รายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม
เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนจะโหนงพิทยาคม
ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน นางอาสีซ๊ะ มาลินี
ปีการศึกษา 2562 - 2563
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการดำเนินงาน และประเมินผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยประเมินจากแบบสอบถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้น
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย นักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 199 คน ครู ปีการศึกษา 2563 จำนวน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 199 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 9 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 132 คน กลุ่มตัวอย่างครู ปีการศึกษา 2563 จำนวน 15 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 132 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.93 - 0.96 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน และด้านความเป็นไปได้ของโครงการ โดยภาพรวม ทั้งสอง กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x-bar = 4.63 , S.D. = .25) อยู่ในระดับ มากที่สุด ได้คะแนนรวม 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา ได้แก่กลุ่ม ครู (µ = 4.52 , σ = .21) อยู่ในระดับ มากที่สุด เช่นกัน ได้คะแนน 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการดำเนินโครงการ โดยประเมิน 5 ด้าน คือ ความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์และอาคารสถานที่ ความเหมาะสมของการบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก (µ = 4.49, σ = .39) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยประเมิน 4 ด้าน คือ การวางแผน (P) การดำเนินการจัดกิจกรรม (D) การติดตามและประเมินผล (C) และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา (A) โดยภาพรวม ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ประเมิน และเมินพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ = 4.67, σ = .47)อยู่ในระดับ มากที่สุด ได้คะแนนรวม 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา ได้แก่ นักเรียน (x-bar = 4.58, S.D. = .50) อยู่ในระดับ มากที่สุด เช่นกัน ได้คะแนนรวม 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วน ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x-bar = 4.48, S.D. = .50) อยู่ในระดับ มาก ได้คะแนนรวม 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณภาพการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยภาพรวม ทั้งสามกลุ่ม ที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับ มากที่สุด (x-bar = 4.66, S.D. = .48) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ ครู มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด (µ = 4.65, σ = .49) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับ มากที่สุด เช่นกัน (x-bar = 4.62, S.D. = .49) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณภาพของบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยภาพรวม ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับ มากที่สุด (x-bar = 4.77, S.D. = .42) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ ครู อยู่ในระดับ มากที่สุด (µ = 4.65 , σ = .50)ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และ นักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับ มากที่สุด (x-bar = 4.60, S.D. = .50) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียน จะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของ ครูและผู้ปกครอง โดยภาพรวม ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ระดับ มากที่สุด (x-bar = 4.76, S.D. = .43) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ ครู มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด (µ = 4.57, σ = .50) คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม ทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับ มากที่สุด (x-bar = 4.81, S.D. = .39) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ ผู้ปกครอง อยู่ในระดับ มากที่สุด (x-bar = 4.80, S.D. = .40) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.80, σ = .40) เช่นกัน
สรุปผลการประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนารายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. โรงเรียนอื่น ๆ ที่มีขนาดและบริบทหรือสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับโรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ควรนำรูปแบบ วิธีการและกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู เพราะจะทำให้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเกิดการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น
3. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานอื่น ๆ ได้รับทราบเพื่อให้การสนับสนุน และเผยแพร่ อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินโครงการหรือวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการระดับองค์รวมการจัดการศึกษาของโรงเรียน โดยรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model)
2. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับงานหรือกลุ่มงานย่อยของโรงเรียนทุกโครงการ โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นที่เหมาะสม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อมูล และสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
3. ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนกับผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
4. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน