท้องถิ่น การจัดกิจกรรมต่างๆ โดยมีครูเป็นผู้กระตุ้นให้เด็กคิดและสร้างแรงจูงใจช่วยส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมองEF ของเด็กปฐมวัยให้ดียิ่งขึ้นไป
และเนื่องด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ซึ่ง
เกิดขึ้นเมื่อปลานเดือนธันวาคม 2562 จนถึงปัจจุบัน ทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ การเมือง และการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศการจัดการศึกษาเพื่อรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ได้กำหนดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับแต่ละโรงเรียน 5 รูปแบบ โดยไม่ได้กำหนดรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพื่อให้ทุกโรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนตามบริบท ดังนั้น ในปีการศึกษา 2564 ทางโรงเรียนบ้านท่าไม้ จึงได้คำนึงถึงนโยบายภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยระบบ 3 On ได้แก่ On-Air Onhand และ Onsite ตามสถานการณ์และมีการประเมินความพร้อมผ่านระบบ Thai Stop COVID ที่ผ่านมาตรฐานและปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด อีกทั้งนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต1 ยังมีการส่งเสริมให้โรงเรียนในสังกัดได้นำหลักสูตรบูรณาการ การศึกษาปลอดภัยและมีคุณภาพ สาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น มาจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนอย่างมีคุณภาพ “ในทุกชั้นเรียน” อีกด้วย
จากเหตุผลดังที่ได้กล่าวมา คุณครูจึงต้องการที่จะพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในท้องถิ่นที่พัฒนาทักษะสมองEF ของเด็กปฐมวัย ด้วยระบบ 3 On ( On-Air Onhand และ Onsite) เข้ามาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัย สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพและให้มีความปลอดภัยต่อสุขภาพของตนเองและผู้อื่น ตลอดจนให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคมต่อไป
3. จุดประสงค์การดำเนินงาน
3.1 เพื่อพัฒนาทักษะสมองEF โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในท้องถิ่นของเด็กปฐมวัย ด้วยระบบ 3 On ( On-Air Onhand และ Onsite)
3.2 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต1 ในการนำหลักสูตรบูรณาการการศึกษาปลอดภัยและมีคุณภาพ สาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณภาพ
4. เป้าหมายการดำเนินงาน
4.1 นักเรียนมีการพัฒนาทักษะสมองEF ที่สูงขึ้นผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในท้องถิ่น ด้วยระบบ 3 On (On-Air Onhand และ Onsite)
4.2 โรงเรียนสามารถนำหลักสูตรบูรณาการการศึกษาปลอดภัยและมีคุณภาพ สาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้กับนักเรียนระดับปฐมวัยได้อย่างมีคุณภาพ
5. ขอบเขตของการดำเนินงาน
5.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา
เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะสมองEF ของเด็กปฐมวัย
ผ่านกิจกรรม/หน่วยการเรียนรู้ต่างๆ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ด้วยระบบ 3 On (On-Air Onhand และ Onsite) ให้สอดคล้องกับหลักสูตรบูรณาการการศึกษาปลอดภัยและมีคุณภาพ สาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้กับนักเรียนระดับปฐมวัยได้อย่างมีคุณภาพ
แบ่งได้ดังนี้
5.1.1 กิจกรรมการสอนแบบ On-air
- กิจกรรมตามหน่วยการเรียนรู้ “ต้นไม้ที่รัก”
- กิจกรรมตามหน่วยการเรียนรู้ “ฝนจ๋า”
- กิจกรรมเล่าไปพับไป
- กิจกรรมสร้างสรรค์ปั้นดินน้ำมัน
๑.1.2 กิจกรรมการสอนแบบ Onhand
- กิจกรรมใบงาน หน่วยต้นไม้ที่รัก
- กิจกรรมใบงาน หน่วยฝนจ๋า
- กิจกรรมเกมการศึกษา
๑.1.3 กิจกรรมการสอนแบบ Onsite
- กิจกรรมตามหน่วยการเรียนรู้ รักเมืองไทย
- กิจกรรมตามหน่วยการเรียนรู้ ของเล่นของใช้ บูรณาการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย เรื่อง “จมหรือลอย”
- กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย เรื่อง สนุกกับฟองสบู่
- กิจกรรม Cooking day หน่วยอาหารดีมีประโยชน์
5.2 ขอบเขตด้านกลุ่มเป้าหมาย
