การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
(กริ่ง สง่า ศิษย์อุปถัมภ์) อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ผู้ประเมิน นายถนอมชัย เวียงสิมา
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านลำแดง อำเภอวังน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
พระนครศรีอยุธยา เขต 1
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนวัดราษฎร์บำเพ็ญ (กริ่ง สง่า ศิษย์อุปถัมภ์) อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยใช้รูปแบบการประเมินซีโป “CPO” (CPO’ Evaluation Model) ซึ่งพัฒนาโดย เยาวดี รางชัยกุล (วิบูลย์ศรี) ประกอบด้วยการประเมินด้านปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ (Process) และด้านผลผลิตของโครงการ (Outcome) กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารและครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนวัดราษฎร์บำเพ็ญ (กริ่ง สง่า ศิษย์อุปถัมภ์) ในปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น 154 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดตรวจสอบรายการ และแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมิน พบว่า
1. การประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนวัดราษฎร์บำเพ็ญ (กริ่ง สง่า ศิษย์อุปถัมภ์) อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลปรากฏว่า สภาพการดำเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านย่อย พบว่า
1.1 ความต้องการจำเป็นของโครงการ (Needs Assessment) โดยภาพรวม สภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารและครู และนักเรียน มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด
1.2 ความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility) โดยภาพรวม สภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารและครู และนักเรียน มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด
1.3 วัตถุประสงค์ของโครงการ (Objectives) โดยภาพรวม สภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารและครู และนักเรียน มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด
1.4 ความพร้อมและทรัพยากรของโครงการ (Readiness and Resources) โดยภาพรวม สภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารและครู และนักเรียน มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด
2. การประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ (Process Evaluation) ของการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนวัดราษฎร์บำเพ็ญ (กริ่ง สง่า ศิษย์อุปถัมภ์) อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลปรากฏว่า สภาพการดำเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านย่อย พบว่า
2.1 กิจกรรมการดำเนินงานของโครงการ (Activity) โดยภาพรวม สภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารและครู และนักเรียน มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ช่วงเวลาดำเนินงานโครงการ (Timing) โดยภาพรวม สภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารและครู และนักเรียน มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด
3. การประเมินความเหมาะสมด้านผลผลิตของโครงการ (Outcome Evaluation) ของการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนวัดราษฎร์บำเพ็ญ (กริ่ง สง่า ศิษย์อุปถัมภ์) อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อจำแนกความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารและครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ผลปรากฏว่า สภาพการดำเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด