วิจัย พัฒนาทักษะด้านฐานสมรรถนะ
ชื่อผู้วิจัย : นภัทร เพ็ชรศรีกุล
ผลการวิจัยปรากฏว่า
1. 1. โปรแกรมบทเรียนของบริษัทตรีเพชร มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 88.72/87.32 หมายความว่า โปรแกรมบทเรียน ทำให้นักเรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้เฉลี่ย 88.72 และสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนของโปรแกรมบทเรียน เฉลี่ยร้อยละ 87.32 แสดงว่าโปรแกรมบทเรียน ที่ผู้วิจัยศึกษา มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ (เผชิญ กิจระการ. 2554 : 159-161)
2. นักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนของบริษัทตรีเพชร มีค่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ เนื่องจากโปรแกรมบทเรียน เป็นสื่อที่มีสีสัน มีเสียงดนตรีประกอบบทเรียน มีรูปภาพประกอบบทเรียนทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว มีการนำเสนอเนื้อหาใช้รูปแบบตัวอักษรที่น่าสนใจ เหมาะสมกับวัยของนักเรียน นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่เรียนโดยการโต้ตอบ การฝึกปฏิบัติจริงและเกิดการเรียนรู้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และทบทวนบทเรียนได้ตามต้องการเป็นสื่อที่สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. นักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน ของบริษัทตรีเพชร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าการเรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาแล้วพบว่านักเรียนที่ด้วยโปรแกรมบทเรียน สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถทบทวนบทเรียนได้ตามต้องการ พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีความคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากโปรแกรมบทเรียน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ศรีสมพร จันทะเลิศ (2549 : 141)
4. นักเรียนกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องมาจากโปรแกรมบทเรียนที่ผู้วิจัยนำมาศึกษา ได้ออกแบบให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ตามศักยภาพตนเอง นักเรียนมีอิสระในการเรียน ทำให้นักเรียนสามารถคิด ทำความเข้าใจกับบทเรียน และสามารถทบทวนเนื้อหาตามความต้องการ