การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวิทยาการคำนวณ 3 โดย CIPPA Model
ผู้ทำการวิจัย นางสาวสมจินต์ มุสิกรังศรี
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความรู้ เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ว23104 วิทยาการคำนวณ 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนแบบ CIPPA Model เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 35 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ CIPPA เรื่อง การพัฒนาแอปพลิเคชั่น 2) ใบงาน เรื่อง การพัฒนาแอปพลิเคชั่น 3) แบบทดสอบ เรื่อง การพัฒนาแอปพลิเคชั่น
ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ว23104 วิทยาการคำนวณ 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนแบบ CIPPA Model นักเรียนจำนวน 35 คน มีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70
อภิปรายผล
ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ว23104 วิทยาการคำนวณ 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนแบบ CIPPA Model สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ทั้งนี้ เนื่องจากการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA เป็นรูปแบบของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง ปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เรียนรู้จากกันแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิด และประสบการณ์แก่กันและกัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด ทิศนา แขมมณี (2552 : 15) ที่กล่าวว่า การเรียนการสอน แบบ CIPPA เป็นรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รูปแบบหนึ่งที่ได้รับความ สนใจและมีนักการศึกษาให้คำจำกัดความ ของการจัดการเรียนการสอนแบบ CIPPA ซึ่งมีความหมายตาม ตัวอักษร คือ
C หมายถึง Construct คือ การให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยกระบวนการแสวงหา ข้อมูล ทำความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ ตีความ แปลความ สร้างความหมาย สังเคราะห์ข้อมูลและสรุปข้อความ
I หมายถึง Interaction คือ การให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เรียนรู้จากกันแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิด และ ประสบการณ์แก่กันและกัน
P หมายถึง Participation คือ การให้ผู้เรียนมีบทบาท มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มากที่สุด
P หมายถึง Process หรือ Product คือ การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการควบคู่ไปกับผลงาน ข้อความที่สรุปได้
A หมายถึง Application คือ การให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ใน ชีวิตประจำวัน