LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

เผยแพร่นวัตกรรมการเรียนการสอน

usericon

รายงานผลการดำเนินงาน
1.    ความสำคัญของนวัตกรรม
การจัดการการศึกษาในปัจจุบัน ตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ต้องยึดหลักว่า “ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” ซึ่งตรงกับวิธีที่เรียกว่า เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้สอนมีความสำคัญในฐานะที่เป็นผู้ชี้แนะแนววิธีเรียนรู้แบบต่างๆและอธิบายความรู้พื้นฐาน ให้ผู้เรียนเข้าใจสำหรับเป็นพื้นฐานที่จะศึกษาค้นคว้าต่อไปได้ด้วยตนเอง ตามวิธีเรียนรู้ที่ได้รับการชี้แนะ และพัฒนาเป็นวิธีเรียนรู้ของตนเอง
แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2545 – 2559 (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่ง 2545: 18) มุ่งพัฒนาสังคมให้เป็นสังคมแห่งความรู้ นำพาไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ กำหนดนโยบายในการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการพึ่งพาตนเองและเพิ่มสมรรถนะการแข่งขันในระดับนานาชาติ โดยกำหนดเป้าหมาย 5 ข้อ ได้แก่
    1. คนไทยทุกคนมีความรู้ ความคิด และความใฝ่รู้ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่ไปกับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์
    2. ผลิตครู อาจารย์ และบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปริมาณที่สอดคล้องกับความต้องการและได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถ เพื่อประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ
3. ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีคุณภาพและมีxxxส่วนที่ทัดเทียมกับที่มีอยู่ในประเทศผู้นำในระดับนานาชาติ
4. บุคคลที่ทำงานวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพและความรู้ความสามารถอย่างจริงจังในสาขาของตน
5. ผลิตนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความสามารถทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความรู้และการเรียนรู้ และนวัตกรรมได้
วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับทุกชีวิตบนโลกนี้ ทั้งในการดำรงชีวิตประจำวันและงานอาชีพต่างๆ เครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนผลผลิตต่างๆ ที่คนใช้อำนวยความสะดวกในชีวิตและในการทำงาน ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างมาก ในทางกลับกันเทคโนโลยีก็มีส่วนสำคัญที่จะให้มีการศึกษาค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง
การศึกษาในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงเป็นหลักสูตรที่สำคัญในการวางรากฐานเพื่อพัฒนาประชาชนทุกคน ให้มีความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถนำความรู้ความเข้าใจมาปรับปรุงใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถคิดวิเคราะห์ใช้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง โดยพร้อมรับข้อมูลข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างกว้างขวางเพื่อให้มีศักยภาพในการปรับตัวและพัฒนาตนเองให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสโลกาภิวัฒน์
    

การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ต้องเน้นความสำคัญที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
ด้วยวิธีที่หลากหลาย เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Science Inquiry) ด้วยตัวของนักเรียนเอง รู้จักตั้งคำถาม คาดคะเนผลที่จะเกิดขึ้น สามารถออกแบบการศึกษา ทดลอง สืบค้นข้อมูล โดยใช้เทคโนโลยีวิเคราะห์ แปลผลและสรุปผล เป็นคำตอบของคำถามหรือเป็นการค้นพบความรู้ด้วยตัวของผู้เรียนเอง (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2551: 106)
    ชุดกิจกรรมเป็นนวัตกรรมประเภทหนึ่ง ที่ครูผู้สอนใช้ในการประกอบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยนักเรียนสามารถศึกษาสื่อต่างๆ และเป็นรูปแบบของการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียน ซึ่งประกอบไปด้วยคำแนะนำให้นักเรียนทำกิจกรรมต่างๆอยางมีขั้นตอนและเป็นระบบชัดเจน อีกทั้งกิจกรรมยังเน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาการความคิดซึ่งมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต กรมวิชาการ (2546, น. 40) ซึ่งสอดคล้องกับอนุวัฒน์ เดชไธสง (2553, น.19) กล่าวถึง ชุดกิจกรรม ไว้ว่า สื่อการเรียนการสอนอย่างหนึ่งที่เป็นการนำเอาสื่อการเรียนรู้หลายๆอย่างมาใช้ให้สอดคล้องกบเนื้อหาที่ประกอบด้วยคู่มือการใช้กิจกรรมการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม แบบฝึกหัด และสื่อประกอบการเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พนมพร ค่าคูณ (2556,น.29) กล่าวถึง ชุดกิจกรรม เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ครูเป็นผู้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา และปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองตามความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยครูเป็นผู้วางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์การเรียนรู้ สิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนรู้และในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูมีหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาเท่านั้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จและบรรลุตามวัตถุประสงค์ นอกจากการใช้ชุดกิจกรรมแล้ว การสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ยังมีรูปแบบการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การสอนแบบโครงงาน รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือ
    จากการทดสอบแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่องหน้าที่และส่วนต่างๆ ของพืช ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลปรากฏว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ยรวม 62.40 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดและยังไม่ถึงเกณฑ์ที่น่าพอใจตามที่ได้ตั้งไว้ ร้อยละ 75 ครูผู้สอนจึง ได้ศึกษาสาเหตุที่ส่งผลต่อการเรียนการสอน พบว่านักเรียนยังขาดความรู้ความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาในเรื่องที่เรียน และยังเกี่ยวกับวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอน พบว่า ยังยึดครูเป็นศูนย์กลางโดยใช้การบรรยายเป็นส่วนใหญ่ เพราะบางครั้งเวลาในการจัดการเรียนรู้มีน้อย แต่เนื้อหามีมาก แล้วจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการอธิบาย บรรยายสรุปแทน ส่งผลให้นักเรียนขาดการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา เพื่อเป็นการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดังกล่าวมานั้น
จากปัญหาดังกล่าวครูผู้สอนจึงได้จัดทำนวัตกรรมคือ ชุดกิจกรรม เรื่อง หน้าที่และส่วนต่างๆของพืช ทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนทรงธรรม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 เพื่อเป็นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นนอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาการปฏิบัติงานของครูผู้สอนและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อครูผู้สอนรวมทั้งสามารถนำรูปแบบการเรียนรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบวิธีการลงมือปฏิบัติและรูปแบบกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากยิ่งขึ้น อีกด้วยและยังเชื่อว่าชุดกิจกรรม เรื่อง หน้าที่และส่วนต่างๆของพืช และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบการลงมือปฏิบัติและรูปแบบกระบวนกลุ่มจะสามารถแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเรื่องดังกล่าวได้

