แผนฯ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ เรื่อง วันวิสาขบูชา
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พระพุทธศาสนา
รหัสวิชา 15101 สังคมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เวลา 2 ชั่วโมง
เรื่อง วันวิสาขบูชา สอนวันที่ 31 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
............................................................................................................................................................
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ส 1.1 รู้และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือ
ศาสนาที่ตนเองนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และ
ปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
มาตรฐาน ส 1.2 เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษา
พระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ
ตัวชี้วัด
1. จัดพิธีกรรมตามศาสนาที่ตนนับถืออย่างเรียบง่าย มีประโยชน์และปฏิบัติตนถูกต้อง
2. ปฏิบัติตนในศาสนพิธี พิธีกรรม และวันสำคัญทางศาสนาตามที่กำหนด และอภิปราย
ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม
3. มีมารยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดีตามที่กำหนด
จุดประสงค์ของการเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถอธิบายความหมายและความสำคัญของวันวิสาขบูชาได้
2. นักเรียนปฏิบัติตนในวันวิสาขบูชาได้
3. เห็นคุณค่า ศรัทธาและยึดมั่นตามหลักธรรม มีมารยาท และธำรงรักษาในศาสนา
ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน
สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
วันสำคัญในพระพุทธศาสนา เป็นวันที่มีเหตุการณ์ที่สำคัญ อันเนื่องด้วยพระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เหตุการณ์ที่สำคัญดังกล่าว เป็นประโยชน์เกื้อxxxลแก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า คือพุทธบริษัทสี่อันได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ให้น้อมรำลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยในหลักที่สำคัญ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจรรโลงให้พระพุทธศาสนา ดำรงคงอยู่สถิตสถาพร เป็นคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ตนเองและแก่สัตว์โลกทั้งปวง
สาระการเรียนรู้
วันวิสาขบูชา
คุณลักษณะที่พึงประสงค์
1. เห็นคุณค่า ศรัทธาและยึดมั่นตามหลักธรรม
2. มีมารยาท และธำรงรักษาในศาสนา
3.ใฝ่เรียนรู้
4. มุ่งมั่นในการทำงาน
5. นักเรียนปฏิบัติตนในวันวิสาขบูชาได้
กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1
ขั้นนำ
1. ทดสอบความรู้เรื่อง วันวิสาขบูชา ก่อนเรียน ด้วยแบบทดสอบ จำนวน 10 ข้อ
2. นักเรียนร่วมกันร้องเพลง “ วันวิสาขบูชา”
3. นักเรียนและครูร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อเพลงว่ามีความสำคัญ
อย่างไร
ขั้นสอน
1.ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาจากชุดการเรียน ชุดที่ 1 วันวิสาขบูชา ครูสังเกตและคอย
ให้ความช่วยเหลือนักเรียนอ่านหนังสือไม่คล่องอย่างใกล้ชิด ตักเตือนนักเรียนที่ไม่สนใจเรียน
2. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายถึงกิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันวิสาขบูชา ดังนี้
- การทำบุญตักบาตร
- การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
- การให้อิสระทาน(ปล่อยนก ปล่อยปลา)
- การเวียนเทียน การฟังธรรมเทศนา
- การปฏิบัติธรรม และการบำเพ็ญ สาธารณประโยชน์
3. นักเรียนฝึกกล่าวคำอธิษฐานก่อนตักบาตร และคำถวายข้าวใส่บาตร
4. นักเรียนทำแบบฝึกหัดในชุดการเรียน ชุดที่ 1เรื่อง วันวิสาขบูชา