เด็กปฐมวัยที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านท่าไม้ ตำบลท่าไม้
อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 22 คน
6. กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน
6.1 การออกแบบผลงาน นวัตกรรมหรือแนวปฏิบัติ
6.1.1 วิเคราะห์สภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
6.1.2 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ฉบับพุทธศักราช 2560
6.1.3 จัดทำหลักสูตรบูรณาการการศึกษาปลอดภัยและมีคุณภาพ สาระการเรียนรู้
วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่นระดับปฐมวัย
6.1.4 ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะสมองEF
6.1.5 วางแผนการออกแบบกิจกรรม รวมทั้งการผลิตสื่อ โดยกำหนดจุดมุ่งหมายและ
รูปแบบของสื่อให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก และตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค
ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
6.1.5 สร้างกิจกรรมและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในท้องถิ่นที่พัฒนาทักษะสมองEF ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านท่าไม้ ปีการศึกษา 2564
6.2 การดำเนินการตามกิจกรรม (ตามวงจรคุณภาพเดมมิ่ง PDCA)
6.2.1 Plan = P
1. กำหนดเป้าหมาย โดยการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะสมองEF โดยการนำแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นรวมถึงสื่อต่างๆ มาจัดประสบการณ์หรือกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะสมอง EF ตามองค์ประกอบหลัก 3 ด้าน ได้แก่ กลุ่มทักษะพื้นฐาน (ความจำเพื่อใช้งาน, การยั้งคิดไตร่ตรอง, การยืดหยุ่นความคิด) กลุ่มทักษะกำกับตนเอง (การจดจ่อใส่ใจ, การควบคุมอารมณ์, การติดตามประเมินตนเอง) และกลุ่มทักษะการปฏิบัติ (การริเริ่มและลงมือทำ, การวางแผนจัดระบบดำเนินการ, การมุ่งเป้าหมาย)
2. การวางแผนการทำงาน ดำเนินโดยการวิเคราะห์สภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สาระที่ควรเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และตัวบ่งชี้ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับทักษะสมองEF ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง วางแผนการผลิตสื่อ โดยการกำหนดจุดมุ่งหมายและรูปแบบของสื่อให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัย
3. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์สำหรับทำกิจกรรม
6.2.2 Do = D
4. ลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามแผนกิจกรรมต่างๆ
6.2.3 Check = C
5. ตรวจสอบผลงาน โดยการสังเกตผลงาน และการทำกิจกรรมของเด็ก นำข้อบกพร่องจากการดำเนินกิจกรรม ไปปรับปรุง พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
6.2.4 Action = A
6. ปรับปรุงผลงานให้ดีขึ้น ปรับปรุงกิจกรรมให้น่าสนใจหลากหลายมากขึ้น
6.3 ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะสมองEF ด้วยระบบ
3 On ( On-Air Onhand และ Onsite) เด็กได้รับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน และ มีการพัฒนาทักษะสมอง EF ที่สูงขึ้น ทั้งเรื่องความจำเพื่อใช้งาน การยั้งคิดไตร่ตรอง การยืดหยุ่นความคิด การจดจ่อใส่ใจ การควบคุมอารมณ์ การติดตามประเมินตนเอง การริเริ่มลงมือทำ การวางแผนจัดระบบดำเนินการ และการมุ่งเป้าหมาย ผ่านการทำกิจกรรมและใบงานต่างๆ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข สอดคล้องกับสาระที่ควรเรียนรู้และประสบการณ์สำคัญ รวมทั้งพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560
7. ผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
7.1 ผลที่เกิดตามจุดประสงค์
เด็กได้พัฒนาทักษะสมอง EF ที่สูงขึ้น เกิดทักษะตามองค์ประกอบหลัก 3 ด้าน คือ
กลุ่มทักษะพื้นฐาน (ความจำเพื่อใช้งาน, การยั้งคิดไตร่ตรอง, การยืดหยุ่นความคิด) กลุ่มทักษะกำกับตนเอง (การจดจ่อใส่ใจ, การควบคุมอารมณ์, การติดตามประเมินตนเอง) และกลุ่มทักษะการปฏิบัติ
(การริเริ่มและลงมือทำ, การวางแผนจัดระบบดำเนินการ, การมุ่งเป้าหมาย) ผ่านการจัดประสบการณ์