2.    วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและได้ลงมือปฏิบัติจริง
3. เพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ และมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น

3.    ขอบเขตเนื้อหา
เนื้อหา / สาระการเรียนรู้
เนื้อหาที่ใช้ทำชุดกิจกรรม เรื่องหน้าที่ของส่วนต่างๆ ของพืชกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้แก่
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
     มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ของพืชที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอนสามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
        เนื้อหาที่ใช้ในการจัดทำชุดกิจกรรม
-    ส่วนประกอบและหน้าที่ของราก
-    ส่วนประกอบและหน้าที่ของลำต้น
-    ส่วนประกอบและหน้าที่ของใบ
-    ส่วนประกอบและหน้าที่ของดอก
เครื่องมือที่ใช้
    1. แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
เรื่อง หน้าที่และส่วนต่างๆของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 3 แผน ดังนี้
1. หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง หน้าที่ของส่วนต่างๆ ของพืช (1)    จำนวน 1 ชั่วโมง
2. หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง หน้าที่ของส่วนต่างๆ ของพืช (2)    จำนวน 1 ชั่วโมง
3. หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การลำเลี้ยงน้ำและแร่ธาตุ        จำนวน 1 ชั่วโมง
        2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หน้าที่ของส่วนต่างๆ ของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
1. เรื่อง ส่วนประกอบของพืช                    จำนวน 1 ชุด
2. เรื่อง การลำเลี้ยงน้ำและแร่ธาตุของพืช            จำนวน 1 ชุด
        3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ก่อนเรียน-หลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง หน้าที่ของส่วนต่างๆ ของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ฉบับ
ประชากร
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านทรงธรรม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 27 คน
กลุ่มตัวอย่าง
    นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านทรงธรรม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 27 คน
ระยะเวลา
กรกฎาคม 2563 – มกราคม 2564
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
1.วิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ก่อน-หลังเรียน โดยการหาค่าเฉลี่ยรวม
2.เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน-หลังเรียน
เป้าหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
1 เพื่อแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้สูงขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
3. เพื่อทำให้การเรียนรู้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษาที่วางไว้
4. เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น

4. ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม
วิเคราะห์ปัญหา
1. ศึกษาสาเหตุที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หน้าที่และส่วนต่างๆ ของพืช ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนต่อการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์
3. ศึกษาเจตคติของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์
4. ศึกษาแนวคิด หลักการ ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการจัดกาเรียนการสอน
5. เลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอน
6. วางแผนการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานดังนี้
1. ขั้นตอนในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง หน้าที่ของส่วนต่างๆ ของพืช มีรายละเอียด ดังนี้
1.    กำหนดหน่วยการเรียนรู้ หัวเรื่อง ความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญ
2.    กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม)
3.    กำหนดสาระการเรียนรู้ เนื้อหาที่ใช้เรียนตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้ กำหนด
กิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนรู้แบบ Active Learning กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมและบูรณาการ ความคิด ทักษะกระบวนการ และการปฏิบัติมุ่งให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยมีขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุปที่ชัดเจน
4. กำหนดเครื่องมือที่ใช้การวัดผล ควรระบุเกณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน
5. สื่อการเรียนการสอน ควรมีความเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนและมีความหลากหลาย ทันสมัย น่าสนใจ และสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
6. กำหนดการวัดและประเมินผลตามตัวชี้วัดและมีการวัดผลประเมินผลที่ชัดเจน สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
7. ทดลองนำไปใช้กับผู้เรียนเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน
2. ขั้นตอนในการออกแบบการสร้างและพัฒนานวัตกรรม ชุดกิจกรรม เรื่อง หน้าที่ส่วนของต่างๆ ของพืช โดยการดำเนินงานตามขั้นตอน ดังนี้
1.    ศึกษาปัญหาการเรียนการสอน
การศึกษาปัญหาการเรียนการสอนซึ่งเราสามารถพิจารณาได้จาก
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
     1.2 ผลการวัดและประเมินจุดประสงค์การเรียนรู้
     1.3 การทำแบบฝึกหัดของผู้เรียน
     1.4 ผลการตรวจผลงานของผู้เรียน
     1.5 ผลจากการทดสอบความรู้ความเข้าใจและทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน
     1.6 บันทึกผลการสอนหลังสอนในแผนการสอน
2. วิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้
3. กำหนดและออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้
4. การวางแผนการใช้นวัตกรรม และการดำเนินการใช้นวัตกรรม
5. นำนวัตกรรมไปทดลองนำไปใช้กับผู้เรียนเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน
6. ปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้นวัตกรรมสมบูรณ์    

5. การทดลองใช้นวัตกรรม
ขั้นเตรียมการนวัตกรรม
1. ครูผู้สอนเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง หน้าที่และส่วนต่างๆ ของพืช
         2. ครูผู้สอนเตรียมจัดทำสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน ชุดกิจกรรม เรื่อง หน้าที่ของ ส่วนต่างๆ ของพืช
    3. ครูผู้สอนเตรียมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
        4. ครูผู้สอนเตรียมจัดทำระเบียบการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้
ขั้นดำเนินการจัดการเรียนการสอน
        ชั่วโมงที่ 1
1.    ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน
2.    ครูให้นักเรียนศึกษาเรื่องหน้าที่ของส่วนต่างๆของพืช จากใบความรู้และในหนังสือเรียน
        3. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนให้แต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นตามหัวข้อที่กำหนดและช่วยกันสรุป
        4. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรมและร่วมกันเขียนแผนผังมโนทัศน์
ชั่วโมงที่ 2
1.    ครูทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับหน้าที่ของส่วนต่างๆของพืช
2.    ครูให้นักเรียนสร้างผลศิลปะจากส่วนต่างๆของพืช
3.    ส่งตัวแทนกลุ่มเพื่อนำเสนอผลงาน
4. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับหน้าที่ของส่วนต่างๆของพืช ร่วมกันเขียนแผนผังมโนทัศน์
ชั่วโมงที่ 3
1.    ครูทบทวนความรู้เดิมของนักเรียน โดยการตั้งคำถาม
2. ครูให้นักเรียนศึกษา เรื่องการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุจากใบความรู้และหนังสือเรียน
2.    นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมที่ 4 ทดลองการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของพืช
3.    แต่ละกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียน
4. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ โดยร่วมกันเขียนแผนผังมโนทัศน์
ขั้นสรุปผลการดำเนินงาน
1. ครูวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ
        2. ครูเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน-หลังเรียน
        3. ครูสรุปผลจากการนำแผนการจัดการเรียนรู้และชุดกิจกรรม เรื่องหน้าที่ของ ส่วนๆ ของพืช ไปใช้จัดการเรียนการสอนกับกลุ่มเป้าหมาย




6.    ผลสำเร็จของการพัฒนานวัตกรรม
ผลจากการนำชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน้าที่และส่วนต่างๆ ของพืช ไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย
1.    ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1.1    ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
เรื่อง หน้าที่ของส่วนต่างๆ ของพืช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ตาราง 1 แสดงคะแนนแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
เรื่อง หน้าที่ของส่วนต่างๆของพืช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

