LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

การประเมินโครงการพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของนักเรียน

usericon

เรื่อง     :    การประเมินโครงการพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของนักเรียน
          โรงเรียนบ้านแม่แรม จังหวัดแพร่
ผู้รายงาน    :     นายโสภณ สุธรรม
หน่วยงาน    :    โรงเรียนบ้านแม่แรม อำเภอสอง จังหวัดแพร่
ปีที่ประเมิน    :     ปีการศึกษา 2564

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนบ้านแม่แรม จังหวัดแพร่ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน 1. ความเหมาะสมด้านบริบท (Context Evaluation) 2. ความพร้อมด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3. ความเหมาะสมในการดำเนินงานด้านกระบวนการ (Process Evaluation) 4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ และ 5. ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อโครงการพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนบ้านแม่แรม จังหวัดแพร่ โดยใช้รูปแบบการประเมิน แบบ CIPP Model มาประยุกต์ใช้เป็นกรอบในการประเมินโครงการ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 16 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านแม่แรม จำนวน 15 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 63 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 63 คน รวมทั้งหมด 157 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เสนอในรูปแบบตารางประกอบการบรรยาย ผลการประเมินตามโครงการสรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนบ้านแม่แรม จังหวัดแพร่ ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย
1.1 ผลการประเมินด้านบริบท พบว่าโดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการพบว่า รายการที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ โครงการมีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตในชุมชน อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ การกำหนดขั้นตอนของการดำเนินงานตามโครงการมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษา และรายการที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญให้การสนับสนุนโครงการ อยู่ในระดับมาก
1.2 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่าโดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่ารายการที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการจัดกิจกรรมและกำหนดบทบาทหน้าที่ไว้อย่างชัดเจนอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ครูผู้รับผิดชอบโครงการมีความสามารถดำเนินโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์ อยู่ในระดับมาก และวิทยากรบุคคลภายนอก หรือวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความรู้ทักษะความถนัดในกิจกรรม อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ และรายการที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วมสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมของโครงการ อยู่ในระดับมาก
     1.3 ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่าโดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่ารายการที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การเลี้ยงสัตว์/ปลูกผักตามฤดูกาล อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงอยู่ในระดับมาก และทุกกิจกรรมมีการดำเนินงานตามโครงการ อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการจัดแสดง เผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานของนักเรียน อยู่ในระดับมาก
     1.4 ผลการประเมินด้านผลผลิตที่เกิดกับนักเรียน พบว่าโดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการพบว่า รายการที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ นักเรียนมีสุขภาพจิตที่ดี แจ่มใส ร่าเริง เบิกบาน มีความสุขในการเรียนอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ นักเรียนได้รับความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ อยู่ในระดับมาก และนักเรียนทำงานและเรียนรู้อย่างตั้งใจ อดทน ขยันหมั่นเพียร นักเรียนได้พัฒนาการทำงานด้วยกระบวนการกลุ่ม ตามลำดับ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนได้ฝึกและมีทักษะอาชีพที่สนใจ อยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านความพึงพอใจต่อโครงการ พบว่าโดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่ารายการที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ นักเรียนได้รับประโยชน์และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมบูรณาการกับโครงการอาหารกลางวันของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การชี้แจงประชาสัมพันธ์การดำเนินงานจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมาก




ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^