รายงานการประเมินโครงการการแข่งขันกีฬาฟุตซอลต้านภัยยาเสพติด
PRADOONAI INVITATION ครั้งที่ 7 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม
ปีการศึกษา 2564
หน่วยงาน โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการการแข่งขันกีฬาฟุตซอลต้านภัยยาเสพติด ป.ป.ส. PRADOONAI
INVITATION ครั้งที่ 7 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม ปีการศึกษา 2564 เป็นการประเมินโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ของ Stufflebeam ประกอบด้วย 4 ด้าน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ก่อนดำเนินโครงการ ประเมินด้านบริบท (Context) และด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ระยะที่ 2 ระหว่างดำเนินโครงการ ประเมินด้านกระบวนการ (Process) และระยะที่ 3 หลังดำเนินโครงการ ประเมินด้านผลผลิต (Product) มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม ของโครงการการแข่งขันกีฬาฟุตซอลต้านภัยยาเสพติด ป.ป.ส. PRADOONAI INVITATION ครั้งที่ 7 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม ปีการศึกษา 2564
2) เพื่อประเมินปัจจัยนําเข้าของโครงการการแข่งขันกีฬาฟุตซอลต้านภัยยาเสพติด ป.ป.ส. PRADOONAI INVITATION ครั้งที่ 7 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม ปีการศึกษา 2564
3) เพื่อประเมินกระบวนการดําเนินงานตามโครงการการแข่งขันกีฬาฟุตซอลต้านภัยยาเสพติด ป.ป.ส. PRADOONAI INVITATION ครั้งที่ 7 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม ปีการศึกษา 2564 และ
4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการการแข่งขันกีฬาฟุตซอลต้านภัยยาเสพติด ป.ป.ส. PRADOONAI INVITATION ครั้งที่ 7 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม ปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย
4.1) ผลสัมฤทธิ์ของโครงการการแข่งขันกีฬาฟุตซอลต้านภัยยาเสพติด ป.ป.ส. PRADOONAI INVITATION ครั้งที่ 7 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม ปีการศึกษา 2564 และ 4.2) ความพึงพอใจ
ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการดําเนินโครงการการแข่งขันกีฬาฟุตซอลต้านภัยยาเสพติด ป.ป.ส. PRADOONAI INVITATION ครั้งที่ 7 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม ปีการศึกษา 2564
กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 720 คน ได้แก่ 1) นักเรียน จำนวน 310 คน ใช้การสุ่มอย่างง่าย 2) ครู จำนวน 28 คน ใช้การสุ่มอย่างง่าย 3) ครูผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตซอล จำนวน 59 คนใช้การสุ่มอย่างง่าย
4) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 310 คน ใช้การสุ่มอย่างง่าย และ 5) คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน จำนวน13 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามจำนวน 5 ฉบับ ได้แก่
1) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อบริบทสภาพแวดล้อมของโครงการฯ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยนำเข้าของโครงการฯ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อกระบวนการดำเนินงานตามโครงการฯ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อผลผลิตของโครงการฯ เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ และ 5 ) แบบสอบถามความความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการฯ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ของโครงการฯ ตามความคิดเห็นของครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าโดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ด้านปัจจัยนำเข้า ของโครงการฯ ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวม
มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ด้านกระบวนการ ของโครงการฯ ตามความคิดเห็นของครู และครูผู้ฝึกสอนกีฬา พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ด้านผลผลิตของโครงการฯ ประเมินใน 2 ประเด็น ดังนี้
4.1) ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ครูผู้ฝึกสอนกีฬา และผู้ปกครอง พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีผลสัมฤทธิ์ของโครงการอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2) ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินโครงการฯ
ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และครูผู้ฝึกสอนกีฬา พบว่าโดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน
มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
คำสำคัญ: การประเมินโครงการ, การจัดการแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติด
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นจุดเด่นของการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของโครงการการแข่งขันกีฬาฟุตซอลต้านภัยยาเสพติด ป.ป.ส. PRADOONAI INVITATION ครั้งที่ 7 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม ปีการศึกษา 2564 พบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากและมากที่สุด สะท้อนให้เห็นว่าโครงการการแข่งขันกีฬาฟุตซอลต้านภัยยาเสพติด ป.ป.ส. PRADOONAI INVITATION ครั้งที่ 7 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม ปีการศึกษา 2564
ประสบความสำเร็จในการจัดได้อย่างดียิ่ง ดังนั้นโรงเรียนต่าง ๆ สามารถนำแนวทางการจัดการแข่งขันกีฬาไปประยุกต์ใช้ เป็นแนวทางในการส่งเสริมศักยภาพด้านการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนตามบริบทของโรงเรียนต่อไป
1.2 โรงเรียนควรจัดโครงการอย่างต่อเนื่องเพราะเป็นการพัฒนานักกีฬา ส่งเสริมนักเรียนให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และห่างไกลจากยาเสพติด
1.3 ควรขยายผลการดำเนินโครงการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
2. ข้อเสนอแนะในการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษารูปแบบการประเมินอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากรูปแบบการประเมินซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน
2.2 ควรมีการศึกษาวิจัยประเมินโครงการอื่น ๆ ของโรงเรียนทุกโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา