รายงานการประเมินผลโครงการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
บ้านแก่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2
ผู้รายงาน นายวรทัศน์ เพชรไชย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแก่ง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมโครงการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแก่ง 2) เพื่อประเมินปัจจัยพื้นฐานโครงการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแก่ง 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานโครงการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแก่ง และ4) เพื่อประเมินผลผลิตโครงการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแก่ง
การประเมินผลโครงการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแก่งสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ในครั้งนี้ ดำเนินการประเมินผลโครงการทั้งระบบโดยอาศัยรูปแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ซึ่งจะประเมินโครงการ 4 ด้าน ได้แก่ 1) การประเมินสภาพแวดล้อม 2) การประเมินปัจจัยพื้นฐาน 3) การประเมินกระบวนการดำเนินงาน และ 4) การประเมินผลผลิต
กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 278 คน ได้แก่ ครูผู้รับผิดชอบโครงการและคณะครูโรงเรียนบ้านแก่งจำนวน 15 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ที่ไม่ใช่ผู้แทนครูหรือผู้บริหารสถานศึกษา) จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 128 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 128 คน โดยใช้กลุ่มประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่ใช้ในการประเมินผลโครงการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแก่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 มีจำนวน 2 ชุด ประกอบด้วย
ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามสำหรับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นฐาน (ตอบเฉพาะตอนที่ 1 -2) ครูผู้รับผิดชอบโครงการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแก่งและคณะครูโรงเรียนบ้านแก่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 (ตอบตอนที่ 1 -5) ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 5 ตอน ตอนที่ 1 จำนวน 15 ข้อ ตอนที่ 2 จำนวน 15 ข้อ ตอนที่ 3 จำนวน 20 ข้อ ตอนที่ 4 จำนวน 23 ข้อ และตอนที่ 5 จำนวน 10 ข้อ
ชุดที่ 2 แบบสอบถามสำหรับผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียนของโรงเรียนบ้านแก่ง ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 2 ตอน ตอนที่ 1 จำนวน 10 ข้อ ตอนที่ 2 จำนวน 10 ข้อ โดยผู้ปกครองนักเรียน (ตอบแบบสอบถามทั้ง 2 ตอน) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ตอบแบบสอบถามทั้ง 2 ตอน) และนักเรียน (ตอบแบบสอบถามตอนที่ 2)
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. สภาพแวดล้อมของโครงการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแก่ง มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และแนวทางการดำเนินงานของโครงการ ทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ปัจจัยพื้นฐานของโครงการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแก่งในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ และด้านวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
3. กระบวนการดำเนินงานของโครงการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแก่ง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงาน อยู่ในระดับปานกลางด้านการดำเนินงานตามแผน และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน มีความเห็นว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานตามโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4. ผลผลิตของโครงการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแก่ง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมปลูกผักสวนครัว รองลงมา คือ กิจกรรมการเพาะเห็ด กิจกรรมเลี้ยงปลา กิจการการปลูกมะนาวในวงบ่อ และกิจกรรมทำสารสกัดชีวภาพ ตามลำดับ
ส่วนครูผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะครูโรงเรียนบ้านแก่ง มีความคิดเห็นต่อโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับดี และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ที่ไม่ใช่ผู้แทนครูหรือผู้บริหารสถานศึกษา) ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแก่งสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 อยู่ในระดับมาก