การพัฒนาชุดกิจกรรมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำนิ่ง สำหรับนักเรี
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
ผู้วิจัย นางอาซีย๊ะ เจ๊ะอาแดร์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดกิจกรรมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำนิ่ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำนิ่ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำนิ่ง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำนิ่ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำนิ่ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2563 จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยการจับสลากรายชื่อห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำนิ่ง
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้
ชุดกิจกรรมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำนิ่ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำนิ่ง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำนิ่ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย
คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติค่าทีแบบไม่อิสระจากกัน
(t – test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำนิ่ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (80/80)
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำนิ่ง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำนิ่ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วย
ชุดกิจกรรมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำนิ่ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำนิ่ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดnnhf