การหาประสิทธิภาพการเรียนการสอน ในรายวิชางานส่งกำลังรถยนต์
ชื่อผู้วิจัย : นภัทร เพ็ชรศรีกุล
ผลการวิจัยพบว่า
วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเรื่องการสร้าง ชุดฝึกงานส่งกำลังรถยนต์ รหัสวิชา 20101 – 2004 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทดลองใช้กับนักเรียน ชั้นปีที่ 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 สาขาวิชาเครื่องกล วิทยาลัยเทคนิคน้ำพองที่ลงทะเบียนเรียนวิชา งานส่งกำลังรถยนต์ รหัส 20101 – 2004 โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling) จำนวน 21 คน สามารถอภิปรายผลการวิจัยได้ดังนี้
1.เอกสารประกอบการสอนมีประสิทธิภาพเหมาะสมสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพให้แก่ผู้เรียน จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งฉบับมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.9693 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าแต่ละข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 เป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญทุกข้อ สำหรับค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไปนั้นผู้วิจัยได้ยึดถือตามกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการหาคุณภาพของเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ เช่น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หรือแบบสอบถามซึ่งจะต้องให้ได้ข้อมูลตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการทราบ ครอบคลุมเนื้อหา สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และไม่ยากหรือง่ายจนเกินไปซึ่งอาจตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญหรือการวิเคราะห์ (กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ 2545)
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งฉบับมีค่าดัชนีค่าความยากง่าย (P) เท่ากับ 0.62 ค่าอำนาจจำแนก (r) เท่ากับ 0.40 และค่าดัชนีความเชื่อมั่น (rtt) เท่ากับ 0.9919 จึงเป็นที่ยอมรับได้การยอมรับนี้เป็นการสอดคล้องกับ ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ (2543) ที่กล่าวว่าข้อสอบอิงเกณฑ์แต่ละข้อก่อนที่นักเรียนจะได้รับการสอนต้องมีความยากง่ายน้อยกว่า 0.40 และเมื่อนักเรียนได้รับการสอนแล้วข้อสอบแต่ละข้อ
จะต้องมีค่าความยากมากกว่า 0.75 เนื่องจากการวิเคราะห์ข้อสอบอิงเกณฑ์ไม่ได้เน้นที่จะนำค่าความยากง่าย เพื่อมาเลือกข้อสอบแต่เน้นที่คุณภาพในการสอนของครู กล่าวคือถ้าครูยังไม่ได้สอนเนื้อหานั้น ข้อสอบควรจะยากแต่ถ้าครูทำการสอนเนื้อหานั้นแล้วและครูสอนดีนักเรียนควรจะเรียนรู้ในเนื้อหานั้นก็ควรจะทำข้อสอบนั้นได้ซึ่งข้อสอบควรง่ายคือมีค่าความยากง่ายมากกว่า 0.75 (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2543:196) ดัชนีค่าอำนาจจำแนก (r) เท่ากับ 0.34 มากกว่า 0.20 ขึ้นไป จึงเป็นที่ยอมรับได้การยอมรับได้นี้เป็นการสอดคล้องกับ ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ(2543) ดัชนีความเชื่อมั่น (rtt) เท่ากับ 0.83 จะเห็นได้ว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่เชื่อถือได้ คือ 0.70 จึงถือว่าแบบทดสอบนั้นมีผลการวัดที่มีความคงที่แน่นอนเชื่อถือได้ (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ 2543)
3. ผลการหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอน วิชางานส่งกำลังรถยนต์ รหัสวิชา 20101-2004 เมื่อทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพ (E1) ร้อยละ 82.79 การทดลองใช้เอกสารประกอบการสอน วิชางานเครื่องมือกลเบื้องต้นรหัสวิชา 2100-1007 เพื่อหาประสิทธิภาพผลลัพธ์ เมื่อทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพ (E2) ร้อยละ 82.81
สรุปการหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอนวิชางาส่งกำลังรภยนต์ รหัสวิชา 20101 - 2004 มีประสิทธิภาพ E1และE2 ร้อยละ 82.79/82.81 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
4. ผลการหาคุณภาพของเอกสารประกอบการสอน วัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอนวิชางาส่งกำลังรภยนต์ รหัสวิชา 20101 - 2004 จำนวน 891 คะแนนพบว่าการทดสอบคะแนนของผู้เรียนมี คะแนนก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ = 178.20 คะแนนและมีคะแนนหลังเรียน เฉลี่ยเท่ากับ = 478.274 คะแนน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยของผลต่าง = 300.074 ก่อนเรียนมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)เฉลี่ยเท่ากับ = 50.405 และหลังเรียนมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) เฉลี่ยเท่ากับ = 13.255 ซึ่งมีผลต่างค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)เฉลี่ยเท่ากับ = 56.634และเมื่อนำไปเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ t-test เท่ากับ 11.848* และมีค่า sig เท่ากับ 0.000 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนสอบทั้งสองครั้งพบว่าคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้เอกสารประกอบการสอนวิชางานวิชางานเครื่องมือกลเบื้องต้นรหัสวิชา 2100-1007 ที่ทดสอบก่อนเรียนและหลังการเรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าสูงขึ้นเท่ากับ 51.74
เป็นที่ยอมรับได้นั้นผู้วิจัยได้ยึดถือตามกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการหาคุณภาพของเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ เช่น แบบสอบถามซึ่งจะต้องให้ได้ข้อมูลตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการทราบครอบคลุมเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และไม่ยากหรือง่ายจนเกินไปซึ่งอาจตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญหรือการวิเคราะห์กรณีที่การให้คะแนนของผู้เชี่ยวชาญเป็น 5 , 4 , 3 , 2 , 1 (กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ 2545)
5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้ชุดฝึกงานส่งกำลังรถยนต์ รหัสวิชา 20101 – 2004 ที่ทดสอบก่อนเรียนและหลังการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 ทุกแผนการจัดการเรียนรู้ (หน่วย) ซึ่งแสดงว่าเอกสารประกอบการสอน ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นทุกแผนการจัดการเรียนรู้ (หน่วย) และสามารถนำชุดฝึกงานส่งกำลังรถยนต์ รหัสวิชา 20101 – 2004 ไปใช้ในการเรียนได้
6. ผลการหาความพึงพอใจสามารถสรุปได้ว่าความพึงพอใจทุกด้าน ของผู้ใช้เอกสารประกอบการสอนวิชา งานเครื่องมือกลเบื้องต้นรหัสวิชา 2100-1007 ทั้งฉบับมีค่าเฉลี่ย( ) = 4.48 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.24 สัมประสิทธิ์กระจายอำนาจ (%(C.V.) = 5.36 ความพึงพอใจแปลผลอยู่ในระดับมาก ค่าอำนาจจำแนกแบบ Item Total Correlation และค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟา = - 0.8447