การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบฝึกปฏิบัติซ้ำ
ชื่อผู้วิจัย นางสาวลดารัตน์ สงวรรณา
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบฝึกปฏิบัติซ้ำ (Re-Prac Model) เรื่องตรรกศาสตร์กับการพิสูจน์ เพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ด้านความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบฝึกปฏิบัติซ้ำ (Re-Prac Model) เรื่องตรรกศาสตร์กับการพิสูจน์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบฝึกปฏิบัติซ้ำ (Re-Prac Model) เรื่องตรรกศาสตร์กับการพิสูจน์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาระดับ ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบฝึกปฏิบัติซ้ำ (Re-Prac Model) เรื่องตรรกศาสตร์กับการพิสูจน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา จังหวัดชุมพร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบฝึกปฏิบัติซ้ำ (Re-Prac Model) เรื่องตรรกศาสตร์กับการพิสูจน์ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบฝึกปฏิบัติซ้ำ (Re-Prac Model) เรื่องตรรกศาสตร์กับการพิสูจน์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 17 แผน แบบทดสอบย่อยมี 3 ชุด ชุดที่ 1 แบบทดสอบแบบอัตนัย ชนิดแสดงวิธีทำ จำนวน 2 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 ชุดที่ 2 แบบทดสอบแบบอัตนัย ชนิดแสดงวิธีทำ จำนวน 3 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นนเท่ากับ 0.83 และชุดที่ 3 แบบทดสอบแบบอัตนัย ชนิดแสดงวิธีทำ 3 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 แบบทดสอบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ด้านความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบแบบอัตนัย ชนิดแสดงวิธีทำ จำนวน 1 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องตรรกศาสตร์กับการพิสูจน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ฉบับ มี 2 ตอนตอนที่ 1 แบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 และตอนที่ 2 แบบทดสอบแบบอัตนัย ชนิดแสดงวิธีทำ จำนวน 8 ข้อ มีค่าความเชื่อมันเท่ากับ 0.80 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบฝึกปฏิบัติซ้ำ (Re-Prac Model) เรื่องตรรกศาสตร์กับการพิสูจน์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 รายการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t - test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ฝึกปฏิบัติซ้ำ (Re-Prac Model) เรื่องตรรกศาสตร์กับการพิสูจน์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 79.07/79.78 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ด้านความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ฝึกปฏิบัติซ้ำ (Re-Prac Model) เรื่องตรรกศาสตร์กับการพิสูจน์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับดี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบ ฝึกปฏิบัติซ้ำ (Re-Prac Model) เรื่องตรรกศาสตร์กับการพิสูจน์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบ Perts Model ร่วมกับบทเรียนการ์ตูนแนวผจญภัย เรื่องลำดับแลฝึกปฏิบัติซ้ำ (Re-Prac Model) เรื่องตรรกศาสตร์กับการพิสูจน์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด