รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาวะของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมส
ผู้รายงาน นางสุไรหย้า หลีสันมะหมัด รองผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2563
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาวะของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์
HEALTHY โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 – 2563 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการของโครงการและประเมินผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam. 1983 : 169 - 179) มาใช้ในการประเมินครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 354 คน กลุ่มตัวอย่างครู ปีการศึกษา 2562 จำนวน 136 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 132 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 354 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562 และ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็น มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale ) 5 ระดับ และมีข้อคำถามปลายเปิด จำนวน 8 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจคุณภาพของเครื่องมือได้ความเชื่อมั่นระหว่าง .92 - .97 สถิติที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับสุขภาวะของนักเรียนและสมรรถภาพทางกายของนักเรียน
ผลการประเมินพบว่า
ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการส่งเสริมสุขภาวะของนักเรียน โดยใช้
กิจกรรมสร้างสรรค์ HEALTHY โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 - 2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู โดยภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและมากที่สุด ( = 4.05, S.D. = .19 และ = 4.70, S.D. = .20 ) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมสุขภาวะของนักเรียน โดยใช้
กิจกรรมสร้างสรรค์ HEALTHY โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 - 2563 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและมากที่สุด ( = 4.07, S.D. = .19 และ = 4.74, S.D. = .15) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการส่งเสริมสุขภาวะของนักเรียน โดยใช้
กิจกรรมสร้างสรรค์ HEALTHY โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 - 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและมากที่สุด ( = 4.09, S.D. = .18 และ = 4.47, S.D. = .11) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดตามประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ
ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพการส่งเสริมสุขภาวะของ
นักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ HEALTHY โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 – 2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมพบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมากและมากที่สุด ( = 4.13, S.D. = .14 และ = 4.47, S.D. = .20 ) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดตามประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพของนักเรียน ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง ภาวะ โภชนาการ ภาวะทางทันตกรรม สถิติการเจ็บป่วย และอุบัติเหตุของนักเรียน โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย หลังดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาวะของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ HEALTHY โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 – 2563 โดยภาพรวมพบว่า ภาวะสุขภาพของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 97.99 และ 98.55 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับสมรรถนะทางกายของนักเรียน ได้แก่ ดัชนี
มวลกาย ลุกนั่ง 60 วินาที ดันพื้น 30 วินาที และนั่งงอตัวไปข้างหน้า หลังดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาวะของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ HEALTHY โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 – 2563 โดยภาพรวมพบว่า สมรรถภาพทางกายของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 91.59 และร้อยละ 92.65 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมากได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านสุขภาพของครูที่มีสุขภาวะ
ที่ดี และเป็นแบบอย่างได้ หลังการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาวะของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ HEALTHY โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 – 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียนและครู โดยภาพรวมพบว่า พฤติกรรมด้านสุขภาพที่เป็นแบบอย่างอยู่ในระดับมากและมากที่สุด ( = 4.10, S.D. = .19 และ = 4.76, S.D. = .12 ) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน ครู
และผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาวะของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ HEALTHY โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 – 2563 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากและมากที่สุด ( = 4.15, S.D. = .13 และ = 4.73, S.D. = .14 ) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ข้อเสนอแนะจากการประเมินโครงการ
ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1. H : Hygiene ด้านสุขอนามัย สถานศึกษาควรจัดบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานสำหรับ
นักเรียน ครู และบุคลากรเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย สุขาภิบาลอาหาร กีฬาและนันทนาการ ให้ได้มาตรฐานเพียงพอและเหมาะสม
2. E : Environment ด้านพัฒนาสภาพแวดล้อม สถานศึกษาควรจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนตามมาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เพียงพอ มีความปลอดภัย และเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาวะของนักเรียน ครู และบุคลากร
3. A : Attend ด้านดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด ในการดำเนินการจะต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจจากครูที่ปรึกษา ครูผู้สอน หัวหน้าระดับขั้น และผู้ปกครอง ในการเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนรายบุคคลด้วยวิธีการที่หลากหลาย นำข้อมูลนักเรียนรายบุคคลมาวิเคราะห์ คัดกรองนักเรียนออกเป็นกลุ่มตามสภาพจริง เพื่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ และควรส่งต่อนักเรียนเพื่อการดูและช่วยเหลือในกรณีเกินความสามารถของบุคลากรภายในโรงเรียน 4. L : Learning ด้านสุขศึกษา สถานศึกษาควรจัดกิจกรรมที่มุ่งให้นักเรียนไดพัฒนา
ตนเองตามศักยภาพอย่างรอบด้าน เพื่อความเป็นมนุษย์สมบูรณ ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม โดยจัดให้สุขศึกษารูปแบบที่หลากหลาย จัดชุมนุมกีฬาตามความสนใจ จัดแข่งขันกีฬารวมทั้งส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันในระดับต่างๆ
5. T : Together ด้านภาคีเครือข่ายร่วมใจ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการสร้าง
เครือข่ายความร่วมมือบนพื้นฐานของความเข้าใจในวัตถุประสงค์การทำงานร่วมกัน การแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน การร่วมกันดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการระดมทรัพยากรเพื่อส่งเสริมสุขภาวะของนักเรียน 6. H : Habit ด้านสร้างสุขนิสัย สถานศึกษาควรเริ่มดำเนินการจากจัดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการรับรู้ร่วมกัน การตอบสนองสิ่งที่รับรู้ การเห็นคุณค่าในสิ่งนั้น และปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ จนเป็นนิสัยก่อให้เกิดสุขนิสัยเพื่อสุขภาวะที่ดี
7. Y : Youth ด้านเข้าใจวัยใส สถานศึกษาควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนรู้จัก เข้าใจตนเองสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างวุฒิภาวะทางอารมณ์ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้นักเรียนพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ และปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
8 ควรนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูล เพื่อวางแผนพัฒนาสุขภาวะของนักเรียน
ร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
ควรมีการประเมินโครงการสุขภาวะของนักเรียน นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล
(CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการและประสิทธิผลที่เกิดกับนักเรียน
2. ควรศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมสุขภาวะของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล
3. ควรศึกษารูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะของนักเรียนที่หลากหลาย