การเรียนรู้ในท้องถิ่น ด้วยระบบ 3 On ซึ่งสอดคล้องกับสาระที่ควรเรียนรู้และประสบการณ์สำคัญ รวมทั้งพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 รวมทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ในการนำหลักสูตรบูรณาการการศึกษาปลอดภัยและมีคุณภาพ สาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้กับนักเรียนระดับปฐมวัยได้อย่างมีคุณภาพ
7.2 ผลที่เกิดกับผู้เรียน
7.2.1 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในท้องถิ่น ช่วยส่งเสริมทักษะสมองEF ของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี
7.2.2 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในท้องถิ่น ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัย
7.2.3 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในท้องถิ่นด้วยระบบ 3 On ก่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งโรงเรียน แหล่งเรียนรู้ในและนอกห้องเรียน รวมถึงผู้ปกครอง สอดคล้องกับนโยบายของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ในการนำหลักสูตรบูรณาการการศึกษาปลอดภัยและมีคุณภาพ สาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น
8. ปัจจัยความสำเร็จ
8.1 ปัจจัยด้านบุคลากร
8.1.1เด็กให้ความสนใจและ ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะสมอง
EF เป็นอย่างดี ด้วยระบบ 3 On เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง (Learning by Doing) สอดคล้องกับพัฒนาการตามวัย
8.1.2 ผู้ปกครองให้ความสำคัญ ให้การสนับสนุนและให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในท้องถิ่น ด้วยระบบ 3 On อย่างดียิ่ง
8.1.3 คุณครูให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมที่หลากหลายด้วยระบบ 3 On
8.1.4 ผู้บริหารและเพื่อนครูให้การส่งเสริม สนับสนุนและเป็นขวัญกำลังใจในการ
ทำงานซึ่งกันและกันอยู่เสมอ มีการนิเทศ กำกับ ติดตามอย่างต่อเนื่อง
8.2 ปัจจัยด้านสื่อ เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้
มีการจัดทำและผลิตสื่อในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในท้องถิ่นที่หลากหลาย ทั้ง
สื่อของจริง การนำเสนอผ่านเว็บไซต์Youtube การติดต่อประสานงานกับผู้ปกครองและเด็กทางLine การใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน การจัดทำใบงานต่างๆ เพื่อใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กด้วยระบบ 3 On
9. การเผยแพร่ผลงาน
9.1 การเผยแพร่
9.1.1 เผยแพร่ผลงานเข้าสู่เว็บไซต์ www.kruwandee.com
9.1.2 เผยแพร่ผลงานให้กับเพื่อนครูในโรงเรียน
9.1.3 เผยแพร่ผลงานผ่านเว็บไซต์ www.youtube.com
9.2 การได้รับการยอมรับ รางวัลที่ได้รับ(ปีการศึกษา 2562-2564)
9.2.1 ได้ตราพระราชทาน “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” ตาม
พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี รุ่นที่ 1 รอบที่ 3
ปีการศึกษา 256๒-2566
9.2.2 ครูผู้สอนนักเรียน ได้รับรางวัลเหรียญเงินกิจกรรมแข่งขันการปั้นดินน้ำมัน
ระดับปฐมวัย งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับเขตพื้นที่การ ครั้งที่ 69 ปีการศึกษา 2562
9.2.3 ครูผู้สอนนักเรียน ได้รับรางวัลเหรียญทอง กิจกรรมแข่งขันการสร้างภาพด้วย
การฉีก ตัด ปะ กระดาษ ระดับปฐมวัย งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับเขตพื้นที่การ ครั้งที่ 69
ปีการศึกษา 2562
9.2.4 ได้รับรางวัลครูดีศรีพรานกระต่าย จากชมรมครูอำเภอพรานกระต่าย
เนื่องในวันครู ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓
9.2.5 ได้รับเกียรติเป็นวิทยากร บรรยายให้ความรู้และประสบการณ์แก่นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปีการศึกษา 2564
บรรณานุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560) หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา
สุภาวดี หาญเมธี ธิดา พิทักษ์สินสุข ภาวนา อร่ามฤทธิ์. (2561) คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive
Functions สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร