LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญา

usericon

บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาขอเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา เป็นกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development :R & D) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา 2) สร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา โดยแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา และผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาเบื้องต้น ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา และผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตและบันทึกพฤติกรรม แบบสอบถามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ของรูปแบบ แบบประเมินระดับการมีส่วนร่วม แบบประเมินระดับการปฏิบัติตน แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบบันทึกผลการนิเทศติดตาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่เฉลี่ยและ
ค่าส่วนเบียงเบนมาตรฐาน


สรุปผลการวิจัย
ผู้วิจัยได้นำเสนอสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้

1. ผลการศึกษาสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการชับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้
1.1 สภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการชับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อยมีค่าเลี่ยอยู่ระหว่าง 203 - 221 โดยขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและประเมินผลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.21 และชั้นตอนที่มีค่เฉลี่ยต่ำสุด คือ
การบริหารแบบมีส่วนร่วมระดมความคิดและการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานมีค่เฉลี่ยเท่ากับ 2.03
1.2 ผลการศึกษารูปแบบ การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล (Best Practice) สรุปใด้ว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมระดมความคิด ด้านการมีร่วมในการวางแผน ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีร่วมในการปฏิบัติงาน ด้านการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและประเมินผล และด้านการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในลักษณะการประชุมขี้แจง การประชาวิจารณ์ การสนทนากลุ่มและการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยจะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องการบริหารงบประมาณค่อนข้างน้อย
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการชับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาเบื้องต้น สรุปผลได้เป็น 2 ตอน ดังนี้
2.1 ผลการสร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาเบื้องต้น พบว่า รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาเบื้องต้นประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก ได้แก่
2.1.1 องค์ประกอบด้านหลักการของรูปแบบ ประกอบด้วย 4 หลักการ คือ
1) หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) หลักการ กระจายอำนาจ 3 หลักการทำงานเป็นทีม และ
4) หลักการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2.1.2 องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ประกอบด้วย 3 ข้อ คือ
1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติตน 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการ
สถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านการ
พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ และ3) เพื่อศึกษาความพึง
พอใจของชุมชนที่มีต่อรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงในสถานศึกษา

2.1.3 องค์ประกอบค้านระบบและกลไกของรูปแบบ ประกอบด้วย 4 ระบบ
คือ 1) ระบบ การสร้างแรงจูงใจ 2) ระบบการทำงานเป็นทีม 3) ระบบการนิเทศ กำกับ ติดตาม และ
4) ระบบสนับสนุนในการรับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.1.4 องค์ประกอบด้านวิธีคำเนินงานของรูปแบบประกอบด้วย 4 ชั้นตอน คือ
1) ชั้นการวางแผน (P - Plan) 2) ขั้นปฏิบัติตามแผน (D -0o) 3) ขั้นตรวจสอบ วัดและประเมินผล
การปฏิบัติ (C - Check) และ 4) ชั้นตอนการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนา (A - Ac)
2.1.5 องค์ประกอบด้านการประเมินรูปแบบ ประกอบด้วย 1) ประเด็นในการ
ประเมินรูปแบบ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรูปแบบ 3) วิธีการประเมินรูปแบบ 4) การวิเคราะห์
ผลการประเมินรูปแบบ และ 5) เกณฑ์ในการพิจารณาผลการประเมินรูปแบบ
2.1.6 องค์ประกอบด้านเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ประกอบด้วย 3 ข้อ คือ
1) ผู้ที่มีส่วนได้ ส่วนเสียในชุมชนมีความตระหนักและเห็นคุณค่าของการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา 2) มีระบบการนิเทศ กำกับติดตามที่มีประสิทธิภาพโดยเน้นการนิเทศ
แบบมีส่วนร่วม การนิเทศแบบกัลยาณมิตรและการนิเทศแบบเพื่อนนิเทศเพื่อน
และ 3) ผู้บริหาร
สถานศึกษาส่งเสริมสนับสนุนปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา เช่น งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เอกสารแหล่งข้อมูล ระบบ
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล วิทยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.1.7 องค์ประกอบด้านคำอธิบายประกอบรูปแบบ เป็นการอธิบายรายละเอียด
ในแต่ละองค์ประกอบของรูปแบบตามแผนภูมิที่สร้างขึ้นตามลำดับ
2.2 ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหาร
แบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา พบว่า รูปแบบการ
บริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาที่สร้างขึ้นมี
ความเหมาะสมโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.60 - 4.31 และมีความ
เป็นไปได้โดยรวมและรายด้านอยู่ในระตับมากมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 9.00 - 4.17
2.3 การนำเสนอรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาเบื้องต้นที่ปรับปรุงแล้ว สรุปได้ว่า รูปแบบการบริหารแบบมีส่วน
ร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ
หลัก ได้แก่
2.3.1 องค์ประกอบด้านหลักการของรูปแบบ ประกอบด้วย 4 หลักการ คือ
1) หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) หลักการกระจายอำนาจ 3) หลักการทำงานเป็นทีม และ4)
หลักการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2.3.2 องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ได้แก่ เพื่อออกแบบระบบ
และวิธีดำเนินงานของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงในสถานศึกษา
2.3.3 องค์ประกอบด้านระบบและกลไกของรูปแบบ ประกอบด้วย 5 ระบบ
คือ 1) ระบบการสร้างแรงจูงใจ 2) ระบบการทำงานเป็นทีม 3) ระบบการนิเทศ กำกับ ติดตาม
4) ระบบสนับสนุนในการดำเนินงาน และ5) ระบบการสร้างเครือข่าย
1) ชั้นการวางแผน (P - Plan) 2) ขั้นปฏิบัติตามแผน (O -00) 3) ขั้นตรวจสอบ วัดและประเมินผล
2.3. 4 องค์ประกอบด้านวิธีดำเนินงานของรูปแบบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
การปฏิบัติ (C - Check) และ 4) ขั้นตอนการแก้ไซปรับปรุงและพัฒนา (A - Ac)
2.3.5 องค์ประกอบด้านการประเมินรูปแบบ เพื่อประเมินประสิทธิผล
ของรูปแบบประกอบด้วย 1) ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) ระดับการปฏิบัติในขับเคลื่อนหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) ระดับความพึงพอใจ
2.3.6 องค์ประกอบด้านเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ประกอบด้วย 5 ข้อ คือ
1) ผู้ที่มีส่วนได้ ส่วนเสียมีความตระหนักและเห็นคุณค่าของการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงในสถานศึกษา 2) มีระบบการนิเทศ กำกับ ติดตามที่มีประสิทธิภาพ โดยเน้นการนิเทศแบบมี
ส่วนร่วม การนิเทศแบบกัลยาณมิตร และการนิเทศแบบเพื่อนนิเทศเพื่อน 3 โรงเรียนจัดทำแผนการ
ดำเนินงานเพื่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
4) ผู้บริหารโรงเรียนส่งเสริมสนับสนุนปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการชับเคลื่อนหลัก
ปรัชญาชองเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา เช่น งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เอกสารแหล่งข้อมูล
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล วิทยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 5) หน่วยงาน
ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ควรมีนโยบายและกิจกรรมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
3. ผลการทดลองใช้และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
จากการนำรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของ
ศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาไปทดลองใช้จริงในสถานศึกษาเพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ
การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาโดย
สรุปผลการประเมินได้เป็น 2 ตอน ดังนี้
3.1 ผลการประเมินระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา โดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ทุกขั้นตอน มีค่เฉลี่ยอยู่
ระหว่าง 3.92 - 4.05 โดยขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 และขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92
3.2 ผลการประเมินระดับการปฏิบัติการดำเนินการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา พบว่า การปฏิบัติในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงในสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 เมื่อพิจารณาเป็นร้ายด้านอยู่ใน
ระดับมากทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.71 - 3.76 โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนา
บุคลากรของสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านหลักสูตรและการ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.71
3.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อรูปแบบการบริหารแบบมีส่วน
ร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา พบว่า ความพึง
พอใจของชุมชนที่มีต่อรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงในสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยอยู่เท่ากับ 3.81 เมื่พิจารณาเป็นรายด้านอยู่
ในระดับมากทุกด้านโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงานตาม
รูปแบบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.84 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านองค์ประกอบของรูปแบบมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 3.76
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^