การส่งเสริมและพัฒนาการใช้หลักสูตรบูรณาการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยคณะกรรมการการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒544 ข้อ 5 ระบุว่าให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการ
บริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษา" อยู่ภายใต้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ข้อ ๖ให้คณะกรรมการมีหน้าที่ตังต่อไปนี้ วางแผนดำเนินงานวิชาการ กำหนดสาระรายละเอียดของหลักสูตรระดับสถานศึกษา และแนวการจัดxxxส่วนสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาชั้นพื้นฐาน สภาพเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของท้องถิ่นจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔0 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๒พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการตังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา นอกจากต้องจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดความรู้คู่คุณธรรม แล้ว ยังจะต้องจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ชีวิตจริงของตนเองในท้องถิ่น เรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ ประวัติความเป็นมา สภาพเศรษฐกิจ สังคมการดำรงชีวิต ภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ตลอดจนให้มีความรัก ความผูกพัน และมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตในสังคม สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงต้องตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวนี้รวมทั้ง จะต้องดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอน สามารถนำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดสัมฤทธิ์ผลบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริงและให้มีความปลอดภัยต่อสุขภาพและทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น ตลอดจนให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคมต่อไป
หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึงหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียน หลักสูตรท้องถิ่นจะสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นการเรียนรู้จากภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่น ผู้เรียนแสวงหาองค์ความรู้ที่ตอบสนองกับวิถีชีวิตของตนเอง ปรับตนเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ผู้เรียนจะเรียนรู้ตามสภาพจริงของตนเอง สามารถนำความรู้ไปใช้การพัฒนาตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ จึงอาจสรุปได้ว่า หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้กับกลุ่มผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จัดตามสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนในท้องถิ่นนั้น ๆ เป้าหมายหลัก คือ ต้องการให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนให้ดีขึ้น
“สถานศึกษาปลอดภัย มั่นใจอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น” เป็นนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ในการส่งเสริม สนับสนุนจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัด และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามนโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้เลือกใช้ยุทธศาสตร์ “การศึกษาปลอดภัยและมีคุณภาพ” ในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว
ผู้บริหารสถานศึกษาและครู เป็นนักพัฒนาหลักสูตร ที่จะนำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นต่าง ๆ มาจัด การเรียนรู้ในโรงเรียนอย่างมีคุณภาพ “ในทุกชั้นเรียน” เป้าหมายคือ นักเรียนทุกคน ได้เรียนในสาระการเรียนรู้ที่เป็นวิถีชีวิตของตนเองในครอบครัว ชุมชนหรือท้องถิ่นที่เหมาะสมกับความสามารถและวัยของนักเรียน การดำเนินงานตามนโยบาย ครูต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอน เป็นผู้อำนวยความสะดวก เป็นโค้ชส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ภูมิปัญญาจากสื่อ และแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย แล้วนำไปสู่การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปและสร้างเป็นความรู้ของตนเอง สร้างผลงานของนักเรียนที่เป็นรูปธรรม และผู้บริหารสถานศึกษาและครู ต้องส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ให้นักเรียนนำความรู้ต่าง ๆ ที่ได้จากการเรียนรู้ไปใช้ ให้เกิดทักษะการทำงานในรูปแบบโครงการหรือโครงงานที่จะสามารถ ต่อยอดนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันอย่างมีคุณภาพ และให้มีความปลอดภัยต่อสุขภาพและทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น ตลอดจนให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคมต่อไป
ในมาตรา22 ยังระบุถึงหลักการจัดการศึกษาว่าผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ต้องจัดการศึกษาที่พัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ ครูทุกคนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสวงหาวิธีการที่จะช่วยให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งนวัตกรรมใหม่ที่ครูจะต้องทราบคือ Professional Learning Community (PLC) โดยที่ PLC ย่อมาจาก Professional Learning Community ซึ่งหมายถึง Community of Practice (CoP) ในการทำหน้าที่ครูนั่นเอง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นการรวมตัวกันทำงานไปพัฒนาทักษะและการเรียนรู้เพื่อปฏิบัติหน้าที่ครูเพื่อศิษย์ไปโดยรวมตัวกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ตรง ทำให้การทำหน้าที่ครูเพื่อศิษย์เป็นการทำงานเป็นกลุ่มหรือเป็นทีม ซึ่งอาจเป็นทีมในโรงเรียนเดียวกันก็ได้ต่างโรงเรียนกันก็ได้ หรืออาจจะอยู่ห่างไกลกันก็ได้ โดยผ่าน ICTชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพหรือ PLC คือ การรวมตัว รวมใจ รวมพลัง ร่วมมือกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา ในโรงเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ความสำคัญของPLC จากผลการวิจัยโดยตรงของที่ยืนยันว่าการดำเนินการในรูปแบบ PLC นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพทั้งด้านวิชาชีพและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน อีกทั้งกระทรวงศึกษาธิการ มีแนวทางส่งเสริมให้มีการอบรม PLC (Professional Learning Community) หรือ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” ให้กับครูและผู้บริหารสถานศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งแนวคิดของการอบรม PLC คือ การนำคนมาอยู่รวมกัน เกิดการเรียนรู้ และแบ่งปันความรู้กันระหว่างผู้เข้าร่วมอบรม จนกระทั่งเกิดการสะท้อนความคิดในด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นแนวทางการพัฒนาผู้เรียน