คนที่    แบบทดสอบก่อนเรียน (20คะแนน)    แบบทดสอบหลังเรียน (20คะแนน)
1    10    16
2    11    16
3    10    17
4    13    16
5    15    19
6    10    17
7    13    19
8    16    20
9    14    20
10    7    14
11    14    19
12    9    15
13    11    16
14    12    15
15    11    17
16    8    14
17    14    18
18    16    19
19    15    19
20    16    20
21    18    20
22    17    20
23    13    19
24    10    14
25    11    18
26    8    12
27    15    20
คนที่    แบบทดสอบก่อนเรียน (20คะแนน)    แบบทดสอบหลังเรียน (20คะแนน)
Σ    337    469
X    12.48    17.37
%    62.40    86.85

จากตาราง 1 พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 17.37 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนซึ่งมีค่าเท่ากับ 12.48 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 86.85 คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 62.40
หมายความว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

ตาราง 2 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
เรื่องหน้าที่ของส่วนต่างๆ ของพืช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

คะแนน    n    ค่าเฉลี่ยคะแนนเต็ม
20    ร้อยละค่าเฉลี่ย    ค่าความต่างค่าเฉลี่ย    ค่าความต่างร้อยละค่าเฉลี่ย
ก่อนเรียน    27    12.48    62.40    4.89    24.45
หลังเรียน    27    17.37    86.85        

จากตาราง 2 พบว่า ค่าเฉลี่ยหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 17.37 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนซึ่งมีค่าเท่ากับ 12.48 ซึ่งคะแนนหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 86.85 และคะแนนก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 62.40 เมื่อนำมาเปรียบเทียบค่าร้อยละของคะแนนจะเท่ากับ 24.45 หมายความว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

2.ด้านผู้เรียน
นักเรียนทุกคน ได้เรียนรู้กิจกรรมจากการลงมือปฏิบัติจริงและมีทักษะการทำงานกระบวนการกลุ่ม และนักเรียนประมาณ 70 % สามารถคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง โดยนักเรียนแต่ละคนจะมีแนวทางในการคิดแก้ปัญหาที่ค่อนข้างแตกต่างกัน วิธีที่นักเรียนนำมาแก้ปัญหาคือ การจัดทำแผนผังมโนทัศน์ Mind Map ในรูปแบบต่างๆ ตามความสนใจและความถนัดของผู้เรียน การออกแบบชิ้นงานงานศิลปะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน การวาดภาพส่วนประกอบต่างของพืช และนักเรียนให้ความร่วมมือมีความสนใจและสนุกสนานกับการเรียนการสอนในรูปแบบกระบวนการกลุ่มและการลงมือปฏิบัติจริง นักเรียนสามารถออกแบบ Mind Map ของตนเองและออกแบบชิ้นงานของตนเองได้อย่างถูกต้องและสวยงาม
แผนการดำเนินงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ
ครูผู้สอนได้นำชุดกิจกรรม เรื่องหน้าที่และส่วนต่างๆ ของพืช ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนของผู้เรียนเพื่อแก้ปัญหาเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 17.37 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนซึ่งมีค่าเท่ากับ 12.48 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 86.85 คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 62.40 หมายความว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และเมื่อนำมาเปรียบเทียบค่าร้อยละของคะแนนจะเท่ากับ 24.45 หมายความว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

ข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการจัดทำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นบทเรียนสำเร็จรูป ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในเนื้อหาเกี่ยวกับการจำแนกสารหรือเนื้อหาอื่นๆ เพื่อสะดวกในการจัดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น และชุดกิจกรรมเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. ควรสร้างบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถของตนเองออกมา อย่างอิสระทั้งในด้านความรู้ ความคิด และการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนทางวิทยาศาสตร์

7.    ภาคผนวก
ประกอบด้วย
1.    แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 แผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
-    หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง หน้าที่ของส่วนต่างๆ ของพืช (1)    จำนวน 1 ชั่วโมง
-    หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง หน้าที่ของส่วนต่างๆ ของพืช (2)    จำนวน 1 ชั่วโมง
-    หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การลำเลี้ยงน้ำและแร่ธาตุ    จำนวน 1 ชั่วโมง
        2. แบบทดสอบ เรื่องหน้าที่ของส่วนต่างๆ ของพืช
3. ใบความรู้ เรื่องหน้าที่ของส่วนต่างๆ ของพืช
4. บัตรภาพ
5. ตัวอย่างการเขียน Mind Map
6. ชุดกิจกรรม เรื่อง หน้าที่ของส่วนต่างๆ ของพืช เรื่อง ส่วนประกอบของพืช
7. ชุดกิจกรรม เรื่อง หน้าที่ของส่วนต่างๆ ของพืช เรื่อง การลำเลี้ยงน้ำและแร่ธาตุของพืช
8. คะแนนผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
9. คะแนนแบบฝึกหัดชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
10. ผลงานนักเรียน
11. ภาพกิจกรรม
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^