LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “สานสายใยรัก” โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน    นางจารึก ตรีวัย
ปีการศึกษา    2563

บทสรุป

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “สานสายใยรัก” โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการดำเนินงาน และประเมินผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยประเมินจากแบบสอบถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้น

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 338 คน กลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 113 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 338 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ลักษณะ รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.96 - 0.97 และแบบบันทึกผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ตามสภาพจริง จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “สานสายใยรัก” โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.53 , S.D.= 0.55 และ x-bar = 4.28 , S.D.= 0.68 ) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “สานสายใยรัก” โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.42, S.D.= 0.64 และ x-bar =4.42, S.D.= 0.64) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “สานสายใยรัก” โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและ ผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.34, S.D.= 0.56 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
     4.1    สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับระดับคุณภาพระบบดูแลช่วยเหลือ โดยใช้กลยุทธ์ “สานสายใยรัก” โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.47, S.D.= 0.51) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด     
     4.2     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียนในโครงการการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “สานสายใยรัก” โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก(x-bar = 4.47 , S.D.= 0.50) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็น
     4.3     ผลจากข้อมูลด้านผลผลิตโครงการเกี่ยวกับผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนตามแบบบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง พบว่า ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จำนวน 395 คน คิดเป็นร้อยละ 14.52 ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จำนวน 221 คน คิดเป็นร้อยละ 8.05 แสดงให้เห็นว่า จำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมนักเรียนที่ไม่พึงประสงค์ ลดลงจำนวน 174 คน คิดเป็น ร้อยละ 6.49 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
     4.4     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียนต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “สานสายใยรัก” โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar =4.54 , S.D.=0.52) ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
ข้อเสนอแนะ
1.     ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
    1.1     สายใยรักจากฝ่ายบริหาร โรงเรียนหรือฝ่ายบริหารต้องกำหนดนโยบาย และเป้าหมายการพัฒนาเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือให้ชัดเจน ภายใต้การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง สร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้อง และเปิดโอกาสทุกฝ่ายร่วมกันกำหนดกลยุทธ์ กิจกรรมหลักและกิจกรรมย่อยต่าง ๆ ร่วมกันนิเทศ ติดตาม และการสะท้อนผลกลับเพื่อปรับปรุง/พัฒนา
    1.2     สายใยรักจากครู โรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาตนเองทั้งความรู้และบุคลิกภาพเพื่อเป็นแบบอย่างแก่นักเรียน สร้างความตระหนักให้ครูทุ่มเทดูแลนักเรียน ส่งเสริมให้ครูมีการบูรณาการการสอนในรายวิชาพร้อมๆกับพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ไว้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
    1.3    สายใยรักจากผู้ปกครอง โรงเรียนต้องเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนต้องส่งเสริมให้ผู้ปกครองเข้าร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ เกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงลูกให้มีพฤติกรรมที่ดีที่พึงประสงค์
    1.4     สายใยรักจากเพื่อน โรงเรียนควรส่งเสริมการจัดกิจกรรมต่างๆที่เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมแสดงศักยภาพ เพื่อพัฒนาตนเอง เพื่อน พี่ และน้องๆ ในรูปแบบต่างๆ เช่น กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ค่ายเยาวชนคนดี กิจกรรมสภานักเรียนอย่างต่อเนื่อง
    1.5    หลังการดำเนินโครงการ ควรมีการตรวจสอบพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อดูแนวความคงทน และยั่งยืนของพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของนักเรียน
2. ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการ หรือการวิจัยครั้งต่อไป
    2.1     ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
    2.2     ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพของครอบครัวและสิ่งแวดล้อมที่นักเรียนอาศัยของนักเรียนกับพฤติกรรมอันพึงประสงค์
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^