LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

การประเมินโครงการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

usericon

ชื่อเรื่อง     การประเมินโครงการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนา
ทักษะชีวิตของโรงเรียนกอรวกพิทยาสรรค์ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
ชื่อผู้ประเมิน     ว่าที่ ร.ต.นิกร ตันชุ่ม
ปีการศึกษา     2564

        การประเมินโครงการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของโรงเรียน กอรวกพิทยาสรรค์ ผู้ประเมินได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการไว้ดังนี้
        1. เพื่อประเมินผลการพัฒนาโครงการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของโรงเรียนกอรวกพิทยาสรรค์ใน 5 ด้าน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
     1.1 การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) เป็นการประเมินที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมซึ่งจะทำให้ทราบว่ามีปัญหาอะไรบ้างที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองหรือแก้ไขชุมชน โรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องมีความต้องการอะไรบ้างที่ยังไม่ได้นำมาใช้ในการดำเนินการ
        1.2 การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เป็นการประเมินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้ข้อมูลมาช่วยตัดสินใจว่าจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายและจะขอความช่วยเหลือจากแหล่งใดหรือไม่ อย่างไร ประเด็นการประเมินครอบคลุมเกี่ยวกับงบประมาณ อาคาร สถานที่ สื่อ วัสดุอุปกรณ์และบุคลากร
        1.3 การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นการประเมินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสืบค้น
จุดเด่น จุดอ่อนหรือจุดที่ควรพัฒนาของรูปแบบการดำเนินงานตามที่คาดหวังเอาไว้เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเพื่อเลือกวิธีการต่อไปจึงต้องอาศัยวิธีการหลาย ๆ ด้าน ทั้งวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประเด็นการประเมินครอบคลุมเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การนิเทศ กำกับติดตาม การวัดและประเมินผล
         1.4 การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรมและเจตคติ รวมทั้งความสามารถในการนำไปปฏิบัติจริง ได้หรือไม่ อย่างไร ประเด็นการประเมินครอบคลุมเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน การแสดงออกทางพฤติกรรม
            1.5 การประเมินด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) มีจุดมุ่งหมายเพื่อพิจารณาผลที่เกิดขึ้น นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้ อาจมีผลทั้งทางบวกและทางลบ ประเด็นการประเมินครอบคลุมเกี่ยวกับการเป็นที่ยอมรับ การมีชื่อเสียงของสถาบันและการนำไปประยุกต์ใช้
        2. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของโรงเรียนกอรวกพิทยาสรรค์
    ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอนจำนวน 19 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน 107 คน ผู้ปกครอง จำนวน 107 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน รวมประชากรทั้งสิ้น 243 คน
        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ตาราง เครจซี่และมอร์แกน (R.V. Krejcie and D.W.Morgan) ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถม ศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน 84 คน ผู้ปกครองจำนวน 84 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 168 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบประเมิน จำนวน 12 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 4 ฉบับ และแบบรายงาน การจัดกิจกรรมตามโครงการ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (µ, ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ, S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
        ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
        1. ด้านบริบทของโครงการ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและอยู่ในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์การประเมิน
        2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและอยู่ในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์การประเมิน
        3. ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและอยู่ในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์การประเมิน
        4. ด้านผลผลิตของโครงการพบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและอยู่ในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์การประเมิน
        5. ด้านผลกระทบของโครงการ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและอยู่ในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์การประเมิน
        6. ด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการพบว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในภาพรวมของโครงการอยู่ในระดับมากและอยู่ในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์การประเมิน

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^