LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

ผลของการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน

usericon

ชื่อเรื่องงานวิจัย    ผลของการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และ
ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3    
ชื่อผู้วิจัย     นางสาวพงษ์ลดา สินสุวรรณ์
ปีการศึกษา    2564
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการเลือกนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากจำนวน ห้องเรียนที่ผู้วิจัยรับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่สอนทั้งหมด 7 ห้องเรียน โดยแบ่งเป็นสองกลุ่มการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน จำนวน 5 ห้องเรียน และ คณิตศาสตร์เพิ่มเติม จำนวน 2 ห้องเรียน ซึ่งทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับงานวิจัยนี้จำนวน 2 ห้องเรียน โดยเป็นกลุ่มนักเรียนที่เรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน จำนวน 1 ห้องเรียน และคณิตศาสตร์เพิ่มเติม จำนวน 1 ห้องเรียน รวมคิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 86 คน และเป็นกลุ่มนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ในรายวิชาคณิตศาสตร์น้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบจากกลุ่มนักเรียนที่เรียนในรายวิชาเดียวกัน
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบค่าคะแนนจากการทำแบบทดสอบในเรื่องนี้ โดยเปรียบเทียบค่าคะแนนที่ได้จากระยะก่อน และหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และนำข้อมูลคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบทั้งในระยะก่อน และหลังเรียน มาวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบค่าคะแนน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่า T-Test ด้วยวิธี Paired-Sample T-Test ผลการวิจัยพบว่า
        1.    ในระยะก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ มีจำนวนนักเรียนที่ได้คะแนนจากการทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 คิดเป็นร้อยละ 45.35 จากนักเรียนทั้งหมด โดยส่วนใหญ่ได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบต่ำกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม โดยได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 43.90
        2.    ในระยะหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ มีจำนวนนักเรียนที่ได้คะแนนจากการทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 คิดเป็นร้อยละ 96.51 จากนักเรียนทั้งหมด และมีระดับผลคะแนนเพิ่มขึ้นจากการทำแบบทดสอบโดยมีผลคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 70.64 และคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบในช่วงก่อน และหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์นั้น มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^