ขั้นสรุป
1. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปเนื้อหาของวันวิสาขบูชา อีกครั้งหนึ่ง
2. แนะนำให้นักเรียนไปเวียนเทียนที่วัดให้ถูกต้องเมื่อถึงวันวิสาขบูชา
3. นักเรียนและครูร่วมกันวางแผนฝึกการทำบุญตักบาตร และเวียนเทียนที่วัดในชั่วโมงต่อไป
ชั่วโมงที่ 2
ขั้นนำ
1. นักเรียนและครูจัดเตรียมดอกไม้ธูปเทียนและข้าวสารอาหารแห้งเพื่อเตรียมไป
ทำบุญตักบาตรที่วัด
2. นักเรียนแบ่งงานการรับผิดชอบฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายจัดสถานที่ ฝ่ายนิมนต์พระ
3. ซ้อมพิธีทำบุญตักบาตร และเวียนเทียนตามประเพณีท้องถิ่นร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง
ขั้นสอน
1.ครูพานักเรียนไปวัดปอยศรัทธาธรรมเพื่อศึกษารูปภาพเหตุการณ์ใน
วันวิสาขบูชาตามฝาผนังในโบสถ์ วิหาร
2. นักเรียนปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3. นักเรียนนิมนต์พระสงฆ์เพื่อให้ความรู้เรื่องการทำบุญตักบาตร และเวียนเทียน
4. นักเรียน ครู และพระสงฆ์ฝึกปฏิบัติจริงการทำบุญตักบาตรร่วมกันเป็นขั้นตอนครูสังเกตการฝึกปฏิบัติของนักเรียน พร้อมทั้งให้คำแนะนำในกรณีที่ยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง
5. นักเรียนและครูฝึกเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ
6. นักเรียนและครูร่วมกันแสดงความคิดเห็น ถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม และประโยชน์ ของการมาทำบุญตักบาตร และเวียนเทียนในวันนี้
ขั้นสรุป
1. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลที่ได้จากการฝึกปฏิบัติ เกี่ยวกับการทำบุญตักบาตร
และเวียนเทียน
2. นักเรียนฝึกกล่าวคำถวายข้าวใส่บาตร และคำอธิฐานก่อนตักบาตรกันอีกครั้งหนึ่ง
3. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน 10 ข้อ เฉลยคำตอบ เปรียบเทียบความก้าวหน้า
กับคะแนนทดสอบก่อนเรียน
สื่อการเรียนรู้
1. ชุดการเรียน ชุดที่ 1 เรื่อง วันวิสาขบูชา
2. แผนภูมิเพลง “ วันวิสาขบูชา”
3. บทกล่าวคำถวายข้าวใส่บาตร
4. บทกล่าวคำอธิฐานก่อนตักบาตร
5. ดอกไม้ ธูปเทียน อาหารแห้ง สำหรับตักบาตร
6. วัดปอยศรัทธาธรรม
7. พระสงฆ์
การวัดผลและประเมินผล
1. สิ่งที่ต้องการวัด
1.1 ความรู้ความเข้าใจวันวิสาขบูชา
1.2 ปฏิบัติตนในวันวิสาขบูชาที่ถูกต้อง
1.3 เห็นคุณค่า ศรัทธาและยึดมั่นตามหลักธรรม มีมารยาท และธำรงรักษาศาสนา ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน
2. วิธีการวัดผลประเมินผล
2.1 การทดสอบความรู้ความเข้าใจวันวิสาขบูชา
2.2 การสังเกตการปฏิบัติกิจกรรมในวันวิสาขบูชา
2.3 การประเมินคุณลักษณะ
3. เครื่องมือวัด
3.1 แบบทดสอบ
3.2 แบบสังเกตการปฏิบัติกิจกรรม
3.3 แบบประเมิน
บันทึกผลหลังสอน
ผลการสอน
นักเรียนมีความสุขที่ได้จัดเตรียมดอกไม้ธูปเทียนและข้าวสารอาหารแห้งเพื่อเตรียมไป
ทำบุญตักบาตรที่วัด เป็นการได้ศึกษาจากประสบการณ์จริง มีนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนี้
1.ด้านความรู้ได้ระดับ ดีมาก 10 คน คิดเป็นร้อยละ 76.92 ระดับดี 1 คน คน คิดเป็นร้อยละ 7.69 ระดับพอใช้ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 15.38
2.ด้านทักษะได้ระดับ ดีมาก 10 คน คิดเป็นร้อยละ 76.92 ระดับพอใช้ 3 คน คิดเป็นร้อยละ 23.08
3.ด้านคุณลักษณะ ได้ระดับ ดีมาก 9 คน คิดเป็นร้อยละ 69.23 ระดับพอใช้ 4 คน คิดเป็นร้อยละ 30.77
ปัญหา/อุปสรรค/วิธีแก้ปัญหา
มีนักเรียนบางคนไม้ได้นำดอกไม้ธูปเทียน และข้าวสารอาหารแห้งมา
ข้อเสนอแนะ
ครูและเพื่อนๆแบ่งปันให้
นางนิชนันท์ ชูศรี
ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่ https://docs.google.com/document/d/1FUNjEWmvyWUlGJhFRnTFgQmYoF7G3FGx/edit?usp=sharing&ouid=105334625342207323727&rtpof=true&sd=true