LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

การพัฒนาคู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ (สันติ)

usericon

ชื่อผลงานวิจัย        การพัฒนาคู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้
                สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา
ชื่อผู้วิจัย            นายสันติ ทองแก้วเกิด
ตำแหน่ง         ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการ
ปีการศึกษา         2563 - 2564
            








บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุน การเรียนการสอนด้านคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา 2) เพื่อออกแบบและสร้างคู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา 3) เพื่อประเมินคุณภาพคู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา 4) เพื่อนิเทศติดตามผลการใช้คู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา ดำเนินการวิจัย เป็น 4 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 การศึกษาแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนด้านคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา โดยการวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน และครู จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 5 คน เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมต้านทุจริตในสถานศึกษา ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตอนที่ 2 การสร้างและออกแบบ คู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา โดยการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครู จำนวน 5 คน และนักวิชาการ จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 8 คน เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมและมีรายชื่อตามคำสั่งคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่ 790/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตอนที่ 3 การประเมินคุณภาพตรวจสอบด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของคู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา โดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และทดลองใช้คู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2563 ตอนที่ 4 การเก็บข้อมูลภาคสนามและประเมินผลนิเทศติดตามการใช้คู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ สถานศึกษาอาชีวศึกษา จำนวน 10 แห่ง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน แห่งละ 1 คน ครู จำนวนแห่งละ 4 คน และผู้ปกครอง จำนวนแห่งละ 2 คน รวมแห่งละ จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 70 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
        ผลการวิจัย พบว่า
            1. ผลการศึกษาสภาพและแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนด้านคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา สรุปได้ว่า ควรกำหนดหลักการส่งเสริมด้านคุณธรรมและจริยธรรมต้านทุจริตในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา ควรมีกระบวนการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ควรมีแนวปฏิบัติในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา ควรมีแผนการจัดการเรียนรู้และสื่อการสอนที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนในสถานศึกษา
            2. ผลการศึกษาออกแบบและพัฒนาคู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา สรุปได้ว่า คู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา โดยมีองค์ประกอบ 5 ส่วน ดังนี้.1) คำนำ 2) สารบัญ 3) ส่วนที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย (1) ความเป็นมาของหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (2) วัตถุประสงค์ และ(3) เป้าหมาย 4) ส่วนที่ 2 หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ประกอบด้วย (1) กระบวนการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (2) หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (3) เนื้อหาการเรียนรู้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (4) แนวทางนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ และ (5) แผนการจัดการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ป้องกันการทุจริต 5) ส่วนที่ 3 แนวทางทางการนำหลักสูตร ต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประกอบด้วย (1) เลือกรายวิชากิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม (2) บูรณาการรายวิชาหน้าที่พลเมืองและศีลธรรม รหัสวิชา 20000-1501 และรายวิชาชีวิตกับสังคมไทย รหัสวิชา 30000-1501 (3) บูรณาการในกลุ่มประเภทวิชาอื่น ๆ (4) บูรณาการกิจกรรมเสริมหลักสูตร (5) บูรณาการในวิถีชีวิตของสถานศึกษา และ(6) บูรณาการในข้อตกลงรายวิชา 6) ส่วนที่ 4 เครื่องมือกำกับ ติดตามการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา 7) ส่วนที่ 5 สื่อการเรียนรู้เสนอแนะ 8) บรรณานุกรม และ9) ภาคผนวก
            3. ผลการประเมินคุณภาพด้านความเหมาะสม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.61 (S.D.=0.26) และด้านความเป็นไปได้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.53 (S.D.= 0.23)
            4. นิเทศติดตามผลการใช้คู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประกอบด้วย ดังนี้
                4.1 ครูมีความคิดเห็นต่อการใช้คู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.55 (S.D.=0.38)
                4.2 ผู้บริหารและครูมีความพึงพอใจต่อกระบวนการนิเทศติดตามการใช้คู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.47 (S.D.=0.40)
                4.3 ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อกระบวนการนิเทศติดตามการใช้คู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.48 (S.D.=0.35)

คำสำคัญ การพัฒนาคู่มือ, หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา, นิเทศติตตามผล
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^