๒. จุดประสงค์การดำเนินงาน
1.เพื่อพัฒนาหลักสูตรบูรณาการสาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่นเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี
2.เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community : PLC ระหว่างผู้บริหารและครูในโรงเรียน
3.เพื่อส่งเสริมให้ครูได้ทำนวัตกรรมเพื่อการจัดการเรียนรู้หลักสูตรบูรณาการสาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น
3. เป้าหมายการดำเนินงาน
1. เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียนเฉพาะเนื้อหาสาระของหลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนตามสภาพปัญหาที่เป็นจริง
2. ทำให้กิจกรรมการเรียนรู้มีความหมายต่อผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถนำความรู้
ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
3. ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการแสวงหาความรู้ เพื่อที่จะมาใช้เป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาในชีวิตจริงของตนเองในวันข้างหน้า รวมทั้งวิธีวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อการตัดสินใจที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของตนเอง
4. ครูได้พัฒนาตนเองเพื่อสร้างนวัตกรรม
4. ขอบเขตของการดำเนินงาน
4.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา
การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการสาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่นเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้เรียนในสาระการเรียนรู้ที่เป็นวิถีชีวิตของตนเองในครอบครัว ชุมชนหรือท้องถิ่นที่เหมาะสมกับความสามารถและวัยของนักเรียน ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก เป็นโค้ชส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ภูมิปัญญาและแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายในชุมชน แล้วนำไปสู่การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปและสร้างเป็นความรู้ของตนเอง สร้างผลงานของนักเรียนที่เป็นรูปธรรม
4.2 ขอบเขตด้านกลุ่มเป้าหมาย
ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบการเรียนการสอน จำนวน 14 คน
5. กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ดำเนินการภายใต้กรอบแนวคิด ดังนี้
ระบบของ PLC (Professional Learning Community) ในการสร้างทีมครูให้จัดการเรียนรู้แบบบูรฯการ PBL (Problem Base Learning) เพื่อพัฒนาผู้เรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้เรียนรู้ได้อย่างเท่าทันเหตุการณ์และมีความปลอดภัย มีกรอบดังนี้
กรอบแนวคิด PLC (Professional Learning Community) องค์ประกอบที่สำคัญและขั้นตอนการดำเนินการ PLC (Professional Learning Community) พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เรียนรู้อย่างปลอดภัยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมีสมรรถะในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาครูให้มีสมรรถนะในการสร้างนวัตกรรม
6.ผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ผลการปฏิบัติที่ดี ของ ครู กุลธิดา สายโสภา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผลงาน การใช้หลักสูตรบูรณาการสาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น เรื่อง น้ำพริก ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ NAMPRIG MODEL
ผลการปฏิบัติที่ดี ของ ครู วันเพ็ญ หาญลำยวง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผลงาน การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการสาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น เรื่องผักพื้นถิ่น ด้วย “2Gether Model”
ผลการปฏิบัติที่ดี ของ ครู สุดาลักษณ์ สัญญะวิชัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผลงาน การใช้หลักสูตรบูรณาการสาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น เรื่อง กล้วย กล้วย ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ BANANA โมเดล
ผลการปฏิบัติที่ดี ของ ครู นวพล มงคล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผลงาน การใช้หลักสูตรบูรณาการ สาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น
เรื่อง อาหารจานเห็ด ด้วยรูปแบบการสอนแบบโครงงาน
7. ปัจจัยความสำเร็จ
7.1. การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาในด้านการสร้างความตระหนักให้แก่บุคลากรของสถานศึกษา ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง ชุมชน และนักเรียน เพื่อให้เห็นความสำคัญหรือความจำเป็นที่ต้องร่วมมือกันบริหารจัดการหลักสูตรบูรณาการสาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น
7.2. การจัดทำสาระของหลักสูตรบูรณาการสาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่นได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์สอดกคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนและท้องถิ่น โดยได้นำสื่อและเทคโนโลยีมาช่วยในการขับเคลื่อนหลักสูตร ได้แก่ การประชุมออนไลน์ ผ่าน google meet การอบรมพัฒนาครูผ่านระบบ ออนไลน์ด้วย google meet การส่งเสริมให้ครูได้ใช้แหล่งสื่อการเรียนรู้ ออนไลน์
7.3. การวางแผนบริหารจัดการหลักสูตรและบริหารจัดการหลักสูตร คือ การบริหารการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้อย่างหลากหลาย การสอนซ่อมเสริม การประเมินผลตามสภาพจริง การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในและนอกสถานศึกษา การส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน เป็นต้น
7.4. การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล ได้ดำเนินการการนิเทศ กำกับ ติดตามในระบบออนไลน์และประเมินผลการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการภายในสถานศึกษา
8. การเผยแพร่ผลงาน
8.1เผยแพร่ผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ ด้วยวารสารโรงเรียน ในกลุ่มประชาสัมพันธ์จังหวัดกำแพงเพชร
8.2เผยแพร่ผ่านเพจเฟสบุ๊คโรงเรียนบ้านหนองใหญ่
8.3เผยแพร่ผ่านเว็บครูบ้านนอกดอทคอม
8.4เผยแพร่ผ่านเว็บไวซ์โรงเรียนบ้านหนองใหญ่
9. บรรณานุกรม
https://apichayaaa93.blogspot.com/2019/09/blog-post_20.html
https://sites.google.com/a/crru.ac.th/ban-khunkhru-cen-ci-ra/bth-thi-6-kar-brihar-cadkar-hlaksutr
https://www.hednetwork.com/project/159/finalreport
“ การฝึกปฏิบัติการการพัฒนาหลักสูตรด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) และ การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study: LS) ในสถานศึกษา ”
จังหวัดปัตตานี หัวหน้าโครงการ งานนโยบายและแผน และกิจการพิเศษ