การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นป.3
จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
กำหนดการจัดการศึกษา ต้องยึดหลักสำคัญคือในการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด โดยมีหลักการที่ว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถที่จะเรียนรู้ และสามารถที่จะพัฒนาตนเองได้ ในกระบวนการจัดการศึกษาจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ ครูซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้สอนนั้นจะต้องเป็นผู้ออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีคุณภาพรู้จักเลือกกิจกรรมการเรียนรู้ เลือกวิธีจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบต่างๆ
ให้เหมาะสมกับเรื่องที่มีการเรียนรู้พร้อมกันนี้ผู้สอน จะต้องศึกษา จิตวิทยาการศึกษาเพื่อเป็นองค์ประกอบในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และจะต้องมีการปรับปรุง ติดตามผลเป็นระยะๆ เพื่อให้การพัฒนาการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
จากผลการทกสอบทางการศึกษาระดับชาติ ผลการสอบ NT กลุ่มสาระภาษาไทยในปีการศึกษา 256๒
และปีการศึกษา 256๓ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าในมาตรฐานที่ ความสามรถด้านภาษา ในเรื่องตอบคำถามจากเรื่องที่ฟัง ดู และอ่าน อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องปรับปรุง และจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผ่านมาผู้วิจัยพบว่าปัญหาในการเรียนการสอนที่พบมากในการกลุ่มสาระภาษาไทย คือนักเรียนอ่านจับใจความไม่ได้และไม่ส่งงานตามระยะเวลาที่ครูกำหนดทำให้เกิดปัญหาด้านการเรียนการสอน
จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยซึ่งอยู่ในฐานะครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จึงมีความสนใจที่จะแก้ปัญหาโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความในกลุ่มสาระภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และใช้เนื้อหาสาระในมาตรฐานที่ ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิด เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหา ในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่านของ ตัวชี้วัดที่ 3. ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ตัวชี้วัดที่ 4. ลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่านโดยระบุเหตุผลประกอบ และ 5. สรุปความรู้และข้อคิดจากเรื่องที่อ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
๒. จุดประสงค์การดำเนินงาน
เพื่อการพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนบ้านโนนโก
3. เป้าหมายการดำเนินงาน
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนโก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ร้อยละ ๗๐ มีความสามารถในการอ่านจับใจความ
4. ขอบเขตของการดำเนินงาน
4.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา
การพัฒนาเพลงและแบบฝึกทักษะการอ่าน แก้ปัญหาการเรียนในกลุ่มสาระภาษาไทย
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนโกสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 โดยใช้เนื้อหาของกลุ่มสาระภาษาไทย มาตรฐานที่ ท ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่านของ ตัวชี้วัดที่ 3. ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ตัวชี้วัดที่ 4. ลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่านโดยระบุเหตุผลประกอบ และ 5. สรุปความรู้และข้อคิดจากเรื่องที่อ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
4.2 ขอบเขตด้านกลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนโก ปีการศึกษา 256๔ จำนวน ๖ คน
5. กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.ศึกษาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับประถมศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อกำหนดขอบเขตเนื้อหาของบทเรียนและกำหนดพฤติกรรมที่ต้องการรวมถึงผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๒.เลือกเนื้อหาที่นำมาใช้สอนครั้งนี้ คือ ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่านโดยระบุเหตุผลประกอบและสรุปความรู้และข้อคิดจากเรื่องที่อ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อนำมาใช้ประเมินผลในการจัดกลุ่มและจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนากิจกรรมการสอนโดยใช้แบบฝึกจับใจความ
3.สร้างแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ
๔.จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
5.สร้างแบบประเมินโดยจัดสร้างขึ้นเพื่อประเมินทักษะการอ่านจับใจความ
6. ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้
๗.สรุปผลการดำเนินงาน
6. ผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
จากการดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานผลปรากฏว่านักเรียนว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
โรงเรียนบ้านโนนโก ที่ได้รับการพัฒนาอ่านอ่านจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะร้อยละ 83.33 มีทักษะในการ อ่านจับใจความได้อย่างดีเยี่ยมและนักเรียนว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านโนนโก ร้อยละ 16.66 มีทักษะในการ อ่านจับใจความอยู่ในระดับพอใช้ ซึ่งเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
7. ปัจจัยความสำเร็จ
ผลสำเร็จที่เกิดเนื่องจากนักเรียนได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและได้ลงมือปฏิบัติจริงจึงทำให้นักเรียนเกิดทักษะการอ่านจับใจความ การตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่านโดยระบุเหตุผลประกอบและสรุปความรู้และข้อคิดจากเรื่องที่อ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างยั่งยืน