LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

บทคัดย่อ พัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ ป.6

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในตำบลป่างิ้ว
ผู้วิจัย         นางบุญสิริ จุติ
สถานศึกษา    โรงเรียนบ้านป่างิ้ว(ราษฎร์บำรุง)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีที่เผยแพร่     2564

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย (1) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อประเมินผลรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ 5 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในตำบลป่างิ้ว(โรงเรียนบ้านทุ่งพล้อ โรงเรียนบ้านดอยไก่เขี่ย โรงเรียนบ้านแม่ราก และโรงเรียบ้านป่างิ้ว(ราษฎร์บำรุง)) อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 34 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แผนการจัดกาเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี(Mixed-method Methodology) 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สร้างและพัฒนารูปแบบการสอนโดยการสังเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนที่ 2 ประเมินรูปแบบการสอน โดยผู้เชี่ยวชาญและทดลองใช้ในสถานการณ์จริง หาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และ t-test แบบ dependent
    ผลการวิจัย พบว่า
    1. ผลของการสร้างและหาคุณภาพของระบบการเรียนการสอนแบบชุมชนเป็นฐาน ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในตำบล ป่างิ้ว
1.1 ระบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยใช้ชื่อว่าที่ เรียกว่า “ APSSA Model” มี 7 องค์ประกอบคือ 1) หลักการของรูปแบบการสอน 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนการสอน มี 5 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Attractive step : A) ขั้นที่ 2 ขั้นฝึกปฏิบัติภาคสนาม (Practice step : P) ขั้นที่ 3 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing step : S)
ขั้นที่ 4 ขั้นสรุป (Summarizing step : S) ขั้นที่ 5 ขั้นนำความรู้ไปใช้ (Application of knowledge step : A) 4) การตอบสนอง 5) ระบบการสนับสนุน 6) การวัดและประเมินผล และ 7) การนำรูปแบบการสอนไปใช้
     1.2 ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นต่อระบบการเรียนการสอนแบบชุมชนเป็นฐาน ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในตำบลป่างิ้ว ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก สามารถนำไปประยุต์ใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาต่อไปได้
    2. ผลการใช้ระบบการเรียนการสอนแบบชุมชนเป็นฐาน ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในตำบลป่างิ้ว พบว่า
     2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของผู้เรียนที่เรียนโดย ใช้รูปแบบการสอนแบบชุมชนเป็นฐาน ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในตำบลป่างิ้ว หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
     2.2 ผู้เรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบชุมชนเป็นฐาน ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในตำบลป่างิ้ว มีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับมาก
    

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^